Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาการแก้ไขปัญหาการทิ้งงานก่อสร้างในหน่วยงานภาครัฐกรณีศึกษา :มาตรการแก้ปัญหาการทิ้งงานก่อสร้างของ บก.ทท.โดยการจัดทำทะเบียนผู้ค้ำ, (วปอ.9849)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ธิติวัฒน์ ฐิติพบร่มเย็น, (วปอ.9849)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การศึกษาแนวทางปรับปรุงและส่งเสริมภาพลักษณ์พิพิธภัณฑ์ทหาร กรณีศึกษา : อาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พล.ต. ธิติวัฒน์ ฐิติพบร่มเย็น หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติเป็นพิพิธภัณฑ์ทหารที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ ประเทศไทยที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร บนถนนราชดำเนินนอก ในอดีตเคยเป็นอาคารเรียนของ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าที่ก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๔๙ เมื่อโรงเรียนนายร้อยย้ายไปอยู่ที่ตั้งใหม่ในจังหวัดนครนายก อาคารแห่งนี้ได้รับ การปรับปรุงเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบกที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยมี วัตถุประสงค์เป็นสถานที่จัดแสดงทางประวัติศาสตร์และทางทหาร ที่ผ่านมาพิพิธภัณฑ์กองทัพบกไม่ บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการและมีจำนวนผู้มาเข้าชมน้อยเนื่องจากปัญหาทั้งปัจจัยภายในและ ภายนอกหลายประการ อาทิ ทัศนคติเชิงลบของประชาชนในด้านการทหาร ความยากในการเข้าถึง พื้นที่พิพิธภัณฑ์ รูปแบบการจัดแสดงที่ดูน่าเบื่อและขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น งานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อทราบความคิดเห็นของสาธารณชนและพัฒนากลยุทธ์ให้พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเป็น แหล่งเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเองได้ขอบเขตการวิจัยมุ่งที่ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์และสภาพแวดล้อม โดยรอบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาบริบทของพิพิธภัณฑ์และปัญหาที่พบ รวมถึง ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและกรณีศึกษาอื่นๆ รวบรวมข้อมูลทั้งจากการศึกษาเอกสารและ การศึกษาภาคสนามจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถามผู้เข้าชม ผลการวิจัยพบว่า ทั้งทัศนคติเชิงลบ ของประชาชน, ข้อจำกัดด้านงบประมาณ, เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมให้ตรงตามสายงาน, แนวคิด การจัดแสดงแบบไม่ใช้สื่อผสมรวมถึงความยากในการเข้าถึงพื้นที่พิพิธภัณฑ์ ล้วนเป็นปัญหาและ อุปสรรคที่ต้องได้รับการแก้ไขและปรับปรุงโดยเร่งด่วน โดยทางผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์กองทัพบกโดยกำหนดนโยบายและแผนโครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกใต้ ดิน เพื่อจัดการสภาพแวดล้อมใหม่ในเชิงอนุรักษ์โดยยังคงอัตลักษณ์อาคารพิพิธภัณฑ์และ สภาพแวดล้อมภายนอกให้คงสภาพเดิม, ลดข้อจำกัดของการเข้าถึง, กระตุ้นการสนับสนุนทางการเงิน, เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับสาธารณชนข

abstract:

Title A Study of Improving and Enhancing Positive Image for the Military Museum: The Royal Thai Army Museum Building. Field Social - Psychology Name Mj.General Thitiwat Thitibhopromyen Course NDC Class 65 The Royal Thai Army Museum is one of the most famous military museums in Thailand located in the heart of Bangkok. In the past, it used to be the Chulachomklao Royal Military Academy, founded by King Rama V since 1906. When the academy moved to a new location in Nakhon-Nayok Province, this building was renovated into the Army Museum with the purpose of being a historical and military exhibition. Nowadays, the Army Museum failed to achieve its management objectives and had a low number of visitors due to negative attitude towards military context, the difficulty in accessing the area, obsolete exhibitions and lacks necessary amenities. Objectives of Research were to unearth public’s opinions and develop a strategy to make the museum a self-reliant learning resource, while Scope of Research focused on the museum building and its surrounding using qualitative research methodologies to study the museum context and problems encountered, including related literature and case-studies. Data were collected from related documents and field studies by interviews and visitor’s questionnaires. The results uncovered that negative public attitudes, budget constraints, untrained-staff, non￾multimedia, and difficulty in accessing the museum were all problems and obstacles that need to be resolved. This research provided suggestions for improving the Army Museum by formulating policies and plans for the development of underground facilities as the way to manage new environment in a conservative way, while preserving the identity of the museum building and its surrounding, reducing access restrictions, stimulating financial supports, strengthening sustainable development, and being a life-long learning museum for all.ค