เรื่อง: แนวทางการตรวจราชการแบบดิจิทัลของประเทศไทย, (วปอ.9801)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางชื่นชีวัน ลิมป์ธีระกุล, (วปอ.9801)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการตรวจราชการแบบดิจิทัลของประเทศไทย
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นางชื่นชีวัน ลิมป์ธีระกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการตรวจราชการแบบดิจิทัลของประเทศไทย
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาของกระบวนการตรวจราชการในปัจจุบัน และวิเคราะห์ปัญหา
อุปสรรคเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม รวมทั้งเพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนางานตรวจ
ราชการโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปแบบงานตรวจราชการและภารกิจที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน
และเสนอแนวทางในการพัฒนางานตรวจราชการแบบดิจิทัล รวมถึงให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา
งานตรวจราชการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ผู้วิจัย
ด าเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ตรวจราชการส านัก
นายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวง รวมจ านวน ๕๐ คน และการศึกษารวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล
พื้นฐานจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการ และการพัฒนาเทคโนโลยีผลการวิจัย พบว่า
กระบวนการตรวจราชการที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นการตรวจราชการแบบดิจิทัล มีการน าเทคโนโลยี
ดิจิทัลเข้ามาช่วยด าเนินการแล้วในหลายส่วน หลายหน่วยงานมีระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตรวจ
ราชการ ทั้งในส่วนที่ใช้เพื่อเป็นทดแทนกระบวนการตรวจราชการในบางขั้นตอน และส่วนที่เป็นระบบ
หรือเทคโนโลยีช่วยในการด าเนินงาน โดยได้น าระบบและแพลตฟอร์มฟรีที่นิยมใช้ทั่วไปมาทดแทน
การติดต่อสื่อสารและการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานเป็นหลัก เช่น ไลน์ อีเมล การประชุมผ่านระบบ
Video Conference และแอพลิเคชั่น Zoom WebEx Microsoft Team เป็นต้น แต่ยังไม่มีระบบ
กลางที่ทุกหน่วยงานสามารถใช้งานด้านการตรวจราชการร่วมกัน นอกจากนี้พบว่า การน าเทคโนโลยี
ดิจิทัลมาสนับสนุนการตรวจราชการ ยังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุง/พัฒนาหลายด้าน เช่น การปรับปรุง
กระบวนงาน การน าข้อมูลภารกิจ/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายในการติดตาม การด าเนินการงานต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและการส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานอย่างจริงจัง รวมถึงการปรับปรุง
ระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติงาน
ในส่วนของข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบการตรวจราชการ ผู้วิจัยพบว่า ส านัก
นายกรัฐมนตรีควรก าหนดมาตรฐานของรายงานผลการตรวจราชการและพัฒนาฐานข้อมูล
เพื่อรวบรวมรายงานผลการตรวจราชการจากทุกหน่วยงาน และให้ทุกหน่วยงานเผยแพร่ข้อมูล
เพื่อให้ผู้ตรวจราชการทุกหน่วยงานเข้าถึงข้อมูล โดยสามารถจ าแนกรายงานผลการตรวจราชการ
ได้หลายมิติ เช่น ตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามแผนแม่บทย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ตามพื้นที่จังหวัด
เป็นต้น การปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจ
ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ต้องมีการน ามาพิจารณาแก้ไขในส่วนที่ขัดแย้งกับการด าเนินการทาง
อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นระบบการตรวจราชการ
แบบอิเล็กทรอนิกส์กลาง ที่ทุกหน่วยงานที่ด าเนินการด้านการตรวจราชการต้องใช้งานร่วมกัน
โดยระบบสามารถรวบรวมข้อมูลส าคัญเกี่ยวกับการตรวจราชการ การติดตามผลการตรวจราชการข
ของทุกหน่วยงานไว้ที่เดียวกัน เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานกลางในการตรวจราชการที่สามารถ
ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกส าคัญ
ในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมายค
abstract:
Title Digital Inspection Guideline in Thailand.
Field Politics.
Name Mrs. Chuencheewan Limteerakul Course NDC Class 65
The study of digital inspection guideline in Thailand has objectives for
finding current problem of inspection procedure and diagnose problems to solve
appropriately. Analyses inspection development plans using appropriate technology
and relevant duties and makes suggestions for inspection evolution based on current
situation, rectification, and effectiveness. The research methodologies include
interviews with a representative sample of 50 people, including executives and
inspector-generals from the Permanent Secretary's Office and the Ministry of
Inspector General. The research discovered that inspection procedures may be
adapted to digital inspection. Many government agencies have information systems
to help with inspections. Furthermore, providing free work platforms such as online
meeting systems such as Zoom, Webex, Microsoft team, and line application to use
for communication between agencies to exchange information. The main issue for
agencies with inspection responsibilities is the lack of a central inspection system.
Moreover, the inspection must adapt the procedure to make the indicator the aim
for integration and send it between agencies, as well as revise the relevant law and
support the electric device for inspection.
The suggestion is the office of prime minister should specify standard of
the inspection report and the database for gatherings inspection reports from other
agencies and publish reports that can separate by section like National strategy, area.
The revision of relevant law is particularly concerned with orders that clash with
electronic procedures. Furthermore, the inspection system should be the core of the
inspection system, with all agencies sharing information and the center system
collecting inspection data. There will be a standard of inspection that responds to
needs and solves people's problems, and it will serve as a vital tool for driving
government policy to archive goals.ง