Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคประชาชนในพื้นที่, (วปอ.9799)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ชายแดน กฤษณสุวรรณ, (วปอ.9799)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคประชาชน ในพื้นที่ กรณี หนองเต่าโมเดล ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พลตรี ชายแดน กฤษณสุวรรณ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคประชาชน ในพื้นที่ กรณี หนองเต่าโมเดล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วม รวมถึงปัญหา อุปสรรค ในการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่บ้าน หนองเต่า ต าบลปิงโค้ง อ าเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อน าเสนอเป็นรูปแบบในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับหน่วยงานราชการและภาคประชาชนสามารถน าไปใช้ในพื้นที่ รวมถึงประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นตามบริบทที่เหมาะสม ผู้วิจัยได้ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยแบ่งกลุ่มประชากรในการศึกษา เป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชาชน คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านหนองเต่า ต าบลปิงโค้ง อ าเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และ กลุ่มหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ พบว่าระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในด้านการ ด าเนินกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ด้านการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการวางแผนและ แสดงความคิดเห็น รวมถึงด้านการประเมินผลอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง โดยปัญหาที่พบเกิด จากความต่อเนื่องในการด าเนินกิจกรรม และอุปสรรคจากภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร รวมถึงขาดความ ตระหนักและการยอมรับสภาพปัญหาที่แท้จริง แนวทางในการแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาชนบูรณาการ ร่วมกับส่วนราชการ ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอกรอบแนวคิดการปิดล้อมทางยุทธศาสตร์พื้นที่บ้านหนองเต่า ต าลปิงโค้ง อ าเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หรือ “หนองเต่าโมเดล” โดยอาศัยยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมควบคู่หลักการปฏิบัติทางทหาร ซึ่งประกอบด้วย การปฏิบัติการด้านการข่าว ด้านยุทธการ และด้านกิจการพลเรือน เพื่อบริหารจัดการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน โดยมีหัวใจ หลักคือ “ชุมชนร่วมคิด วางแผน แก้ปัญหาร่วมกัน” ด าเนินการตามยุทธศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และระเบิดจากข้างใน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนมีความพร้อมและมีส่วนร่วม ในการด าเนินการตั้งแต่ต้น สร้างกระบวนการและศักยภาพการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกกระบวนการอย่างยั่งยืนข

abstract:

Title Participation in the Prevention and Resolution of Drug Problems in the Community: A Case Study of Nongtao Model Field Social – Psychology Name Maj.Gen. Chaidan Grissanasuwarn Course NDC Class 65 This research explores community participation and challenges in preventing and addressing drug problems in the Nongtao community of Chiang Dao District, Chiang Mai Province. The study aims to present a model for prevention and resolution of drug problems applicable to both government agencies and the community. The researcher examined the level of community participation by dividing the study population into two groups: the community residents residing in the Nongtao community and the relevant government agencies involved in preventing and addressing drug problems in the area. It was found that the level of community participation in terms of implementing activities was high, while awareness level was moderate. However, planning, expressing opinions, and evaluation were at a low to moderate level. The identified problems stemmed from the lack of continuity in carrying out activities and language barriers in communication, as well as the lack of awareness and acceptance of the actual problem situation. To address these issues, collaborative efforts between the community and the government sector are crucial. The researcher proposed a strategic framework, known as the "Nongtao Model" which relies on a military-civilian cooperation strategy comprising intelligence, military operations, and civil affairs. The main objective is to manage community participation, emphasizing the principles of community engagement, collaborative problem-solving. This framework aims to strengthen community readiness and involvement in all stages of operation, establishing sustainable processes and enhancing the potential for community participation in preventing and addressing drug problems.ค