Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การบูรณาการฐานฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและท่าอากาศยานเพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน, (วปอ.9769)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายกิตติพงศ์ กิตติขจร, (วปอ.9769)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและท่าอากาศ ยาน เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายกิตติพงศ์ กิตติขจร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ งานวิจัยเรื่อง แนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและ ท่าอากาศยานเพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน ได้ถูกจัดท าขึ้น โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน อุปสรรค และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการ ฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และท่าอากาศยาน เพื่อศึกษาระบบการบูรณาการฐานข้อมูล ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและท่าอากาศยานและการรักษาความปลอดภัยข้อมูล และเพื่อเสนอ แนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและท่าอากาศยานเพื่อยกระดับมาตรฐาน การรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นการศึกษาปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง กับแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและท่าอากาศยานเพื่อยกระดับ มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน เพื่อใช้ในการศึกษาอบรมหลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วยการศึกษา เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นหลัก โดยน าผลจากการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มาใช้ประกอบการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ด าเนินการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษา ภาคสนาม (Field Study) ได้แก่ สภาพปัญหาปัจจุบัน อุปสรรค และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการ ฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและท่าอากาศยาน เป็นต้น ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยการ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม (Questionnaire) น ามาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ด้วยโปรแกรมส าเร็จรูปจากคอมพิวเตอร์ ตลอดจนข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร (Document Study) ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและ ท่าอากาศยานเพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานเป็นการเชื่อมโยงข้อมูล ที่ส าคัญระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการแบ่งปันข้อมูลที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อสาธารณะท่าอากาศยานสามารถน าไปสร้างชุดข้อมูลใหม่เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานภาครัฐซึ่งปฏิบัติงานภายในท่าอากาศยานผนึกก าลังให้เป็นหนึ่งเดียว ทั้งนี้ การน าชุด ข้อมูลในทุกมิติมาวิเคราะห์วางแผนและตัดสินใจในเชิงนโยบายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัย และเป็นการยกระดับการให้บริการท่าอากาศยานของไทย สู่ระดับสากล ผลจากการวิจัยนี้ นักวิจัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถน าไปพัฒนา ต่อยอดการบูรณาการข้อมูลร่วมกันระหว่างท่าอากาศยานในการก ากับดูแลของกรมท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานของบริษัทการบินกรุงเทพ (PG) และท่าอากาศยานอู่ตะเภากองทัพเรือให้สามารถ ผนึกก าลังด้านข้อมูลการบริการ ด้านความมั่นคง และเพื่อประโยชน์ในภาพรวมด้านการรักษา ความปลอดภัยของท่าอากาศยานไทยต่อไปข

abstract:

Title Guidelines for Integrating Databases Between Government Agencies and Airports to Enhance Aviation Security Standards Field Science and Technology Name Mr. Kittipong Kittikachorn Course NDC Class 65 This research aims to study current problems, obstacles and factors related to database integration between government agencies and airport, also to study the database integration system between government agencies and airports and to recommend guidelines for integrating databases between government agencies and airports to enhance aviation security standards. This research uses a mixed research method which focus on qualitative researchThis research also uses quantitativeresearch to analyze the relevant factors, conducting data collection from field studies, including current problems, obstacles, and factors related to database integration between government agencies and airports. Furthermore, this research uses in-depth interviews with content analysis and data from questionnaire to analyze personal data with descriptive statistics, including percentage, arithmetic mean and standard deviation with a computer program and collecting information from the document study. The results present that the guidelines for integrating databases between government agencies and airports to enhance aviation security standards is receiving information from government agencies. It can be considered as sharing information between government agencies and airports. Then, airports can rebuild the dataset to gain in-depth information for the operations within the airport. The use of datasets in all dimensions to analyze, plan and make policy decisions will increase the efficiency of security operations. This research can be used to further developing data integration between Airports of Thailand and other airports such as airports under Department of Airports, Bangkok Airways and U-Tapao International Airport of Royal Thai Navy to be able to the benefit of the overall aviation security of the Airports of Thailand in the future.ค