Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการพานิชยนาวีของประเทศไทยทางฝั่งทะเลอันดามัน, (วปอ.9785)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี เฉลิมชัย สวนแก้ว, (วปอ.9785)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการพาณิชยนาวี ของประเทศไทยทางฝั่งทะเลอันดามัน ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พลเรือตรี เฉลิมชัย สวนแก้ว หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการพาณิชยนาวีของ ประเทศไทยทางฝั่งทะเลอันดามัน มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อช่วยในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ฝั่ง ทะเลอันดามันของไทย ให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านการพาณิชยนาวีของภูมิภาคและของโลก โดยอาศัย ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ จากการที่มีชายฝั่งทะเลที่ติดกับ ๒ มหาสมุทรทั้ง มหาสมุทร แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก เช่น จีน อินเดีย และออสเตรเลีย นอกจากนี้สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงของโลกยังมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะทะเลจีนใต้ที่มีข้อขัดแย้งอยู่หลายประการ ยิ่งจะทำให้ชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยมี ความสำคัญต่อการคมนาคมทางทะเลมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการแสวงประโยชน์ ทางทะเล จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างขีดความสามารถด้านพาณิชยนาวีทางฝั่งทะเลอันดามัน รองรับการ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผลการวิจัยพบว่าหัวใจหลักที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถแสวงหาผลประโยชน์ทางทะเล ผ่านกิจการพาณิชยนาวีคือการสร้างเส้นทางคมนาคมทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทร แปซิฟิกใหม่ โดยกำหนดเป้าหมายหลักของยุทธศาสตร์ว่า “เปิดเส้นทางคมนาคมทางทะเลจากอันดามัน สู่อ่าวไทยแบบไร้รอยต่อ” และแบ่งออกเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ได้ทั้งหมด ๔ ประเด็น ประกอบด้วย การพัฒนากิจการท่าเรือ มีเป้าหมายในการพัฒนาคือ “สร้างท่าเรือขนาดใหญ่ รองรับปริมาณสินค้าที่จะ ส่งผ่านอย่างเพียงพอ” โดยการสร้างท่าเรือแห่งใหม่ให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ มีระบบ สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าอย่างครบถ้วน และต้องมีการบริหารจัดการที่ดีการพัฒนา กิจการอู่เรือ มีเป้าหมายในการพัฒนาคือ “สร้างอู่เรือที่สามารถซ่อมสร้างเรือขนาดกลางได้ทุกมิติ” โดย การสร้างอู่เรือแห่งใหม่ให้มีขีดความสามารถอย่างน้อยในการซ่อมตัวเรือใต้แนวน้ำและสร้างเรือสินค้า ขนาดกลาง รวมทั้งซ่อมบำรุงเรือสินค้าขนาดใหญ่ การพัฒนาการคมนาคมทางบกเชื่อมต่อทางทะเล มี เป้าหมายในการพัฒนาคือ“ระบบรางเชื่อมต่อท่าเรือไปทั่วไทย โยงใยทั่วภูมิภาค” โดยการสร้างเส้นทาง ขนส่งระบบรางเส้นทางใหม่จากท่าเรือ ไปต่อเชื่อมกับเส้นทางรถไฟสายใต้ และการพัฒนาการเชื่อมต่อ ท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีเป้าหมายในการพัฒนาคือ “แลนด์บริดจ์เชื่อมทะเลไทย ไปได้ทั่ว โลก” โดยการสร้างแลนด์บริดจ์ในการเชื่อมต่อการขนส่งทางทะเลทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน ทั้งระบบถนน ระบบรางและระบบท่อ บริหารจัดการโดยกำหนดให้พื้นที่รอบเส้นทางเป็นเขตท่าเรือเดียวกัน เปรียบเสมือนท่าเรือขนาดใหญ่ ที่มีท่าเทียบเรืออยู่หลายท่า เพียงแต่ท่าเทียบเรืออยู่ห่างกันข

abstract:

Title Thailand strategy for the development and enhancement of merchant marine capabilities in the Andaman Sea Filed Strategy Name Rear Admiral Chalermchai Suankaew Course NDC Class 65 The research on “Thailand strategy for the development and enhancement of merchant marine capabilities in the Andaman Sea” aims to determine the developmental direction for Thailand's maritime operational areas, particularly those along the Andaman Sea. The goal is to transform the mentioned area into a maritime hub for the region and the world, leveraging their advantages in geographical location between two major oceans - the Pacific Ocean and the Indian Ocean. Additionally, Thailand is situated in a strategic position between influential countries such as Republic of China, India, and Australia. Moreover, the global security environment, especially the South China Sea, have undergone significant changes in which highlights the increasing importance of Thailand's maritime transportation and marine-related opportunities. Therefore, it is necessary to enhance the capabilities on the maritime economy sector in order to adapt for future changes. The research findings indicate that the key to Thailand's pursuit of maritime benefits lies in establishing a new maritime transportation route between the Indian Ocean and the Pacific Ocean, with the main objective being "To make an uninterrupted maritime transportation route from the Andaman Sea to the Gulf of Thailand.", which can be further divided into four key strategic issues. First, development of port operations aims to construct large-scale ports capable of supporting cargo vessels with increasing in both quantity and volume. This involves building new ports that can handle large cargo ships, providing comprehensive transportation infrastructure, and ensuring effective management. Second, development of shipbuilding industry aims to construct shipyards capable of repairing and building medium-sized vessels. This entails constructing new shipyards with at least the capacity to repair vessels below the waterline, build medium-sized cargo ships, and support maintenance of large-sized cargo vessels. Next, development of land-based transportation connectivity to maritime routes aims to establish a railway system connecting ports throughout Thailand, linking all regions together. This involves creating new transportation routes by building railway connections to seaports and integrating them with the southern railway line. Last, development of port connectivity between the Andaman Sea and the Gulf of Thailand aims to have ค land bridge connecting the Thai sea with the rest of the world. This includes constructing land bridge that connects both sides of maritime transportation, incorporating road, rail, pipeline systems, and managing the surrounding areas along the route as a unified port zone, resembling a large-scale port with multiple docking points spread apart.ง