Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาศักยภาพทางดิจิตอลของหน่วยงานด้านความมั่นคงโดยใช้หลักการปฏิบัติการหลายมิติ, (วปอ.9850)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี ธีระวัฒน์ อินทรไพโรจน์, (วปอ.9850)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัลของหน่วยงานด้านความมั่นคงโดยใช้ หลักการปฏิบัติการหลายมิติ ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย พลอากาศตรี ธีระวัฒน์ อินทรไพโรจน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ อนาคตความอยู่รอดของชาติที่จะตัดสินกันด้วยอาวุธชาญฉลาดจะเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งในมิติทางกายภาพ มิติไซเบอร์ และมิติอวกาศ โดยมีเทคโนโลยีพลิกผันทั้ง นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีอวกาศ ไซเบอร์ หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างกำลังอำนาจ แห่งชาติด้านความมั่นคง ชาติตะวันตกต่างได้สร้างหลักนิยมและเครื่องมือเพื่อสร้างความได้เปรียบใน มิติต่าง ๆ เช่น ระบบควบคุมบังคับบัญชาหลายมิติ (MDC2) และการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มา ประยุกต์ใช้เพื่อทวีกำลังการตัดสินใจ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาศักยภาพ ทางดิจิทัลของหน่วยงานด้านความมั่นคงโดยใช้หลักการปฏิบัติการหลายมิติเป็นการวิจัยเอกสารจาก แหล่งข้อมูลทุติยภูมิโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หลักนิยมการปฏิบัติการหลายมิติของ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ สหพันธรัฐรัสเซีย และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ของ ๓ ประเทศมหาอำนาจ และใช้ 7S McKinsey Framework และ PEST Analysis เพื่อวิเคราะห์ แนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานความมั่นคง และสร้างกลยุทธ์สำหรับสร้างแนวทางการ พัฒนาด้านดิจิทัลให้กับหน่วยงานด้านความมั่นคง โดยเฉพาะระบบควบคุมบังคับบัญชา ของ กองบัญชาการกองทัพไทย ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือแนวทางการพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัลของหน่วยงานด้าน ความมั่นคงโดยใช้หลักการปฏิบัติการหลายมิติ จากทฤษฎีไปสู่แนวปฏิบัติจาก การรวบรวมสัญญาณ ดิจิทัลจากหน่วยความมั่นคงต่าง ๆ ผ่านหน่วยตรวจจับบนแต่ละมิติ นำเก็บในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้างและที่ไม่มีโครงสร้าง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นส่งต่อให้ปัญญาประดิษฐ์ ได้เรียนรู้และรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ทำให้ระบบสามารถประมวลผล สร้างและวิเคราะห์หนทาง ปฏิบัติในแต่ละมิติและ พัฒนาแผน/คำสั่งแบบเรียลไทม์ เพื่อให้ผู้บัญชาการรบที่ศูนย์ปฏิบัติการหลาย มิติสั่งปฏิบัติการทำให้เกิดผลกระทบบนแต่ละมิติแบบทวีกำลัง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต้องเตรียม ๑) การสร้างองค์กร โดยการปรับโครงสร้างจากศูนย์บัญชาการทางทหาร เป็น ศูนย์ปฏิบัติการหลายมิติ ๒) การสร้างกระบวนการ โดยปรับหลักนิยมการใช้กำลังและสร้างแผนการยุทธ์สำหรับปฏิบัติการ หลายมิติ และ ๓) การสร้างเครื่องมือ ที่มีการจัดซื้อพร้อมกับการพัฒนาเพื่อให้กำลังพล มีขีด ความสามารถปรับปรุงและดูแลระบบได้บนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง โดยกองทัพจะเป็นหน่วยงานหลัก ในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ทำงานร่วมกับระบบดิจิทัลอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง และรวบรวม ข้อมูลบนมิติต่าง ๆ จากหน่วยงานด้านความมั่นคง เพื่อสามารถป้องปรามฝ่ายตรงข้ามในการใช้กำลัง บนมิติต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และกำหนดเป็น นโยบายที่ชัดเจนทั้งในระดับกองทัพและรัฐบาลก

abstract:

Title Guidelines for developing the Digital Capabilities of security agencies using multi-domainoperational principles. Field Science and Technology Name Air Vice Marshall Theerawat Intarapiroj Course NDC Class 65 The survival of the nations will be intensively decided by smart weapons in all physical, cyber, and space dimension while disruptive technology is rapidly developed such as Nano technology, Space and Cyber technology, Robotics and Artificial Intelligence (AI) to create a significant tool to build National power in security. Western Nations have created doctrines and Command and Control systems to gain multi dimensional advantages, including the application of artificial intelligence to increase decision-making power. This research has objectives in creating Guidelines for developing Digital Capability of security agencies using Multi-domain operational principles. It is a research document from secondary sources by collecting doctrines and information from United States of America, United Kingdom, and Russian Federation. It used the 7S McKinsey Framework and PEST Analysis to analyze the digital technology used by security agencies and created a strategy for building a digital development path for security agencies, especially the C2 System of Royal Thai Armed Forces Headquarters. The results of research is an approach to develope the digital capabilities of security agencies using multidimensional operational principles. By the means of collecting digital signals from sensor on each domain. That information would be stored in Big Data, both structured and unstructured data and being passed to AI to be learned and given advice. At this point, AI could process Tasking Orders in each domain and set real time targets so that commander at the Multi-Dimensional Operations Center (MDOC) could direct operations on all domains. These approaches must be prepared. 1) Organization restructuring: the Military Command Center should be reorganized to the MDOC. 2) Process building: the strategic plan should be reformed for MDO and 3)System building on purchase and development policy, staffs would have the ability to improve and maintain the system. Military unit should be the principal unit to develop Artificial Intelligent technology with other digital technology continuously and to gather data from security unit in multi-dimension to protect the use of force from the opponents. This should be main explicit policy in Thai government in order to sustaining defense technology. ข