Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการโรงพยาบาลในสถานการณ์การโรคระบาดอุบัติใหม่ กรณีศึกษาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, (วปอ.9777)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก จรัสพงศ์ เกษมมงคล, (วปอ.9777)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการโรงพยาบาลในสถานการณ์โรคระบาดอุบัติใหม่ กรณีศึกษาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พันเอกจรัสพงศ์ เกษมมงคล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ โรคระบาดอุบัติใหม่เป็นภัยอันร้ายแรงก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและเศรษฐกิจอย่าง มหาศาล เมื่อเกิดการระบาดของโรคอุบัติใหม่ทุกครั้งการบริหารจัดการทางด้านสาธารณสุขทุกระดับมี ความสำคัญอย่างมากเพื่อป้องกัน รักษาและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการดังกล่าวต้องมีการปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมในช่วงสถานการณ์ นั้นๆ งานวิจัยฉบับนี้จึงทำการศึกษาถอดบทเรียนการบริหารจัดการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในช่วง สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-๑๙ เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการโรงพยาบาลที่สามารถ นำไปใช้ในการบริหารจัดการสถานการณ์การเกิดโรคระบาดอุบัติใหม่ในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ และนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการโรงพยาบาลรูปแบบใหม่ในสถานการณ์โรคระบาดอุบัติใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินการศึกษา ประกอบด้วย ๓ กลุ่ม คือ ผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วย ผู้ให้บริการทางการ แพทย์และผู้บริหาร ทำการศึกษาตั้งแต่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึง ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ดำเนินการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับการใช้ ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ผลการวิจัยจากการถอดบทเรียนประเด็นตามหลักการบริหาร POSDCoRB ที่ใช้ได้ดีใน การบริหารสถานการณ์ปกติมาดำเนินการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ เริ่มต้นด้วย การวางแผน (Planning) การจัดหน่วยงาน (Organizing) การจัดการด้านบุคคล (Staffing) การควบคุมสั่งการ (Directing) การประสานงาน (Coordinating) การรายงาน (Report) และการจัดการด้านงบประมาณ (Budgeting) แต่ทั้งนี้ในสถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่ที่โรงพยาบาลต้องมีด้วยคือ การบริหารอย่างต่อเนื่องโดยไม่สามารถหยุดการดำเนินงานเดิมทั้งหมด มารับมือเฉพาะสถานการณ์ และยังต้องกอบกู้สถานการณ์อย่างรวดเร็วอีกด้วย การบริหารในภาวะวิกฤติจึงมีข้อจำกัดเมื่อใช้ หลักการบริหาร POSDCoRB ผู้วิจัยจึงนำเสนอรูปแบบการบริหารในสถานการณ์วิกฤต ชื่อ PROMPT model ใช้ในการบริหารโรงพยาบาลในสถานการณ์การเกิดโรคอุบัติใหม่ประกอบด้วย การเตรียมการ (Prepare) การดำเนินการศึกษาทบทวน (Revision) การดำเนินการ (Operation) การวัดประเมินผล (Measurement) การพักฟื้นหลังการปฎิบัติการ (Post Operation) ขั้นตอนสุดท้ายปิดจบสถานการณ์ (Termination) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมการ การรับมือสถานการณ์ การปรับเปลี่ยนตามปัญหา ที่เปลี่ยนไปและเข้าสู่การปฏิบัติแบบใหม่ในที่สุดก

abstract:

Title Guidelines for Hospital Management in Novel Pandemic Situations: A Case Study of Phramongkutklao Hospital Field Social – Psychology Name Colonel Jaratphong Kasemmongkol Course. NDC. Class 65 The emergence of a novel pandemic disease poses a significant threat to both human life and the economy. Thus, it is crucial to prioritise and implement effective measures at all levels of public health management to prevent, treat, and control the spread of such diseases whenever there is an outbreak of a new disease. Management strategies must also adapt to advancements in technology and changes in situations. This research aims to extract lessons learned from the management of Phramongkutklao Hospital during the COVID-19 pandemic in order to analyse hospital management practises that can be effectively applied in future outbreaks of new pandemic diseases. Additionally, the study introduces an innovative model for hospital management in the context of pandemic outbreaks. The target groups for this study consist of three categories: patients/family members, medical staff, and administrators. The research was conducted from December 1, 2022, to May 31, 2023, utilising qualitative research methods, content analysis, and descriptive research methodologies. To guide the analysis in the context of the COVID-19 situation, the research employs the "POSDCoRB model", which is typically utilised in managing normal situations. This model encompasses various dimensions, namely Planning, Organising, Staffing, Directing, Coordinating, Reporting, and Budgeting. However, it is essential to recognise that during a pandemic outbreak, hospitals need to continuously manage the situation without halting all existing operations and swiftly respond to and recover from the crisis. Consequently, the limitations of the POSDCoRB model in crisis situations become evident. In light of this, the research proposes an innovative management model known as the "PROMPT model", specifically designed for effectively managing hospitals in the face of new pandemic outbreaks. The PROMPT model consists of six stages: Prepare, Revision, Operation, Measurement, Post-Operation, and Termination. ข This comprehensive model covers all stages, ranging from preparedness to responsive operations, in the face of changing circumstances during a novel pandemic outbreak. Ultimately, the PROMPT model serves as a new paradigm for hospital management.ก