Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการป้องกันการหลอกลวงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, (วปอ.9829)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล, (วปอ.9829)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง นโยบายและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านเครือข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ ปัญหาการหลอกลวงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) ถือเป็นอาชญากรรมทางสังคมร้ายแรง ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนและความมั่นคงของประเทศใน ปัจจุบัน เอกสารวิจัยส่วนบุคคล เรื่อง “นโยบายและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันปัญหาการ หลอกลวงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่” จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาพฤติกรรมในการหลอกลวง ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผลกระทบและแนวทางการดำเนินการในการแก้ไขหรือป้องกันใน ปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันปัญหา ในประเทศไทยแบบบูรณาการ งานวิจัยชิ้นนี้มีขอบเขตด้านเนื้อหาคือมุ่งเน้นการศึกษาเฉพาะพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มบุคคลทั่วไป และมีขอบเขตด้านประชากรคือมีกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการเก็บข้อมูล ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการทั้งการศึกษาเอกสาร (Documentary Research)และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจกับปัญหารวมทั้งสิ้น ๖ ท่าน จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) และใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยม อาชญากรรม (Crime Triangle Theory) ผลการวิจัยพบว่า การหลอกลวงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีลักษณะที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ มิจฉาชีพมีการทำงานเป็นกลุ่มขบวนการ มีการตั้งฐานปฏิบัติการ ในต่างประเทศและมีลักษณะเหมือนอาชญากรรมข้ามชาติ สามารถจัดหาช่องทางและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ ในการสื่อสารเพื่อเข้าถึงเป้าหมายได้หลายวิธี ใช้หลักการหลอกลวงทางจิตวิทยาต่าง ๆ เพื่อโจมตีจุดอ่อน ของเป้าหมาย และมีการใช้ Mobile Bankingและบัญชีม้าในการโยกย้ายทรัพย์สิน การหลอกลวงดังกล่าว สร้างผลกระทบเป็นอย่างมากต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สังคมประเทศและความมั่นคง การดำเนินการในปัจจุบันพบว่ามีการดำเนินการที่ครอบคลุมทั้ง ๓ ส่วน ของทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม คือ ผู้กระทำผิด ผู้เสียหาย โอกาสและช่องทางของการกระทำผิด และมีการแก้ไขปัญหาในภาพรวม เช่น การบังคับใช้ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยี อย่างไรก็ดี เพื่อให้สามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาการหลอกลวงใน ประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้จึงนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มุ่งเน้นให้มีการ ปรับแก้กฎหมายให้มีความเหมาะสมและบังคับใช้กฎหมายที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และข้อเสนอแนะ เชิงปฏิบัติการที่มุ่งเน้นการเยียวยาผู้เสียหายโดยเฉพาะด้านจิตใจ และการปกป้องประชาชนจาก มิจฉาชีพทั้งการสร้างความตระหนักรู้ การใช้ระบบแจ้งเตือนที่นำเทคโนโลยีการใหม่ ๆ มาใช้และจัดตั้ง ความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ แบบบูรณาการข

abstract:

Title Policies and measures to eradicate and prevent issues regarding scams via mobile phone network Field Social - Psychology Name Mr. Trairat Viriyasirikul Course NDC Class 65 Scams via mobile phone network issues are considered as a severe social crime affecting people and national security recently. This individual research entitled “Policies and measures to eradicate and prevent issues regarding scams via mobile phone network” aims to study the behaviors of scammers, its impacts, and incumbent policies and measures implemented to solve and prevent such issues nowadays. The results are used to establish integrated policy recommendations and measures to eradicate the problem in Thailand. Regarding the scope of the study, it includes the issues occurring in the individuals. Target group, as demographic scope, are experts in the field. This research adopts qualitative methodology comprising of documentary research, and in-depth interviews conducted on total six experts relating to the issues. The data were analyzed by gap analysis based on crime triangle theory. The results found that mobile phone network scams have several important characteristics; the scammers have bases of operations overseas, similar to transnational crime; they use various communication means and devices to reach the target; they employ psychological methods to deceive and attack the target's weaknesses, and they use mobile banking and mule accounts to migrate assets to their accounts. These issues immensely affect people’s well-being, society, the country, and the national security. Existing policies and measures cover all the factors included in the crime triangle theory, the offenders, victims/targets and opportunity/place, and also measures intended to solve the problem as a whole. For example, the Royal Decree on Measures for Protection and Suppression of Technology Crime B.E. 2566 has been enacted. Nonetheless, in order to effectively eradicate and prevent these issues in Thailand, this research proposes several appropriate recommendations. The policy recommendations focus on amending and enforcing the law. The operational recommendations include victim support, especially psychologically, protecting people from scammers such as raising awareness, usage of a notification system utilizing new technologies and establishing an integrated cooperation of various relevant agencies.ค