Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางพัฒนาระบบการบริหารจัดการการบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือประชาชนของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก, (วปอ.9789)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ชวลิต เอียมแทน, (วปอ.9789)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการบรรเทาสาธารณภัยและการ ช่วยเหลือประชาชนของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี ชวลิต เอี่ยมแทน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาข้อจำกัดหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น และหาแนวทาง ที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการการบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือประชาชนของ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีขอบเขตการวิจัย ด้วยการศึกษาและ วิเคราะห์โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ รวมถึงการบริหารจัดการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้ง ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ และระดับพื้นที่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้แทนของหน่วยทั้งภาคพลเรือนและ ทหาร สำหรับวิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม พร้อมทั้งการเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลเอกสาร (Documentary Research) ได้แก่ แผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการ บริหารจัดการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยผลการวิจัยพบว่า ระบบการบริหารจัดการการบรรเทาสาธารณ ภัยและการช่วยเหลือประชาชนของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก จำเป็นต้องมีการปรับปรุงและ พัฒนาในหลายมิติได้แก่ การปรับโครงสร้างการจัดและการบริหารจัดการให้เป็นรูปธรรมและมีความชัดเจน มากยิ่งขึ้น การพัฒนาและเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับกำลังพลและเตรียมความพร้อมยุทโธปกรณ์ที่จำเป็น ต่อหน่วยสำหรับใช้ในการสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ การพัฒนาระบบสารสนเทศ และการติดต่อสื่อสารให้มีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในและมีการบูรณาการการใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน ระหว่างทหารกับพลเรือน การปรับระบบการบังคับบัญชาและการรายงานให้สั้นลง เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและ ทันต่อเหตุการณ์การลดภาระหรือขั้นตอนการสนับสนุนด้านงบประมาณ รวมถึงการบูรณาการร่วมกับส่วน ราชการพลเรือน ตั้งแต่กระบวนการจัดทำแผนในทุกระดับ ตลอดจนมีการวางแผนจัดการฝึกอบรมและซักซ้อม ร่วมกันระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือน มีการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศที่มีฐานข้อมูลที่เป็น มาตรฐานเดียวกัน สามารถประสานหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วม ทั้งนี้ การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษา เฉพาะเรื่อง ด้วยการเปรียบเทียบบทเรียน แผนบรรเทาสาธารณภัยระดับต่างๆ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสรุปบทเรียนและประสบการณ์จากมุมมองของผู้วิจัยเองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบรรเทาสา ธารณภัยในระดับฝ่ายอำนวยการ ซึ่งสามารถเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งในเรื่อง การบูรณาการร่วมระหว่างกองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพอื่นๆ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย นโยบาย ระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารจัดการการ บรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือประชาชน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข

abstract:

Title Guideline for the development of disaster relief and public assistance management system of Royal Thai Army Disaster Relief Center Field Military Name Maj.Gen. Chawalit Eiamthan Course NDC Class 65 The objective of this research is to study problems, limits or hindrances and seek a proper guideline to develop the management system of disaster relief as well as toenhance Royal Thai Army Disaster Relief Center’s public assistance. This research scopes to study and analyze structure and role responsibility including management of disaster relief and prevention both in policy and operation levels using samples from civilian and military representatives. Our research is qualitative. In-depth interviews and questionnaires are our primary data. Meanwhile, we use documentary research as our secondary data, i.e. disaster prevention and relief plan, concepts or theories concerning management including relevant researches. Our research shows that Royal Thai Army Disaster Relief Center’s management system of disaster relief and public assistance need to be improved in several dimensions including to restructure Royal Thai Army Disaster Relief Center’s organic and management, to improve and enhance personnel knowledge, to prepare necessary disaster relief equipment, to improve information and communication system inside the organization, to integrate military and civilian’s databases, to shorten chain of command and report, to quicken the budget support process, to integrate disaster relief process with civilian starting from the planning stage, to plan training and rehearsal between civilian and military, to improve and enhance information system with same standard that can do data exchange and coordinating. This research is subject matter specific by comparing different levels of disaster relief plan, relevant concepts and theories as well as lessons learned and experiences from researcher that involved with disaster relief in staff level. This research gives opportunity to interested parties to further study the integration between Royal Thai Armed Forces and other services as well as to study relevant laws, policies, regulations and rules in order to improve and enhance disaster relief system and public assistance that can response to disaster in time and in line with people’s need in disaster area. ค