Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายขจัดความยากจนของรัฐบาล, (วปอ.9810)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายณรงค์ เทพเสนา, (วปอ.9810)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายขจัดความยากจนของรัฐบาล ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายณรงค์ เทพเสนา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายขจัดความยากจนของรัฐบาล ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ หนึ่ง เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคในการขจัดความยากจน ของรัฐบาลในการดำเนินงานที่ผ่านมา สอง เพื่อประเมินผลการดำเนินการตามแนวทางการขจัด ความยากจนของรัฐบาลที่ดำเนินการโดยจังหวัดตราด และวิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจาก การดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด และสาม เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายขจัด ความยากจนของรัฐบาล โดยกำหนดขอบเขตการวิจัย คือ การศึกษาวิจัยด้านแนวทางการขจัด ความยากจนของรัฐบาล โดยเน้นไปที่การดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนา คนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ระดับจังหวัด จังหวัดตราด ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นหาข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ เพื่อนำไปอภิรายผล โดยมีแหล่งข้อมูลระดับปฐมภูมิคือ การสัมภาษณ์คณะกรรมการ ศจพ. ระดับจังหวัด และระดับต่าง ๆ ในเชิงลึก การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลทุติย ภูมิจากเอกสารทางราชการ เอกสารวิชาการ และเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กรอบทฤษฎี SOAR มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์งานวิจัย และ ใช้ปัจจัย ๗ ประการ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานขององค์กร (McKinsey 7S model) มาช่วยในการพัฒนา ศจพ.ตร. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการศึกษา สามารถสรุปได้ว่า ศจพ.ตร. มีจุดแข็งคือการมีเป้าหมายที่ชัดเจนจาก ข้อมูลที่มีในระบบ TPMAP มีการวางแผนการดำเนินงาน การมอบหมายภารกิจ และห้วงเวลา การดำเนินงานชัดเจน มีกลไกการขับเคลื่อนครอบคลุมทุกระดับ มีผู้นำที่มีศักยภาพ และมีโอกาส ในการสร้างพันธมิตรในการขจัดความยากจนในระดับท้องถิ่นจากภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ เพื่อแก้ไข ปัญหาความยากจนของคนตราดในทุกมิติอย่างยั่งยืน ส่งผลให้จังหวัดตราด เป็น ๑ ใน ๕ จังหวัด มีผลการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศ โดยมีผลการให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนยากจนครบ ๑๐๐% ตามข้อมูลในระบบ TPMAP Logbook และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ศจพ.ตร. ต้องมีการพัฒนา ศจพ.ตร. ทั้ง ๗ ด้าน ได้แก่ ๑) กลยุทธ์ ๒) โครงสร้าง ๓) ระบบ ๔) แบบ ๕) บุคลากร ๖) ความสามารถ และ ๗) ค่านิยมร่วมของคนในองค์กร เพื่อให้สามารถ แก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืนต่อไปข

abstract:

Title Guidelines for Efficiency Enhancement of Government on Poverty Eradication Policy Field Social - Psychology Name Mr.Narong Thepsena Course NDC Class 65 The research “Guidelines for Efficiency Enhancement of Government on Poverty Eradication Policy” aims to study three research objectives. First, to identify problems and obstacles which effect Government’s Poverty Eradication Policy implements. Second, to evaluate the effectiveness of the policy implementation under Poverty Eradication and Life Cycle Development (PELCD) of Trat Province and predict future outcomes. Finally, to analyze the guidelines for efficiency Government on poverty eradication policy. The scope of the research is poverty eradication policy under PELCD of Trat Province. This research method focuses on qualitative research aiming to find the empirical fact that leads to analyze and summarize the result base on two key sources. First, primary data from the PELCD of Trat Province’s committee and related officer’s in-depth interview and related meeting. Second, secondary data from official documents, academic papers, and related research. Concepts and academic theories linked to SOAR Analysis. And using The McKinsey 7-S Model to identifies seven elements that help organizations to achieve goals for increasing efficiency of PELCD of Trat Province. The results can be concluded that PELCD of Trat Province’s strength are a clearly defined target group using data from TPMAP system, effective action plan, effectively task assignment, good operation, mechanism that cover at all levels from policy maker to practitioner and good leader. The opportunities of PELCD of Trat Province is the coalition between government sector and private sector that advocates for people who are living in poverty to end poverty in Trat Province sustainably. Therefor Trat Province is 1 of 5 province that got 100% accomplishments in solve poverty problem at the household level under TPMAP account to ensure that the Thai people are survived, safe, sufficient, and sustainable. And to improve PELCD of Trat Province, the recommendation is to develop its seven elements which ค is Structure, Strategy, Skill, System, Shared Values, Style, and Staff for sustainable poverty ending.ง