Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบของสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิติลต่อสังคม, (วปอ.9863)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวนิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง, (วปอ.9863)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบของสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลต่อ สังคม ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นางสาวนิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสารของสื่อ โทรทัศน์ในระบบดิจิตอลต่อสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมในการ นำเสนอข่าวสารของสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการพัฒนาความ รับผิดชอบของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวสาร และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบ ในการนำเสนอข่าวสารของสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลต่อสังคม โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเอกสารจากประมวลกฎหมาย และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง กับสื่อสารมวลชน ประชาชนทั่วไป สื่อมวลชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับสื่อมวลชน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ สรุปผล การศึกษาได้ ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำเสนอข่าวสารของสื่อโทรทัศน์ ระบบดิจิตอล มีดังนี้ 1) คุณธรรม จริยธรรมด้านความจริง ความถูกต้อง 2) การปฏิบัติหน้าที่เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ 3) ความยุติธรรม 4) ความรับผิดชอบต่อแหล่งข่าวและสาธารณชน เช่น ในกรณี ที่เสนอข่าวผิดพลาด ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดโดยไม่ล่าช้า และปกปิดชื่อหรือฐานะของแหล่งข่าว 5) การ อ้างอิงแหล่งที่มา 6) ความสุภาพ ซื่อสัตย์ 7) สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิส่วน บุคคล 8) ความเป็นอิสระของวิชาชีพ และรักษาไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรีของวิชาชีพสื่อสารมวลชน และ 9) การรักษาไว้ซึ่งศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม ปัญหา อุปสรรคในการพัฒนาความรับผิดชอบของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวสาร มีดังนี้ 1) จรรยาบรรณสื่อมวลชน 2) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาจรรยาบรรณสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล 3) สื่อโทรทัศน์ในยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล 4) เทคโนโลยี ก่อกวน (Disruptive Technology) ต่อสื่อโทรทัศน์ 5) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสาร 6) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของผู้รับสารที่เปลี่ยนแปลงไป 7) จริยธรรมในการทำงานแบบหลอม รวมสื่อ 8) การเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และ 9) การกำกับดูแล สำหรับแนวทาง การพัฒนาความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสารของสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลต่อสังคม มีดังนี้ 1) จรรยาบรรณนักสื่อสารมวลชนในยุคดิจิทัล 2) คุณธรรมจริยธรรมของสื่อ ความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม 3) การปรับตัวด้านการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร 4) การบริหารจัดการด้านเนื้อหา รายการโทรทัศน์ยุคดิจิทัลหลอมรวม 5) โครงสร้างวัฒนธรรมองค์กรและบทบาทของผู้นำในการ บริหารงานโทรทัศน์ยุคดิจิทัลหลอมรวม 6) คุณสมบัติที่พึงประสงค์และการบริหารเพื่อการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัลหลอมรวม 7) การปรับตัวของผู้ประกอบการโทรทัศน์ข ในยุคโทรทัศน์ดิจิทัล 8) กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจสื่อทีวีดิจิทัล 9) การออกกฎเกณฑ์ เพื่อควบคุมปริมาณของเนื้อหาข่าวที่ต้องเผยแพร่บนช่องข่าวในระบบดิจิตอล และ 10) การกำกับดูแล สื่อมวลชนค

abstract:

Title Guidelines for the Development of Social Responsibility of Digital Television Field Economics Name Miss Nilawan Panit-rungruang Couse NDC Class 65 The study of guidelines for the development of social responsibility of digital television aimed to 1) study social responsibility in presenting news on digital television, 2) study the problems and obstacles in developing social responsibility for presenting news of digital television and 3) propose guidelines for the development of social responsibility for presenting news of digital television. The researcher had collected secondary data from research papers, academic documents and related literature both from the law code and articles of relevant experts while primary information was collected from interviews with academics related to mass media, the general public, mass media, and media stakeholders. Data were then analyzed by using content analysis and comparative analysis. The results of the study could be summarized as follows: The results showed that social responsibilities in presenting news of digital television were as follows: 1) morality, ethics in terms of truth, correctness, 2) performing duties for the public interest, 3) fairness, 4) responsibility to news sources and the public such as if news was reported incorrectly, the error must be corrected without delay and hide the name or status of the news source, 5) citation of the source, 6) courtesy and honesty, 7) human rights, dignity and personal rights, 8) professional independence and maintain honor dignity of the journalism profession and 9) maintaining morality and good culture. Problems and obstacles in developing social responsibility for presenting news of digital television were as follows: 1) media ethics, 2) factors that cause ethical problems in television media in the digital age, 3) at present, television media was in the era of digital transmission, 4) disruptive technology for television media, 5) changes in communication technology, 6) changes in the information exposure behavior of the audience, 7) media convergence ethics, 8) digital television transition, and 9) governance. The guidelines for the development of social responsibility for presenting news of digital television were as follows: 1) journalism ethics in the digital age, 2) media ethics, the importance of morality and ethics, 3) adjustment on organizational and personnel management,4) television content management in the integrated digital era, 5) organizational culture structure and leadership roles inง television management in digital convergence era, 6) desirable qualifications and transformational management of television media executives in the converged digital age, 7) adjustment of television operators in the digital television era, 8) determine strategies for digital television business, 9) the issuance of regulations to control the amount of news content that must be published on digital news channels, and 10) mass media supervision.จ