เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์บัญชาการทางทหาร สู่การเป็น SMART Organization, (วปอ.9779)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี จักรพงษ์ จันทร์เพ็งเพ็ญ, (วปอ.9779)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์บัญชาการทางทหารสู่การเป็น SMART Organization
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลตรี จักรพงษ์ จันทร์เพ็งเพ็ญ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพภารกิจ โครงสร้างและความพร้อม
ในการเป็น SMART Organization ของศูนย์บัญชาการทางทหาร ในปัจจุบัน 2) ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัย
ความพร้อมในการขับเคลื่อนศูนย์บัญชาการทางทหารเป็น SMART Organization และ 3) เสนอแนะ
แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์บัญชาการทางทหาร สู่การเป็น SMART Organization วิธีการวิจัย เป็น
การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้แทนกลุ่มผู้บริหารระดับ
เสนาธิการทหาร เจ้ากรม หรือผู้แทนจากกรมเสนาธิการทหารร่วมของศูนย์บัญชาการทางทหาร
ผู้แทนกลุ่มความร่วมมือของหน่วยงานราชการ และ ผู้แทนจากนักวิชาการ รวม 11 ราย เครื่องมือ
ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาความตามวัตถุประสงค์การ
วิจัย ผลการวิจัย 1) สภาพภารกิจ โครงสร้างและความพร้อมในการเป็น SMART Organization ของ
ศูนย์บัญชาการทางทหาร ในปัจจุบัน พบว่า สภาพภารกิจ ศูนย์บัญชาการทางทหาร มีภารกิจควบคุม
อำนวยการการใช้กำลังในการป้องกันราชอาณาจักร การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
การรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัตินโยบายชายแดนไทยกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน การปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม การต่อต้านการก่อการร้าย การ
ปฏิบัติการทางไซเบอร์ การปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยได้กำหนดระเบียบปฏิบัติ
ประจำให้สามารถปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถปรับระดับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์ สำหรับด้านความพร้อมมีการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาศูนย์บัญชาการทางทหาร
ให้สอดคล้องกับ Roadmap ของกองบัญชาการกองทัพไทย 2) ปัจจัยความพร้อมในการขับเคลื่อน
ศูนย์บัญชาการทางทหารเป็น SMART Organization พบว่า ปัจจัยความพร้อมในการเป็นองค์กร
อัจฉริยะ ประกอบด้วย (1) การเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (2) การเป็นองค์กร
ที่มีความอ่อนตัว ปรับใช้ได้ในหลายภารกิจ (3) เป็นองค์กรที่มีความพร้อมในการควบคุมบังคับบัญชา
ที่ทันสมัย ถูกต้อง แม่นยำ ทันเวลา (4) เป็นกองทัพในพระบรมเดชานุภาพจอมทัพไทย และ (5) เป็น
องค์กรที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ 3) แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์บัญชาการทางทหาร สู่การเป็น SMART
Organization พบว่า มี 5 ประการ คือ (1) กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน (2) การพัฒนา
นวัตกรรมและองค์ความรู้ (3) ระบบและวิธีการทำงาน (4) พัฒนาเทคโนโลยี และ (5) พัฒนา
สมรรถนะกำลังพลข
abstract:
Title Guidelines for Driving the Military Command Center to be a SMART
Organization
Field Military
Name Major General Jakkaphong Chanpengpen Course NDC Class 65
The three objectives of this research were 1) Study and analyze the
status of the mission, structure, and readiness to be a SMART Organization of the
current Military Command Center 2) Study and analyze readiness factors in driving
the Military Command Center to be a SMART Organization and 3) Propose a guideline
for driving the Military Command Center to be a SMART Organization. The research
method is qualitative research by collecting data from key informants consisting of
11 representatives from Chiefs of Staff – level military executive groups, Director
General or representatives from Joint Staff Command of the Military Command
Center, representatives from the government cooperation groups, and
representatives from academics. The research tool was in-depth interviews. The data
were analyzed using a description of the research objectives.
Research results
1. The results of the study and analysis on the status of the mission,
structure, and readiness to be a SMART Organization of the current Military
Command Center found that the Military Command Center has a mission to control
and direct the use of force in the defense of the Kingdom, maintaining domestic
order, maintaining state security, protecting national interests, implementing border
policies between Thailand and neighboring countries, as well as military operations in
addition to warfare, counter-terrorism, cyber operations, and other operations as
assigned, by setting up regular procedures that can be operated 24 hours a day and
can adjust the level of action in accordance with the situation. As for readiness, the
goal of developing the military command center has been set in line with the Royal
Thai Armed Forces Headquarters Roadmap.
2. From the results of the study and analysis of the readiness
factors in driving the Military Command Center to be a SMART Organization, it
was found that factors for readiness to be a smart organization consisted of (1) being
a strong, self-sustaining organization, (2) being a flexible organization capable of
adapting to many missions, (3) being an organization with modern, accurate and
timely command control, (4) be an army under His Majesty the King's command as ค
the Generalissimo of the Royal Thai Armed Forces, and (5) being a transparent and
verifiable organization.
3. The proposal for a guideline for driving the Military Command
Center to be a SMART Organization consists of 5 aspects, namely (1) setting a clear
vision and goals, (2) developing innovation and body of knowledge, (3) developing
systems and working methods, (4) developing technology, and (5) developing
manpower.ง