Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การปฏิรูปกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อภาคอุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและยั่งยืน, (วปอ.9818)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายณัฐพล รังสิตพล, (วปอ.9818)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การปฏิรูปกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อภาคอุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และยั่งยืน ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายณัฐพล รังสิตพล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่65 งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาแนวทางการปฏิรูปกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งศึกษาการปฏิรูป ระบบราชการที่เป็นต้นแบบที่ดีในต่างประเทศ จากนั้นได้มีการศึกษาและวิเคราะห์บทบาท ภารกิจ โครงสร้าง ปัญหา อุปสรรคและการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานภายใต้ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำไปกำหนดเป็นแนวทางในการปฏิรูปกระทรวงอุตสาหกรรม การวิจัย พบว่าในการปฏิรูปกระทรวงอุตสาหกรรม ควรคำนึงถึงประเด็นสำคัญในการปฏิรูปองค์การ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านแนวทางการดำเนินงาน ด้านกฎหมายและระเบียบ ด้านบุคลากร และด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยประเด็นที่สำคัญที่สุดและสามารถเร่งดำเนินการเป็นอันดับแรก คือ ด้านแนวทางการดำเนินงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องปรับทิศทางการดำเนินงาน และให้ ความสำคัญในการยกระดับภาคอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งและกระจายรายได้ สู่ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ทางวิชาการหรือ “หัว”และการเข้าอกเข้าใจและให้ความสำคัญกับ การมีส่วนร่วมหรือ “ใจ” ของคนกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องผลักดันการปรับเปลี่ยนการประกอบการ อุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมวิถีใหม่ที่มุ่งสู่ความสำเร็จใน 4 มิติ ซึ่งประกอบด้วย มิติที่ 1 ความสำเร็จ ทางธุรกิจที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจและอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมศักยภาพ หรือ S-Curve รวมถึงธุรกิจและการผลิตรูปแบบใหม่ มิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้ อุตสาหกรรมอยู่ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมด้วยความรับผิดชอบและเป็นมิตร มิติที่ 3 การดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลกโดยผลักดันปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมด้วยกลไก การกำกับดูแลที่ทรงประสิทธิภาพ รวมถึงการส่งเสริมยกระดับสถานประกอบการด้วยแนวคิด BCG และมิติที่ 4 การกระจายรายได้ให้กับประชาชนและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยมุ่งเน้นการพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาวิถีชีวิต สร้างประโยชน์พัฒนาชุมชนรอบอุตสาหกรรมและต่อยอดอาชีพให้กับชุมชนที่เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจน นอกจากเป้าหมายความสำเร็จใน 4 มิติแล้ว ในการปฏิรูปกระทรวงอุตสาหกรรม ทุกหน่วยงาน ภายในของกระทรวงยังต้องให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาล การอำนวยความสะดวก และความ โปร่งใสในการปฏิบัติงาน รวมถึงการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันการขับเคลื่อน กำกับดูแล และส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มีการปรับตัวเข้าสู่วิถีใหม่อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ข ในงานวิจัยนี้ได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐหรือหน่วยงานอื่นพึงนำไปใช้ ในการปฏิรูปองค์การด้วยค

abstract:

Title MIND Transformation for Strong and Sustainable Economic Industry Field Politics Name Dr. Nattapon Rangsitpon Course NDC Class 65 This research aimed to study the potential reformation approaches of the Ministry of Industry to ensure a strong and sustainable economic industry. The researcher has conducted a study and analysis of the current situations and influential factors affecting the development of Thailand’s industrial sector and overall economic growth. Additionally, the researcher has studied examples of successful bureaucratic reformation in other countries. Following that, there was a study and analysis of roles, missions, structures, problems, obstacles, and present operations of the Ministry and its affiliated agencies to be further used as a guideline for the reformation of the Ministry. Based on the research findings, there are five key issues involved in reformation efficiency that must be taken into account. These issues include 1 ) the organizational structure, 2 ) operational guidelines, 3 ) laws and regulations, 4) human resource, and 5) digital technology. In this context, the most important and prioritized issue is the second one –the operational guidelines. Accordingly, the Ministry needs to adjust its operational directions and prioritize the improvement of the industrial sector along with creating economic strength and income distribution to local communities through providing academic knowledge or “head” and understanding and valuing committed participation or “heart” of the Ministry’s personnel at all levels. It is necessary to push and encourage the transformation of industrial operations towards a new industrial paradigm, aiming for success in four dimensions. The first dimension is the success of business focusing on shifting businesses and industries towards the potential industries or so-called S-curve industries, including novel business and production formats. The second dimension focuses on holistic social care towards communities around industrial factories to ensure that these factories better coexist with societies through responsibility and friendliness. The next dimension is environmental conservation in response to the needs and expectations of Thailand and the global community by driving environmental management practices through efficient supervisory mechanisms and promoting and enhancing businesses through the Bio-Circular-Green (BCG) Economy Model. The fourth dimension is the income distribution to people, leading to their well-being by improving community-level living ง standards and supporting a systematic grassroots economy to preserve and maintain conventional lifestyles, create community development benefits around industrial areas, and further expand local employment opportunities. In addition to the goals of achieving the said four dimensions, during the processes of reforming the Ministry, all internal units and affiliates must also recognize and prioritize good governance principles, facilitation, operational transparency, and integration with relevant agencies, both public and private ones to foster collective movement, supervision, and promotion for an effective transition towards a new paradigm of the country’s industrial sector. Furthermore, this research also presents viable policy recommendations and measures that government bodies and other organizations can consider implementing to reform their operations successfully. จ