เรื่อง: แนวทางการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย เพื่อศักยภาพทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน, (วปอ.9776)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวแคทลีน มาลีนนท์, (วปอ.9776)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย เพื่อศักยภาพ
ทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย ดร.แคทลีน มาลีนนท์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาแหล่งพลังงาน
หมุนเวียนของประเทศไทย วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนเพื่อความ
ยั่งยืน และเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย เพื่อศักยภาพทางการ
แข่งขันอย่างยั่งยืน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพลังงาน
หมุนเวียน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาแหล่ง
พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ปัญหาด้านกฎหมาย ประกาศ กฎ
หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานทดแทนที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ข้อจ ากัดของระบบสายส่งไฟฟ้า
ไม่สามารถรองรับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนได้เต็มศักยภาพที่ผลิตได้
ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการด าเนินงานโครงการพลังงานทดแทนในท้องถิ่น
เพื่อลดกระแสการต่อต้านจากชุมชน และขาดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการบริหารจัด
การพลังงานหมุนเวียน มีแนวทางการจัดการ ดังนี้1) การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและ
การใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง 2) การปรับมาตรการจูงใจส าหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้
เหมาะสมกับสถานการณ์3) การแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงาน
ทดแทน 4) การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ให้การไฟฟ้าเตรียมความพร้อมในการการขยาย และ
เพิ่มระบบสายส่งเพื่อรองรับพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งเตรียมการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid
5) การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน 6) การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็น
เครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร ในด้านแนวทางการพัฒนาแหล่ง
พลังงานหมุนเวียนเพื่อศักยภาพทางการแข่งขัน สามารถสรุปผลได้ใน 3 มิติ ได้แก่ 1) การใช้พลังงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศจากการจัดหาพลังงาน 2) การเสริมสร้าง
ความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ส่งเสริมการจัดหาพลังงานทดแทน การพัฒนาเทคโนโลยี
รูปแบบต่าง ๆ ที่สนับสนุนการจัดหาพลังงานให้มีประสิทธิภาพ มีต้นทุนต่ าลง และรองรับการจัดหา
พลังงานในอนาคต3) การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการ และยกระดับธรรมาภิบาล
ในธุรกิจพลังงาน เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการใช้และการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการ
การก ากับดูแล การลงทุนและการใช้ โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลดข้อขัดแย้งในสังคมข
abstract:
Title Guidelines for developing renewable energy sources in Thailand
for sustainable competitiveness
Field Science and Technology
Name Cathleen Maleenont, Ed.D. Course NDC Class 65
This study aimed to study the problems and obstacles for the
development of renewable energy sources in Thailand, to study the analysis of
approaches to developing renewable energy management for sustainability, and to
propose guidelines for developing renewable energy sources in Thailand for
sustainable competitiveness. The in-dept interview from stakeholders in renewable
energy management, including the public, private and community sectors. The
results revealed that the problems and obstacles in developing renewable energy
sources are as follows: Production costs are relatively high, problems with laws,
announcements, rules or regulations related to the renewable energy business that
are complicated limitations of the power transmission system unable to support the
purchase of electricity from power plants produced from renewable energy to their
full capacity, lack of publicity for people to participate in the operation of local
renewable energy projects to reduce the resistance from the community and lack of
continuous research and development. Management of renewable energy has the
following management approaches: 1) Encourage communities to participate in the
production and use of renewable energy widely. 2) Adjustment of incentives for
private investment to suit the situation. 3) Amendment of laws. and regulations that
are not conducive to renewable energy development. 4) Improving the infrastructure
to allow the EGAT to prepare for expanding and increasing the transmission system
to support increasing renewable energy, including preparing for the development of
the Smart Grid system. 5) publicity and building knowledge and understanding
among the people. 6) Promoting research as a tool for developing a comprehensive
renewable energy industry. Guidelines for developing renewable energy sources for
competitiveness the results can be summarized in 3 dimensions: 1) Efficient use of
energy and creating added value to the country's economy from energy
procurement; 2) Enhancing national energy security by promoting renewable energy
supply development of different technologies that support efficient energy supply. 3)
Efficient and integrated energy management and uplifting good governance in the
energy business to strike a balance between use and production increasing the
governance of energy infrastructure investments and utilization strengthens
stakeholder engagement and reduces social conflicts.ค