เรื่อง: แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานเป็นจิตอาสาในสังคมส่วนรวมของอาสาสมัครกู้ภัย, (วปอ.9803)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายชูเดช เตชะไพบูลย์, (วปอ.9803)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การสร้างแรงจูงใจในการเป็นอาสาสมัครกู้ภัย เพื่อสังคมส่วนรวม
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นายชูเดช เตชะไพบูลย์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
วัตถุประสงค์ของการวิจัยฉบับนี้มี 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบท ความคาดหวัง
และปัญหาในการทำงานเป็นจิตอาสาของอาสาสมัครกู้ภัย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการสร้างแรงจูงใจ
ในการเป็นจิตอาสา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการเป็นจิตอาสาของอาสาสมัครกู้ภัย
วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย
กลุ่มอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิกู้ภัยปอเต็กตึ้ง กลุ่มผู้บริหารมูลนิธิกู้ภัยปอเต็กตึ้ง นักวิชาการด้านจิตวิทยา
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และ ภาคประชาชน รวม 23 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์
เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาความตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาบริบท ความคาดหวัง และปัญหาในการทำงานเป็นจิตอาสาของ
อาสาสมัครกู้ภัย พบว่า บริบทของการเข้าทำงานเป็นอาสาสมัครกู้ย มีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นการเริ่มต้นเรียนรู้ ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นเพิ่มขีดความสามารถ ด้านความคาดหวัง พบว่า
ผู้ที่อาสาสมัครเข้ามาทำงานในมูลนิธิปอเต็กตึ้ง ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัย รู้สึกภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น ว่าตนสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ จนเกิด
การยอมรับจากสังคม สำหรับปัญหาอุปสรรคในการทำงานเป็นจิตอาสา พบว่า มี 3 ลักษณะ คือ
ประสิทธิภาพในการทำงาน ทุนทรัพย์ และแรงจูงใจ
2. ผลการศึกษาปัจจัยในการสร้างแรงจูงใจในการเป็นจิตอาสา พบว่า ปัจจัยในการ
สร้างแรงจูงใจในการเป็นจิตอาสา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับองค์กร (มูลนิธิ) และ
ระดับหน่วยงานภาครัฐและชุมชน
3. ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการเป็นจิตอาสาของอาสาสมัคร
กู้ภัย พบว่า แนวทางการเป็นอาสาสมัครนั้นเกิดจากการกำหนดเป้าหมายการสร้างแรงจูงใจร่วมกันทั้ง
3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับองค์กร (มูลนิธิ) และระดับหน่วยงานภาครัฐและชุมชน ซึ่งจะส่งผลต่อ
การปฏิบัติตนของผู้ทำงานเป็นอาสาสมัครให้ยอมรับกฎระเบียบของกลุ่ม หรือขององค์กรที่บุคคล
นั้น ๆ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ประกอบกับอาสาสมัครกู้ต่าง ๆ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นความตั้งใจ/ความเต็มใจในการปฏิบัติตนเป็นจิตอาสา
2) ขั้นการปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎระเบียบขององค์กร และ 3) ขั้นการแสวงหาความรู้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ข
abstract:
Title Incentives for Volunteer Rescue for Society as a Whole
Field Social - Psychology
Name Mr. Choodej Tejapaibul Course NDC Class 65
The three objectives of this research were 1) to study the context of
expectations and problems in volunteer work of rescue volunteers, 2) to study
factors influencing the volunteering spirit, and 3) to study ways to promote
motivation in the volunteering spirit of rescue volunteers. The research method was
qualitative research by collecting data from key informants consisting of rescue
volunteers from Por Teck Tung Rescue Foundation, Por Teck Tung Rescue
Foundation executives, psychologists, relevant government agencies, and the public
sector, totaling 23 people. The research tool was in-depth interviews. The data were
analyzed using a description of the research objectives.
Research results
1. The results of the study of the context of expectations and
problems in volunteer work of rescue volunteers revealed that the context of
working as a rescue volunteer has 3 important steps: the beginning of learning.
operating stage competency enhancement step. In terms of expectation, it was
found that most of the volunteers who came to work in the Por Tek Tung
Foundation gave importance to helping the victims, feeling proud, and seeing greater
self-worth that they can help others until they are accepted by society. As for the
problems and obstacles in working as a volunteer, it was found that there were 3
characteristics: work efficiency, capital, and motivation.
2. From the results of the study of the factors influencing the
volunteering spirit, it was found that the factors motivating the volunteering spirit
were divided into 3 levels: the individual level, the organization level (foundation),
and the level of government agencies and community level.
3. The results of the study of ways to promote motivation in the
volunteering spirit of rescue volunteers revealed that volunteerism approaches
are formed by setting goals for mutual incentives at all 3 levels: the individual level,
the organization (foundation) level, and the government agencies and community
level. This will affect the conduct of volunteer workers to accept the rules of the
group or of the organization in which that person performs his or her duties. In ค
addition, volunteer workers must have knowledge and understanding of the work.
There were 3 important steps: 1) willingness/ readiness to act as a volunteer, 2)
conducting oneself in accordance with the organization's rules and regulations, and
3) effectively seeking knowledge.ง