เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐที่ส่งผลต่อการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย, (วปอ.9918)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายภูมิวิศาล เกษมศุข, (วปอ.9918)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐที่ส่งผลต่อการยกระดับ
ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นายภูมิวิศาล เกษมศุข หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การยกระดับค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ได้ถูกกำหนด
เป็นเป้าหมายและตัวชี้วัดในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ ทั้งนี้จากการศึกษาของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้
การทุจริต เห็นพ้องว่าการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ค่าคะแนน CPI ของ
ประเทศไทยสูงขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐตามแนวทางการ
ประเมินขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ซึ่งนอกจากจะเป็นไป
ตามหลักธรรมาภิบาลแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการ
ลงทุนและความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติอีกทางหนึ่ง อีกทั้งการยกระดับค่าคะแนน CPI
สามารถสนับสนุนความสำเร็จของยุทธศาสตร์ชาติได้ถึง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างความสามารถใน
การแข่งขัน และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ผลการศึกษาพบว่าแนวทางในการขับเคลื่อนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ประกอบด้วย
3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ โดยการบูรณาการการดำเนินงานด้านการเปิดเผย
ข้อมูลข่าวสารของภาครัฐตั้งแต่ระดับนโยบาย แผนการปฏิบัติงาน และระบบฐานข้อมูลร่วม รวมไปถึง
การสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมและภาคเอกชน พร้อมทั้งการพัฒนา
คุณภาพข้อมูลข่าวสารภาครัฐในรูปแบบการทำ Content Marketingเร่งยกระดับ GovTech เพื่อก้าว
สู่การเป็น “รัฐบาลดิจิทัล” อย่างเต็มตัว 2) ด้านการปฏิรูปกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับแก้กฎหมาย
หรือการเสนอร่างกฎหมายใหม่ก็ตาม ควรเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
ภาครัฐ และข้อความในการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารน้อยที่สุด รวมทั้งต้องไม่ขัดขวางสิทธิเสรีภาพในการ
เข้าถึง/นำเสนอข้อมูลข่าวสารภาครัฐ และ 3) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการปลูกฝัง
จิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริตและค่านิยมต่อต้านการทุจริตในทุกระดับ ทั้งภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่
ภาครัฐ และการพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนางานด้านการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสาร ได้แก่ ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทักษะการทำ Content
Marketing ข
abstract:
Title Driving Guidelines for Disclosure of Government Data with Impact to Enhancement
of Thailand’s Corruption Perception Index to Achieve the National Strategy Goal.
Field Social-Psychology
Name Mr. Bhumivisan Kasemsook Course NDC Class 65
Enhancement of Corruption Perception Index (CPI) is designated as the goal
and the Key Performance Index in the National Strategy’s model scheme under the
category of anti-corruption and misconduct. Based on the study by the Sub-Committee on
Driving the Enhancement of Corruption Perception Index, it is agreed that disclosure of
government data is one of the crucial factors that will raise Thailand’s CPI. The researcher is
therefore aware of the importance of developing the disclosure of government data following
the assessment guidelines of the Transparency International (TI). Apart from following
the Good Governance principles, this will represent a good image of Thailand, which in
one way will help promote investment and confidence from foreign investors. Furthermore,
enhancement of CPI can contribute to the success of the National Strategy in 2 aspects :
Competitiveness Enhancement, and Public Sector Re-balancing and Development.
The study finds that the driving guidelines for disclosure of government data
consist of 3 aspects: 1) government sector management through integrated implementation
related to disclosure of government data from the levels of policy, action plan to joint
database system including forming cooperation and collaboration among civil society
and private sector as well as improvement of government data’s quality in the form
of content marketing and GovTech enhancement to fully become “Digital Government”;
2) legal reform, whether on amendment or proposal of new laws in which the laws should
give authority to public officials’ consideration and statements in blocking data as little as
possible, and must not obstruct the rights and freedom in accessing/presenting government data,
and 3) human resource development through instilling honesty and anti-corruption
value in the public and government sectors at all levels along with development of
human resources with skills necessary to the improvement of disclosure of government data
which are foreign languages, digital technology, and content marketing.ค