เรื่อง: แนวทางการดำเนินการตามยุทธศาสตร์เพื่อการรับมือประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรียุคใหม่ :กรณีศึกษาประเด็นสิ่งแวดล้อมและแรงงานในการเจรจากับประเทศยุโรป (European Union), (วปอ.9822)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย, (วปอ.9822)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการด าเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการรับมือประเด็นการค้า
กับการพัฒนาที่ยั่งยืนในการเจรจาความตกลงการค้าเสรียุคใหม่ : กรณีศึกษา
ประเด็นสิ่งแวดล้อมและแรงงานในการเจรจากับสหภาพยุโรป (European
Union)
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายดวงอาทิตย์นิธิอุทัย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่65
การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการรับมือกับการ
เจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปในประเด็นการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดการป่าไม้และประมงให้มีความยั่งยืน และ การรักษา
สิทธิพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งสหภาพยุโรปมีนโยบายที่ชัดเจนว่าการเจรจาต้องมีความสอดคล้องกับ
นโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและกรอบการเจรจาที่ก าหนดไว้ ในขณะที่ไทยยังไม่เคยมีการน า
เรื่องดังกล่าวเข้ามาไว้เป็นพันธกรณีในความตกลงเขตการค้าเสรีก่อนหน้า เนื่องจากจะมีความเสี่ยงใน
การที่จะไม่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างครบถ้วนจนอาจเกิดกลายเป็นข้อพิพาทและต้องเข้าสู่
กระบวนการระงับข้อพิพาทในที่สุด
การศึกษาได้วิเคราะห์ถึงแนวนโยบายด้านการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหภาพยุโรป
รวมถึงข้อบทที่เกี่ยวข้องของความตกลงเขตการค้าเสรีที่สหภาพยุโรปท ากับสิงคโปร์และนิวซีแลนด์อัน
คาดได้ว่าจะเป็นข้อบทต้นแบบให้กับการเจรจารุ่นหลัง นอกจากนี้ได้ศึกษาถึงการด าเนินการที่ผ่านมา
ของไทยโดยเฉพาะการเข้าเป็นภาคีหรือความพยายามที่จะด าเนินการของไทยให้มีความสอดคล้องกับ
ความตกลงระหว่างประเทศที่ส าคัญ รวมถึงได้ประเมินวิเคราะห์ดูจุดอ่อน จุดแข็ง ความเสี่ยง และ
โอกาสของไทย โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากการตอบข้อซักถามผ่านแบบสอบถามโดยผู้ที่
เกี่ยวข้องในการเจรจากับสหภาพยุโรปและผู้ผลักดันนโยบายของประเทศในเรื่องนี้โดยตรง
จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับท าให้พบข้อเท็จจริงว่า ประเทศไทยอยู่ใน
สถานะที่ดีและพร้อมที่จะเจรจากับสหภาพยุโรปในเรื่องนี้ เพราะไทยได้เข้าเป็นและปฏิบัติตาม
พันธกรณีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่ส าคัญอย่างครบถ้วนยกเว้นด้านแรงงานบางฉบับเท่านั้น
ทั้งนี้ ได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น ตลอดจนได้น าเสนอแนวทาง
กลยุทธ์และหลักการที่ควรยึดในการเจรจาไว้ด้วยเช่นกัน ข
abstract:
Title Negotiating Guideline on Trade and Sustainable Development in
Modern Free Trade Agreement : A Case Study of Environmental and
Labour Issues in Free Trade Negotiations with the European Union.
Field Politic
Name Mr.Duangarthit Nidhi-u-tai Course NDC Class 65
This study examines approaches to free trade negotiations between
Thailand and the European Union (EU) on trade and sustainable development,
especially regarding the sustainable development of environmental protection,
sustainable forest and fisheries management, and the protection of fundamental
labor rights. While the EU’s free trade negotiation policy must be consistent with its
sustainable development policy, Thailand’s negotiation policy is not yet bound to
the element of trade and sustainable development to any of its previous FTA
agreements due to the risk in its ability to fulfill obligations which may give rise to
disputes between parties.
The study examines the EU’s policy on free trade and sustainable
development, including previous agreements that the EU has established with
Singapore and New Zealand, which may have served as a model for subsequent
negotiations. This study also explores Thailand’s previous approaches to related
international agreements and its determination to join them. The study also analyses
Thailand’s weaknesses, strengths, risks, and opportunities through SWOT analysis,
which has been made possible by examining the ideas and comments from those
officials involved in negotiations with the EU and behind the scenes in driving
Thailand’s policy.
From the study and the research, it is concluded that Thailand is in
a good position and ready to negotiate with the EU on this matter as Thailand has
acceded and has fully complied with its obligations under international agreements,
except for some labor-related agreements. In light of this, the author has provided
further recommendations to improve Thailand’s readiness and presented strategic
guidelines and principles that should be adhered to during negotiations.ค