Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นองค์กรดิจิทัลของกองบัญชาการกองทัพไทย, (วปอ.9816)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท ณัฐพงษ์ เพราแก้ว, (วปอ.9816)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นองค์กรดิจิทัลของกองบัญชาการกองทัพไทย ตามแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ภายใต้นโยบาย SMART Headquarters และความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พล.ท. ณัฐพงษ์ เพราแก้ว หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ เอกสารวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของ กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) ตามแนวทางการประเมินของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) และการปฏิบัติในการขับเคลื่อนด้านดิจิทัลของ บก.ทท. ในระดับ Digital HQ ตามนโยบาย SMART HQ ซึ่งทำให้ทราบถึงสภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรดิจิทัลของ บก.ทท. รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางและ ข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นองค์กรดิจิทัลของ บก.ทท. ตามแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ โดยมีขอบเขตด้านเนื้อหา คือ ๑) ความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลตามแนวทางการประเมินของ สพร. ๒) การปฏิบัติในการขับเคลื่อนด้านดิจิทัลของ บก.ทท. ในระดับ Digital HQ ตามนโยบาย SMART HQ และ ๓) แนวทางการพัฒนา บก.ทท. เป็นองค์กรดิจิทัล ตามแนวคิด7Sของแมคคินซีย์ทั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลเอกสาร และการสัมภาษณ์กลุ่ม ตัวอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นองค์กรดิจิทัลของ บก.ทท. โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ๑) ระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของ บก.ทท. ตามแนวทาง การประเมินของ สพร. ในปัจจุบัน อยู่ในระดับ ๓ (Defined) โดยผลการประเมิน ๓ ปีย้อนหลัง (พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๕) มีคะแนนค่าเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีแสดงถึงความพร้อมในภาพรวมที่เพิ่มขึ้น ๒) การปฏิบัติในการขับเคลื่อนด้านดิจิทัลของ บก.ทท. ในระดับ Digital HQ ตามนโยบาย SMART HQ อยู่ระหว่างการดำเนินการในระยะแรก ลักษณะการดำเนินการจึงเป็นการทำแผน กำหนดผู้รับผิดชอบ จัดสรรงบประมาณ ยังไม่มีการรายงานตามตัวชี้วัด และ ๓) สภาพความเป็นองค์กรดิจิทัลของ บก.ทท. จำแนกตามปัจจัย ๗ ประการ ตามแนวคิด 7S ของ แมคคินซีย์มีประเด็นที่ต้องพัฒนาในทุกหัวข้อ โดยมีข้อเสนอแนะว่า การเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นองค์กรดิจิทัลของ บก.ทท. ควรเป็นนโยบาย เร่งด่วนหรือเป็นวาระที่สำคัญของ บก.ทท. และควรนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ การเป็นองค์กรดิจิทัลของ บก.ทท. โดยการขับเคลื่อนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลให้ดียิ่งขึ้นข

abstract:

Title Enhancing Digital Organizational Efficiency in the Royal Thai Armed Forces Headquarters through the McKinsey 7SFramework on SMART Headquarters Policy and Digital Government Readiness Framework Field Military Name Lt.Gen. Nuttapong Praokaew Course NDC Class 65 This research aims to study the digital readiness level of the Royal Thai Armed Forces Headquarters (RTARF) following the evaluation guidelines of the Digital Government Agency (DGA) and the implementation of the digital drive of RTARF at the Digital HQ level, in line with the SMART HQ policy. This study seeks to understand the current state of RTARF as a digital organization and explore ways to enhance its digital efficiency through the McKinsey 7SFramework.The scope includes: 1) The digital readiness level according to the evaluation guidelines of DGA; 2) the implementation of the digital drive at the Digital HQ level, in line with the SMART HQ policy; and 3) the development direction of RTARF as a digital organization based on McKinsey 7S Framework. This research is qualitative and involves data collection from document analysis and interviews with relevant groups, using questionnaires created by the researchers. The research findings indicate that: 1) the current digital readiness level of RTARF is at level 3 (Defined), with an overall improvement from the past three years (2020-2022); 2) the implementation of digital drive is still in its early stages; and 3) the state of RTARF as a digital organization, categorized based on McKinsey 7S Framework, needs improvement in all seven factors. Therefore, it is recommended that enhancing digital organization efficiency in RTARF should be considered a priority and a crucial agenda; and the research findings should be utilized to drive policy implementation in a systematic manner, aiming to develop digital readiness to a higher level.ค