เรื่อง: การออกแบบสถานีรถไฟฟ้าในเขตเมือง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต, (วปอ.9768)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายกิตติกร ตันเปาว์, (วปอ.9768)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การออกแบบสถานีรถไฟฟ้าในเขตเมือง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและ
การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายกิตติกร ตันเปาว์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการออกแบบสถานีของโครงการ
รถไฟฟ้าในเมือง เพื่อรองรับวิถีการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ และตอบสนองความต้องการของสังคมเมือง
ที่เปลี่ยนไปเป็นมิตรกับบริบทของสังคมโดยรอบ โดยมุ่งเน้นการการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้
ในการออกแบบ รวมถึงการออกแบบจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานีรถไฟฟ้าเพื่อความเท่าเทียม
โดยมีขอบเขตงานวิจัย เพื่อศึกษาวิเคราะห์ ปัญหา ข้อจำกัด อุปสรรค และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการ
ออกแบบสถานีของโครงการรถฟ้าในอดีต รวมถึงการศึกษาแนวทางการออกแบบสถานีรถไฟฟ้าใน
ต่างประเทศ และเสนอแนวทางการออกแบบสถานีรถไฟฟ้าในอนาคต
ผลจากการวิจัยพบว่า (๑) การออกแบบสถานีของโครงการรถไฟฟ้าในอดีตมีปัญหา
ข้อจำกัด และอุปสรรคทั้งในด้านพื้นที่ มาตรฐาน ระเบียบ และกฎหมาย รวมไปถึงข้อจำกัดด้านการ
เลือกใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยี (๒) แนวทางการออกแบบสถานีรถไฟฟ้าในต่างประเทศ มีการออกแบบ
สถานีและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบไปพร้อมกัน ทำให้เกิดความสอดคล้องต่อบริบทของเมืองและพื้นที่
บริเวณที่อยู่ติดกัน โดยการใช้หลักการ Universal Design ร่วมกับการพัฒนาเป็นอาคารแบบ Mixed-Use
เพื่อดึงความสนใจของประชาชน และเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (๓) แนวทางการออกแบบ
สถานีรถไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งมีหลักการออกแบบที่สอดคล้องกับนโยบาย และเป้าหมายการพัฒนาใน
ภาพรวมของประเทศ โดยหลักสำคัญในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในไทย ได้แก่ การขนส่งที่ปลอดภัย
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Safe Transport) การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ (Transport
Efficiency) และระบบคมนาคมขนส่งที่เข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม (Inclusive Transport)
ดังนั้น การออกแบบสถานีรถไฟฟ้าในอนาคต ต้องมีการเพิ่มเติมพื้นที่ที่มีการใช้งาน
ที่หลากหลายที่สนับสนุนและเกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้า ภายใต้แนวความคิดเรื่อง Transit Oriented
Development : TOD และการพื้นที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ (Intermodal Transfer
Facilities : ITF) โดยควรมีกฎหมายที่สนับสนุนให้หน่วยงานสามารถพัฒนาพื้นที่หรือดำเนินการทำ
กิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องได้ และสนับสนุนให้มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงควรมีการนำ
เทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคตข
abstract:
Title Designing an Urban Railway Station for Future Adaptation and
Sustainable Development.
Field Economics
Name Mr. Kittikorn Tanpao Course NDC. Class 65
The objective of this research is to study the development guidelines for
designing urban rail station projects, aiming to accommodate new lifestyles and
responding the changing needs of urban societies in a holistic context. The focus is
on integrating technology and innovation into the design process, as well as
preparing convenient amenities in the rail stations for equal accessibility. The
research scope is to study the analysis of problems, limitations, obstacles, and
factors related to the design of previous rail station projects. Additionally, it involves
studying design guidelines for metro stations in different countries and proposing
design approaches for future metro station projects.
Study results revealed that (1) Designing metro stations in past projects
encountered problems, limitations, and obstacles related to various aspects such as
space, standards, regulations, and laws. Additionally, there were limitations in the
adoption of innovative technologies and solutions. (2) Design guidelines for train
stations in foreign countries emphasize the simultaneous design of the station and
the development of the surrounding area, ensuring harmonization with the urban
and surrounding context. By utilizing the principles of Universal Design in conjunction
with the development of mixed-use buildings, the aim is to attract public interest
and optimize the utilization of space for maximum benefit. (3) The design of future
train stations aligns with the overall development goals and policies of the country,
focusing on key aspects of transportation development in Thailand, such as safe and
environmentally friendly transportation (Green and Safe Transport), efficient
transportation (Transport Efficiency), and inclusive transportation systems that
provide equal access (Inclusive Transport).
Therefore, the design of future train stations should consider additional
multi-functional spaces related to rail projects, following the principles of TransitOriented Development (TOD) and connecting with other mass transit systems
through Intermodal Transfer Facilities (ITF). Supportive legislation should be in place
to enable agencies to develop and engage in related activities while promoting the ค
use of environmentally friendly materials. Additionally, incorporating technology is
crucial to accommodate sustainable changes and future development.ง