Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางเชิงนโยบายต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจด้านด้านความมั่นคงทางทะเลต่ออ่าวไทย, (วปอ.9898)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม, (วปอ.9898)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางเชิงนโยบายต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อผลกระทบ ของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอ านาจด้านความมั่นคงทางทะเล ต่ออ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและก าหนดแนวทางเชิงนโยบายต่อการเตรียมความ พร้อมของประเทศไทยต่อผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอ านาจด้านความมั่นคง ทางทะเล ต่ออ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง การวิจัยพบว่า ๑. การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ และพันธมิตร ด้านความมั่นคงทางทะเลในทะเลจีนใต้และเชื่อมต่อมายังอ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นการเปิดพื้นที่ ใหม่ทางการแข่งขันระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจีนได้วางยุทธศาสตร์เชิงรุกในการส่งเสริมการขยายอิทธิพลทางทะเล ด้านการสร้างกฎระเบียบและบรรทัดฐาน และโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบและสอดประสาน กันผ่านการด าเนินการตามยุทธศาสตร์ ข้อริเริ่มสายแถบและสายเส้นทาง (BRI) เส้นทางสายไหมทาง ทะเลในศตวรรษที่ ๒๑ และการสร้างความเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนกับประเทศ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขง รวมถึงกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (MLC) ตลอดจน โครงการพัฒนาฐาน ทัพเรือเรียม และโครงการดาราซากอร์ในกัมพูชา กอปรกับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา จีนได้บรรจุ ประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลใน “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ ๕ ปี” ขณะที่สหรัฐฯ ด าเนินยุทธศาสตร์ทางความมั่นคงทางทะเลในลักษณะปฏิกิริยาตอบโต้และป้องปราม การแผ่อิทธิพลทางทะเลของจีน สะท้อนได้จากการด าเนินแนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง (FOIP) และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) และร่วมกับพันธมิตรเพื่อป้องปราม การแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในรูปแบบ Integrated Deterrence รวมถึงผ่านกรอบหุ้นส่วนลุ่มน้ าโขง สหรัฐฯ (MUSP) ๒. ในเชิงพื้นที่ การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างจีนกับ สหรัฐฯ ให้ความส าคัญกับพื้นที่ในทะเลจีนใต้เป็นหลัก เนื่องจากทะเลจีนใต้เป็นหนึ่งในผลประโยชน์หลัก ของจีนที่สหรัฐฯ มุ่งโจมตี และเป็นเส้นทางสัญจรทางทะเลและการขนส่งพลังงานที่ส าคัญของโลก ซึ่งสหรัฐฯ มีผลประโยชน์ในการปกป้อง ขณะที่อ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่องซึ่งรวมถึงอนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขง เป็นพื้นที่ล าดับรองลงมาในการตอบสนองยุทธศาสตร์FOIP ของสหรัฐฯ เพื่อสกัดจีน และสหรัฐฯ ด าเนินกรอบความร่วมมือขนาดย่อย (Minilateralism) ผ่านกลุ่ม QUAD และ AUKUS แทนการเข้ามา มีบทบาทในภูมิภาค ๓. ในเชิงนโยบายต่างประเทศ ไทยไม่ได้เป็นประเทศที่อ้างสิทธิทับซ้อนในทะเลจีน ใต้กับจีน และเห็นว่า โครงการพัฒนาฐานทัพเรือเรียมในกัมพูชาเป็นประเด็นระหว่างสหรัฐฯ กับจีนและ สหรัฐฯ กับกัมพูชา อีกทั้งไทยยังสนับสนุนทั้งข้อริเริ่มสายแถบ สายเส้นทางของจีนและยุทธศาสตร์ FOIP ของสหรัฐฯ และ ๔. ผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่าง จีนกับสหรัฐฯ ต่ออ่าวไทยประเมินได้ใน ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. ความมั่นคงทางทะเล ๒. ความสัมพันธ์ข ระหว่างประเทศระหว่างไทยกับจีน ไทยกับสหรัฐฯ ไทยกับกัมพูชา และความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขงและอาเซียน ๓. ความร่วมมือในกรอบอาเซียน และ ๔. กฎหมาย ระหว่างประเทศ ผลจากการวิจัยได้เสนอแนวทางเชิงนโยบาย ดังนี้ ๑. การรักษาดุลยภาพในการด าเนิน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ และพันธมิตรเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของประเทศ โดยไม่จ าเป็นต้องเลือกข้างด้วยการด าเนินนโยบายระหว่าง Balancing และ Hedging ๒. การส่งเสริม ความสัมพันธ์กับประเทศมหาอ านาจขนาดกลาง เพื่อเป็นทางเลือกทางนโยบายต่างประเทศ ๓. การใช้ ประโยชน์จากการที่ไทยเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในภูมิภาคในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงและการพัฒนาขีดความสามารถทาง ด้านความมั่นคงทางทะเล และการสนับสนุนการคงไว้ซึ่งบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเพื่อถ่วงดุล การแผ่ขยายอิทธิพลของจีน ๔. การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับจีนและกัมพูชา ๕. การเสริมสร้าง พันธมิตรกับเวียดนามในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันด้านความมั่นคงที่มีนัยส่งผลกระทบ ต่ออ่าวไทย ๖. การปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีฝ่ายต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ (DOC) และการเจรจาร่วมกับอาเซียนและจีนในการจัดท าประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (COC) ให้มี ความก้าวหน้า โดยรักษาไว้ซึ่งความเป็นแกนกลางของอาเซียนในภูมิภาค รวมถึงการใช้ประโยชน์ จากกลไกการประชุมของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง ๗. การสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ซึ่งลงนามเป็นอัครภาคี สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ปฏิบัติตามหลักการในการ ด าเนินความสัมพันธในภูมิภาค และปฏิญญาว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (ZOPFAN) และสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) ๘.การรื้อฟื้นการจัดการประชุมคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ของไทยต่อประเด็นทะเลจีนใต้ ซึ่งจัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ๙. การส่งเสริมให้ให้อ่าวไทยและพื้นที่ ต่อเนื่องเป็น “พื้นที่แห่งสันติภาพ ความรุ่งเรือง เสถียรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ”(Gulf of Peace, Prosperity, Stability and Sustanaible Development) เพื่อให้สอดคล้องกับท่าทีไทยในทะเลจีนใต้ ๑๐. การก าหนดหน่วยงานหลักเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและการข่าวเกี่ยวกับผลกระทบของการแข่งขัน เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ด้านความมั่นคงทางทะเลต่ออ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง และ ๑๑. การรักษาความต่อเนื่องในการด าเนินนโยบายเพื่อการพัฒนาและการปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเลในอ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง รวมถึงทะเลอันดามัน โดยไม่ควรผันแปรตามการเปลี่ยนแปลง ของรัฐบาล ผลการวิจัยได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้๑. การก าหนดแนวทางการจัดท ายุทธศาสตร์ ต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการรองรับต่อผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ ระหว่างมหาอ านาจด้านความมั่นคงทางทะเลต่ออ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง ใน ๓ แนวทาง ได้แก่ การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านความมั่นคงทางทะเลในมิติต่าง ๆ และการพัฒนาขีดความสามารถภายในประเทศ ซึ่งรวมถึง การจัดท าแนวทางยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของภาคเอกชนและภาคประชาชนต่อผลกระทบ ของสถานการณ์ ๒. การจัดท าแนวทางนโยบายเกี่ยวกับค าขอในการจัดตั้งฐานทัพต่างประเทศในไทย ๓. การจัดท าพระราชบัญญัติ ระเบียบหรืออนุบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่อง การวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล ค เพื่อก าหนดหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจน ๔. การพัฒนาศักยภาพกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ สถานการณ์ทางทะเลในภาพรวม ๕. การพัฒนาให้ฝั่งอันดามันสามารถรองรับการขนส่งทางทะเลได้ดี หากอ่าวไทยถูกปิดกั้นหรือประกาศเขตหวงห้ามทะเลจากสถานการณ์ความขัดแย้ง และ ๖. การเพิ่ม ประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ในโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย (Landbridge) ระหว่างท่าเรือ ชุมพร – ท่าเรือระนอง เชื่อมโยงทางบกและทะเล ง

abstract:

Title Policy Recommendations on Thailand’s Preparedness to Address the Implications of Strategic Competition among Major Powers in maritime security on the Gulf of Thailand and vicinity areas Field Strategy Name Ms.Pinsuda Jayanama Course NDC Class 65 Theobjective of this research is to study and provide policy recommendations on Thailand’s preparedness to address the implications of strategic competition among major powers in the realm of maritime security on the Gulf of Thailand and vicinity areas. The findings of this research are as follows: 1.The strategic competition between China and the United States and allies in maritime security in the South China Sea, which extends to the Gulf of Thailand and vicinity areas, has opened a new area of contestation between China and the United States and impacts the stability and security in the Southeast Asia region. China has formulated a systematic and coordinated proactive strategy in expanding its maritime influence by setting rules and norms and developing infrastructure through the Belt and Road Initiative (BRI), Maritime Silk Road in the 21st Century and the Building of a Community for a Shared Future between China and countries in the Mekong sub-region as well as Mekong – Lancang Cooperation (MLC) and the development of Ream naval base and Dara Sakor projects in Cambodia. Since 2004, China has included maritime economic development in its Five – Year National Economic and Social Development Plan. As a response to China’s growing maritime influence, the United States has implemented the Free and Open Indo-Pacific Strategy (FOIP) and the Indo-Pacific Economic Framework (IPEF) and coordinated with its allies in employing integrated deterrence and established the Mekong – US Partnership (MUSP) to contain China 2. In terms of area, the strategic competition between China and the United States in maritime security is focused on the South China Sea as it is a core interest of China, which the United States aims to attack and an important international sea line of communication and energy transport route, which the United States has an interest to protect. The Gulf of Thailand and vicinity areas, including the Mekong sub-region, is of secondary importance to the United States in its strategic competition with China to support the FOIP strategy to contain China. Moreover, the United States leverages on minilateral frameworks; namely AUKUS and QUAD to support its presence in theจ region 3. In terms of foreign policy, Thailand is not a claimant state in the South China Sea with China and views that the development of the Ream naval base in Cambodia by China is an issue between the United States and China and the United States and Cambodia. Thailand supports the BRI of China and FOIP of the United States and 4. The implications of strategic competition between China and the United States in maritime security could be assesed in four dimensions; namely, 1. maritime security, 2. relations between Thailand and China, Thailand and the United States, Thailand and Cambodia and relations between Thailand and countries in the Mekong sub-region and ASEAN, 3. cooperation in ASEAN and 4. international law. The policy recommendations provided by this research are as follows : 1. Maintain Thailand’s cordial relations with China and the United States and allies to serve national interest, without having to choose sides by adopting balancing and hedging strategies 2. Promote relations with middle powers to provide foreign policy options 3. Leverage on Thailand’s stature as the oldest Strategic Alliance and Partnership of the United States to strengthen security cooperation and capacity building in maritime security and to support the United States’ continued engagement with the regionto counterbalance China’s influence in the region 4. Enhance mutual trust and confidence between Thailand and China and Thailand and Cambodia 5. Strengthen partnership with Vietnam on security issues of mutual interest affecting the Gulf of Thailand 6. Implement the Declaration on the Conduct (DOC) in the South China Sea in its entirety and negotiate with ASEAN and China in reaching an early conclusion of the Code of Conduct (COC) in the South China Sea while maintaining ASEAN centrality in the region and effectively make use of existing ASEAN mechanisms 7. Encourage signatory states to the Treaty of Amity and Cooperation (TAC), Declaration on the Zone of Peace, Freedom and Neutrality (ZOPFAN) and Treaty on Southeast Asia Nuclear Free Zone (SEANWFZ) to uphold the agreements 8. Revitalize the Meeting of the Committee on Thailand’s Policy and Strategy on the South China Sea, established on 6 March 2018 in accordance with the Cabinet decision 9. Promote the Gulf of Thailand and vicinity areas to be a “Gulf of Peace, Prosperity, Stability and Sustainable Development” to align with Thailand’s position in the South China Sea 10. Designate a main coordinating agency to exchange information and intelligence on the implications of strategic competition between China and the United States in maritime security on the Gulf of Thailand and vicinity areas and 11. Maintain continuity in policy implementation on the development of and preserving maritime interest in the Gulf of Thailand and vicinity areas, irrespective of changes in government. ฉ This research suggests as follows: 1. Provide recommendation guidelines on drafting a Strategy on Thailand’s preparedness to address the implications of strategic competition among major powers in the realm of maritime security on the Gulf of Thailand and vicinity areas in three approaches; namely, promotion of confidence building measures in international relations, promotion of international maritime cooperation and enhancement in national capacity building, which includes guidelines in drafting strategies for private and the public sectors to respond to the said situation. 2. Provide policy recommendations in anticipation of requests by foreign countries to establish military bases in Thailand 3. Enact an Act regulation or subordinate legislation on maritime scientific research to designate a main responsible agency on this issue 4. Enhance Comprehensive Maritime Domain Awareness to the public at large 5.Develop maritime transport capacity in the Andaman Sea in order to be able to sustain increased transport traffic in the event of the closure of the Gulf of Thailand or declaration of the Gulf of Thailand as Military Exclusion Zone (MEZ) in conflict situationand 6. Develop transport and logistics infrastructure to enhance connectivity between the Gulf of Thailand and the Andaman Sea through the implementation of the Landbridge project linking the ports of Chumporn and Ranong via land and sea. ช