เรื่อง: ระบบการส่งกำลังบำรุงรวมสนับสนุนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรณีศึกษาเรือปฏิบัติการความเร็วสูงบริเวณชายฝั่ง, (วปอ.9913)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี ภานุมาศ ธนะพานิช, (วปอ.9913)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง ระบบการส่งกำลังบำรุงรวมสนับสนุนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติ
ทางทะเล (ศรชล.) กรณีศึกษาเรือปฏิบัติการความเร็วสูงบริเวณชายฝั่ง
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลเรือตรี ภานุมาศ ธนะพานิช หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การศึกษาวิจัยเรื่องระบบการส่งกำลังบำรุงรวมสนับสนุนศูนย์อำนวยการรักษา
ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรณีศึกษาเรือปฏิบัติการความเร็วสูงบริเวณชายฝั่ง ในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการส่งกำลังบำรุงรวม (ILS) ในปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนภารกิจของ
ศรชล. และเสนอแนวทางการจัดการส่งกำลังบำรุงรวมที่ความเหมาะสมกับเรือปฏิบัติการความเร็วสูง
บริเวณชายฝั่งจำนวน ๑๕ ลำ ของ ศรชล.ที่จัดหามาใหม่ รวมทั้งเสนอแนวทางการส่งกำลังบำรุงรวม
ให้กับยุทโธปกรณ์ของ ศรชล. ต่อไป โดยใช้ระเบียบวิธีในการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative
Research) การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารงานด้านการส่งกำลังบำรุง
ของศรชล. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ
การส่งกำลังบำรุงรวม หนังสือ วารสารทางวิชาการ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศ
และต่างประเทศ นำมาศึกษาเชิงเปรียบเทียบด้วยทฤษฎีและหลักการ เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อ ศรชล. ผลการวิจัยพบว่า จากเดิมที่ศรชล.ใช้ยุทโธปกรณ์ของหน่วย
ที่มาสนับสนุนการปฏิบัติงานจึงไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบในการซ่อมบำรุง แต่ปัจจุบัน ศรชล. มีการ
จัดหายุทโธปกรณ์ของตนเองมากขึ้น ศรชล.จำเป็นต้องมีการวางแผนการส่งกำลังบำรุงและการซ่อม
ทำเรือที่จัดหามาใหม่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนะแนวทางเชิงป้องกัน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ในอนาคตและสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการส่งกำลังบำรุงของ ศรชล. ได้แก่ การพัฒนา
ระบบสารสนเทศสนับสนุนระบบการส่งกำลังบำรุงรวม เพื่อสนับสนุนการบริหารและกำกับติดตาม
แผนงานซ่อมบำรุงเรือและซ่อมทำเรือล่วงหน้า โดยพิจารณานำเอาระบบ ILS-IT ของกองทัพเรือ
มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนงานในการบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องด้านการส่งกำลังบำรุง โดยสามารถเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลสารสนเทศในการคำนวณหา
แผนงานซ่อมบำรุงเรือล่วงหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการใช้งานเรือ และนำไปสู่การวางแผนการจัดหา
อะไหล่และสิ่งสนับสนุนล่วงหน้าได้ทำให้สามารถลดความสิ้นเปลืองและลดเวลาในการจัดหา
สิ่งสนับสนุนและการจัดหาอะไหล่ เพื่อเอื้อต่อการตัดสินใจ การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบของผู้บริหาร
ผู้วางนโยบาย ผู้ปฏิบัติงาน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้วิจัยคาดว่าแนวทางดังกล่าวจะสร้างความ
ชัดเจนในการส่งกำลังบำรุงรวมสำหรับยุทโธปกรณ์ที่จัดหามาใหม่ของ ศรชล.ให้ประสบผลสำเร็จและ
บรรลุเป้าหมายของภารกิจตามที่กำหนดไว้ ข
abstract:
Title Integrated Logistics System to support the Thai Maritime
Enforcement Command Center (Thai-MECC), a case study of coastal
high-speed operation craft
Field Military
Name RADM Panumas Thanapanich, RTN Course NDC Class 65
The objective of this research study is to study the current Integrated
Logistics Support (ILS) guidelines to support the mission of the Thai-MECC and
propose appropriating ILS for the 15 coastal high-speed operation craft of the newly
procured Thai-MECC as well as proposing a guideline for consolidating the maintenance
of the Thai-MECC Armament in the future by using the methodology of qualitative
research. The primary data collection from in-depth interviews with logistic
practitioners at Thai-MECC's management level, and the secondary data from various
sources; theoretical concepts about ILS ; and related research results both within the
country and abroad brought to a comparative study with theories and principles To
present comments and suggestions that are beneficial to Thai-MECC. The results of
this research indicated that in the past, Thai-MECC used the ships of the units that
came to support the operations, so there was no need to take responsibility for the
maintenance, but now Thai-MECC has increasingly procured its own equipment. ThaiMECC needs to have a plan for the maintenance and repair of the newly procured
equipment. Therefore, the researcher proposed a preventive approach. This will help
reduce problems that may arise in the future and create efficiency and effectiveness
in the maintenance of the Thai-MECC, including The development of information
systems to support the integrated maintenance system To support the
administration and supervision of ship maintenance and repair plans in advance by
considering the implementation of the Royal Thai Navy's ILS-IT system to be applied
in the preparation of a plan for integrating and exchanging information between
agencies involved in send maintenance which can be connected to the information
database system to calculate the ship maintenance plan in advance to be consistent
with the Thai-MECC’s operation plan to be successful and achieve the goals of the
mission as specified.ค