Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: หน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองความเป็นราชอาณาจักรไทย และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข, (วปอ.9871)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายบุญเสริม นาคสาร, (วปอ.9871)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง หน้าที่และอ านาจของศาลรัฐธรรมนูญในการคุ้มครองความเป็นราชอาณาจักรไทย และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายบุญเสริม นาคสาร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ หน้าที่และอ านาจของศาล รัฐธรรมนูญ และเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการคุ้มครองความเป็นราชอาณาจักรไทยและการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีขอบเขตของการวิจัย โดยการศึกษา เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอิทธิพลแนวความคิดของต่างประเทศ หน้าที่และอ านาจของศาลรัฐธรรมนูญ ค าวินิจฉัยและผลผูกพันของค าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)จากการศึกษาวิจัย พบว่า การคุ้มครองความเป็ นราชอาณาจักรไทยและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีที่มาจากแนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยที่ปกป้องตนเองได้ ” หรือ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ที่มีต้นแบบมาจากรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีถูกน าเข้ามา บัญญัติในรัฐธรรมนูญของไทยครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ตามมาตรา 63 ที่ให้ประชาชนมีสิทธิ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลเลิกการกระท าที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และฉบับปี 2560 ก็มี บทบัญญัติในลักษณะเดียวกัน และรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับมีบทบัญญัติห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือ เปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ และพบว่ามีบรรทัดฐานและผลผูกพันของค าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในการ คุ้มครองความเป็นราชอาณาจักรไทยและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข แยกได้เป็น 3 กรณี คือ กรณีการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามค าวินิจฉัยศาล รัฐธรรมนูญที่ 4/2564 กรณีพรรคการเมืองยื่นรายชื่อบุคคลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนการเลือกตั้ง ทั่วไปเพื่อที่จะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามค าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2562 และกรณีบุคคลท าการ ปราศรัยในที่สาธารณะเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์และ ให้มีการยกเลิกกฎหมายที่ห้ามผู้ใดล่วงละเมิด หมิ่นประมาท หมิ่นพระบ รมเดชานุภาพสถาบัน พระมหากษัตริย์ตามค าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 และการศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า องค์กร ของรัฐควรส่งเสริมในการให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีผลเป็น การยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะกระท าไม่ได้หากต้องการจัดท ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีการออกเสียง ประชามติเสียก่อน และ สอดแทรกความรู้ความเข้าใจเรื่อง “หลักการพื้นฐานของประเพณีการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” รวมถึงสอดแทรกความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การกระท าที่เป็นการเซาะกร่อนบ่อนท าลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุขและให้ความรู้ความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอ านาจในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวด้วยข

abstract:

Title Duties and Powers of the Constitutional Court on the Protection of the Kingdom of Thailand and the Democratic Regime of the Government with the King as Head of State Field Politics Name Mr. Boonserm Nagasara Course NDC Class 65 This research aims to study intentions of the Constitution and duties and powers of the Constitutional Court as well as to propose recommendation on the protection of the Kingdom of Thailand and democratic regime of the government with the King as head of state by adopting a qualitative research methodology. This research found that fundamental notion of protecting the Kingdom and democratic regime is originated from the idea of ‘militant democracy’ or ‘right to protect the constitution,’ which first initiated in German Basic Law. Such idea was firstly prescribed in Article 63 of the Constitution B.E. 2540, and the two subsequent Constitutions namely Constitution B.E. 2550 and B.E. 2560 also have a similar provision. Remarkably, these 3 Constitutions also have provision that prohibit an amendment to the constitution, which amounts to changing democratic regime or changing the form of State. This research also found that precedents of Constitutional Court’s rulings regarding the protection of the Kingdom and democratic regime can be categorized into 3 cases: namely the case of amendment to the Constitution (ruling no. 4/2564); the case of political party submitted name of person who suitable to be appointed as Prime Minister to the Election Commission before General Election (ruling no. 3/2562); and the case of person arranged public speech requiring to amend Constitution regarding the Royal status of the King and to repeal the law prohibiting insult of the Monarchy (ruling no. 19/2564). This research proposes that public authorities should strengthen educational support to the public and officials regarding conditions of amendment to the Constitution and drafting new Constitution, as well as basic understanding on constitutional conventions of democratic regime and on the actions that undermine such regime.ค