Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: Cyber threats intelligence ความท้าทายงานการข่าวกรองในศตวรรษที่ 21 : การพัฒนาการข่าวกรอง Cyber Intelligence ของกองทัพบก, (วปอ.9882)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก ประเสริฐ หมวดเชียงคะ, (วปอ.9882)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber threats Intelligence) ความท้าทายงานการข่าวกรอง ในศตวรรษที่ ๒๑ : แนวทางการกำหนดนโยบายในการพัฒนางานข่าวกรองไซเบอร์ (Cyber Intelligence : CYBINT) ของกองทัพบก ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรีประเสริฐ หมวดเชียงคะ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ ๓ ข้อ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ที่ ๑ เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง โดยเฉพาะความมั่นคงด้านไซเบอร์ (Cyber Security) และ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง วัตถุประสงค์ที่ ๒ เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินการ สถานะ ปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินงาน ด้านการข่าว โดยเฉพาะการข่าวกรองไซเบอร์ (Cyber Intelligence) ของกองทัพบก ในปัจจุบัน และ วัตถุประสงค์ที่ ๓ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการดำเนินการด้านการข่าวกรองไซเบอร์ (Cyber Intelligence) ของกองทัพบก ผลการศึกษาวิจัยที่สามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัย ๓ ข้อ ดังกล่าวแล้วเบื้องต้นสามารถที่จะสรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษาที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ ๑ สรุปได้ว่า ปัจจุบันโลกอยู่ในยุคแห่ง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่แน่นอน กระแสโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้โลกก้าวเข้าสู่ยุคที่ระบบข้อมูลดิจิตอลมีบทบาทนำที่สำคัญในทุกสิ่ง และสามารถไหลเวียนไปมาได้ไร้ซึ่ง พรมแดน นำมาซึ่งการเชื่อมโยงของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง บุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่ไม่ใช่รัฐ (Non -State Actor) จะเป็นผู้มีบทบาทมีอิทธิพลมากขึ้น ในการดำเนินกิจกรรมที่ส่งผล กระทบต่อความมั่นคง การประเมินภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศในห้วงปัจจุบัน พบว่า ประเด็นความมั่นคงที่จะส่งผลกระทบต่อไทย ได้แก่ การเมืองระหว่างประเทศ, การขยายอิทธิพลและบทบาท ของประเทศมหาอำนาจต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, การขยายตัวของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในระดับภูมิภาค, ความขัดแย้งทางดินแดนและการใช้กำลังทางการทหาร, สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้, การเคลื่อนตัวของภัยคุกคามข้ามชาติ, การย้ายถิ่นฐานของประชากร, ความมั่นคงหลัง COVID –19 กรมข่าวทหารบกเป็นหน่วยงานด้านข่าวกรองหลักของกองทัพบกจึงต้องมีความพร้อมที่จะรับมือ กับภัยคุกคามทุกรูปแบบให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะภัยคุกคามทางบก เช่น ภัยคุกคามทางทหารข จากประเทศเพื่อนบ้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ และอาชญากรรมข้ามชาติ รวมไปถึงการก่อความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยเฉพาะเทคโนโลยี AI จะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้การ ปฏิบัติการด้านการข่าวเป็นไปอย่างรวดเร็วถูกต้อง และทันเวลา ผลการศึกษาที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ ๒ สรุปได้ว่า ในส่วนของ ปัญหา/ความท้าทาย ในการใช้เทคโนโลยีของกองทัพบกนั้น กองทัพบกมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน โดยอาจแบ่งประเภทของการนำมาใช้งานใน ๒ แบบ คือ เป็นระบบที่หน่วยดำเนินการพัฒนาขึ้นมาด้วยตนเอง และระบบที่ได้จากการจ้างผู้ประกอบการภายนอกเข้ามาดำเนินการให้ ทั้งนี้จากข้อมูลผลการปฏิบัติงาน ด้านการข่าวของกองทัพบกที่ผ่านมา มีประเด็นปัญหาของการใช้เทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ที่สำคัญสรุป ได้แก่ ความปลอดภัย, ความท้าทายในเรื่องของ Generation Gap หรือความต่างของอายุ และช่วงวัย เนื่องจากเทคโนโลยีนั้นมีการอัพเดต และปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา คนรุ่นเก่าจะเรียนรู้วิธีการใช้ เทคโนโลยีได้ยากกว่าคนรุ่นใหม่, ความท้าทายเรื่องความถูกต้องและแม่นยำของเทคโนโลยี, ปัญหาด้านความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยีของกำลังพล, ปัญหาด้านงบประมาณ และปัญหาด้านโครงสร้างหน่วยงานที่ไม่ เอื้อต่อการทำงานข่าวที่ต้องการความรวดเร็ว ผลการศึกษาที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ ๓ สรุปได้ว่า การดำเนินการข่าวกรองไซเบอร์ของ ทบ. ต้องได้รับการปรับปรุง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดย ทบ. ต้องให้ความสำคัญด้วยการใช้กลุยุทธ์เชิงรุกในการพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยข่าวของ กองทัพบกรวมทั้งขีดความสามารถด้านสารสนเทศของหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก การพัฒนาขีดความสามารถของ ทบ. มีความเหมือนและแตกต่างกับการพัฒนาในเรื่องเดียวกัน ของมิตรประเทศ โดยประเด็นที่เหมือนกัน เช่น รูปแบบและลักษณะของมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ของหน่วยงานด้านไซเบอร์ของกองทัพไทย และเหล่าทัพต่าง ๆ ในปัจจุบัน ได้นำมาตรฐาน NIST Cybersecurity Framework และ ISO 20071ซึ่งเป็นกรอบการทำงานตามมาตรฐานสากลในด้านความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์มาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนเอง โดยมีกระบวนการการทำงานหลัก คือ Identify Protect Detect Respond and Recovery โดยมีประเด็นที่ต่างกันเช่น มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ของต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในงานด้านดังกล่าว อาทิ อิสราเอล สหรัฐฯ เยอรมนีฯลฯ นั้น งานข่าวกรองไซเบอร์(Cyber Intelligence) จะเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของ หน่วยงานด้านการข่าวโดยชัดเจน ขณะที่ประเทศไทยงานทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการไซเบอร์ (Cyber Operations) และสงครามไซเบอร์ (Cyber Warfare) จะเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบศูนย์ไซเบอร์ของ หน่วยงานนั้นทั้งหมดค การพัฒนาต้นแบบ หรือขีดความสามารถด้านการข่าวกรองไซเบอร์ต้องสอดคล้องกับ แนวทางการพัฒนา ทบ. ตามแผนที่กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการใช้กำลังและภารกิจของ ทบ. ในอนาคต โดยต้องมีการดำเนินการใน ๔ ด้าน คือ โครงสร้างกำลัง ความพร้อมรบ ความต่อเนื่องในการรบ และ ความทันสมัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างขีดความสามารถที่ ทบ. ต้องการ โดยต้องคำนึงถึงปัจจัย แวดล้อมที่เป็นทั้งข้อสนับสนุนและข้อจำกัด เช่น ระยะเวลา งบประมาณ กฎระเบียบและนโยบาย เป็นต้น ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในเรื่อง ข้อเสนอแนะแนวนโยบายและหลักปฏิบัติ (Policies and Practices), ข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการข้อมูล, ข้อเสนอแนะด้านศักยภาพเจ้าหน้าที่ภาครัฐด้านดิจิทัล (Digital Capability)และข้อเสนอแนะด้านการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อสนับสนุนภารกิจโดยเฉพาะงานด้าน การข่าวกรองไซเบอร์ทั้งนี้ สำหรับการวิจัยในโอกาสต่อไปนั้นสามารถนำข้อมูลที่รวบรวมไว้ในครั้งนี้เป็นข้อมูล พื้นฐานในการดำเนินการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการทหารอื่น ๆได้ เช่น การใช้ BIG DATA และ AI ในการเสริมสร้างขีดความสามารถงานข่าวกรองไซเบอร์ของ ทบ. ในเรื่อง การวางแผนรวบรวมข่าวสาร การรวบรวมข่าวสาร การวิเคราะห์ข่าวกรองไซเบอร์ การใช้และการกระจายข่าวกรองไซเบอร์ การบูรณาการ ข่าวกรองไซเบอร์ และการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินการข่าวกรองไซเบอร์ของหน่วยง

abstract:

Title Cyber threats Intelligence challenges in the 21st century : Policy guidelines for developing the Army's Cyber Intelligence (CYBINT) operations. Field Military Name Major General Prasert Muadjienga Course NDC Class 65 In this research study, the researcher has set 3 research objectives as follows: Objective 1: to study the security environment; Especially cyber security and cyber threats that affect security. Objective 2: to study the implementation pattern, status, problems, and obstacles in intelligence operations, especially the Cyber Intelligence of the Royal Thai Army at present, and the third objective is to suggest guidelines for developing the Royal Thai Army's Cyber Intelligence operations. The study can answer the objectives, they are summarized as follows. The results of the study that answered the 1st research objective can be concluded that the world is currently in an era of change where it is fast and unpredictable. Globalization and technological advancement play a leading role in everything. This leads to a wide range of factors affecting security. Non-State Actors or groups will play a more influential role in the activities that affect the stability. Assessment of threats that affect national security in the present found that security issues that will affect Thailand include international politics, the expansion of the influence and role of superpowers in Southeast Asia, the expansion of regional international relations, territorial conflicts and the use of military force, the unrest situation in the southern border provinces, transnational Threats, illegal Migration and Post-COVID-19 Security. Directorate of Intelligence of The Royal Thai Army is the Army's primary intelligence agency and therefore must be equipped to effectively deal with all forms of threats. Especially land threats such as military threats from neighboring countries, hybrid threats and transnational crime Including the insurgency in the southern border provinces. The use of modern technology, especially AI technology, will be a factor that will promote speedy, accurate, and timely intelligence operations.จ The results of the study that answered the 2nd research objective can be concluded that in terms of problems/challenges in the use of technology by the Royal Thai Army. The Royal Thai Army uses information technology systems in its operations. It may be categorized into two types of implementations: a system developed by the unit itself and systems obtained from outsourcing operators to operate. According to the information on the past performance of the Royal Thai Army's intelligence there are issues with using technology to support intelligence operations. The issues include security, generation gap challenges, technology accuracy and precision challenges, personnel technology competency issues, budget issues, and unit structure issues that affect the speed of operations. The results of the study that answered research objective No. 3 concluded that the cyber intelligence operations of the Royal Thai Army must be improved in order to be able to respond to the increasing cyber threats at present. By using an aggressive strategy to develop the capabilities of the Army's intelligence units, including the information capabilities of the Army subordinate units. There are similarities and differencesof cyber intelligence approach between Thailand and partnership countries. Prototype development of cyber intelligence capabilities must be in line with the Development Guidelines for the Royal Thai Army. Action must be taken in four areas: force structure, combat readiness, combat sustainability, and modernization. To achieve the goal of enhancing the capacity required by the Royal Thai Army, consideration must be given to environmental factors that are both supportive and constrained, such as timelines, budgets, regulations and policies, etc. The results of the study have recommendations on Policies and Practices, data management, development of Digital Capability for personnel and the use of data to support military missions especially cyber intelligence. As for future research, the findings from this study can be used as firsthand information for conducting other military-related research studies, such as using BIG DATA and AI to enhance capabilities of the Royal Thai Army's cyber intelligence in the area of planning, collection, analysis, distribution of cyber intelligence and evaluating the effectiveness cyber intelligence operations.ฉ