เรื่อง: กัญชง พืชอาหารแห่งอนาคตของประเทศ, (วปอ.9845)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายธรรศ ทังสมบัติ, (วปอ.9845)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การส่งเสริมพืชกัญชงสู่พืชแห่งอนาคตของประเทศ
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายธรรศ ทังสมบัติ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
ยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดเป้าหมายพัฒนาประเทศภาพรวมไว้๖ ด้าน ดังคำกล่าวว่า
“ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม
ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” มีความมุ่งหมายที่จะยกระดับศักยภาพของประเทศในหลายหลากมิติ
รวมถึงการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศตามแผนและระยะเวลาที่กำหนดไว้
ดังนั้น บีซีจีโมเดล (BCG Model) เป็นโมเดลเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลประกาศใช้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงมั่ง
คั่งยั่งยืน ประกอบด้วย การพัฒนา ๓ ด้าน คือ ๑. เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) มุ่งเน้นการสร้าง
อุตสาหกรรมจากฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ๒. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular
Economy) คำนึงถึงการนำทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการเกิดขยะของเสียและการนำ
กลับมาใช้ ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ๓. เศรษฐกิจสีเขียว ( Green Economy) เน้นการผลิตที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยครอบคลุม ๔ สาขา คือ เกษตรและอา หาร
สุขภาพและการแพทย์ พลังงานวัสดุและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดย
รัฐบาลมองอุตสาหกรรมอาหาร เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว จึงเป็นที่มาในการ
ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพืชกัญชง เพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญในการที่จะส่งเสริมให้มีการปลูก
กัญชงในวงกว้าง โดยการศึกษาวิจัยในภาคสนาม กำหนดพื้นที่ในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งมี
เกษตรกรปลูกกัญชงกันอยู่แล้วเป็นเวลานาน และศึกษาจากบทความต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศที่
เกี่ยวกับพืชกัญชงเป็นสำคัญ ซึ่งในการศึกษาวิจัยนี้จะมองพืชกัญชงในบริบทของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้
ผลิตอาหารอนาคต โดยใช้หลักการโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) และเปรียบเทียบ
กับถั่วเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในปัจจุบันตลอดจนการใช้ประโยชน์จากกัญชงในอุตสาหกรรมอื่นๆ
และนำผลที่ได้เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปลูกกัญชง อันจะ
ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลกับประเทศต่อไปข
abstract:
Title Hemp, Thailand’s crop of the future
Field Science and Technology
Name Mr.Tust Thangsombat Course NDC Class 65
The National Strategy (2018-2037) is the country’s first national long-term
strategy developed pursuant to the Constitution. It shall be pursued to ensure that
the country achieves its vision of becoming “a developed country with security,
prosperity and sustainability in accordance with the Sufficiency Economy Philosophy”
with the ultimate goal being all Thai people’s happiness.
The BCG Strategic Plan will focus on 4 sectors, namely 1. food and
agriculture, 2. medical and wellness, 3. bioenergy, biomaterial and biochemical, and 4.
tourism and creative economy. It will also emphasize on utilizing biodiversity and
cultural diversity as a basis for developing the nation and improving people’s quality
of life. Food and agriculture, in the view of Thai government is the important tools for
the BCG model based on Thailand’s strengths in robust agricultural activities, rich
natural resources, and diversity in terms of both biological resources and physical
geography.
Thai research is aiming at study Hemps and intend to promote the growing
of hemps in large scale since in the view of the researcher hemps are absolutely are
Thailand’s crop of the future.This research primary date collections will be conducted
in Tak province in Prob Phra district which hemps has been cultivated in that area for
a long time. This research will look at hemps as the vital raw material for Thailand’s
future food industry comparing with soybeans, which are the major raw material for
plants base foods in Thailand in the context of BCG model and also look at hemps for
other industry to utilize the crop, presents to the concern authorities to promote the
large scales cultivation of hemp which will be huge interest of the country
substantially.ค