เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดินส่งกระสุนเพื่อการพึ่งพาตนเอง, (วปอ.9765)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี กานต์นาท นิกรยานนท์, (วปอ.9765)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดินส่งกระสุนเพื่อการพึ่งพาตนเอง
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย พลตรีกานต์นาท นิกรยานนท์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
กระทรวงกลาโหมจัดตั้งโรงงานผลิตดินส่งกระสุนภายในประเทศ ให้กับเหล่าทัพในการที่จะผลิต
ยุทโธปกรณ์ใช้ในการฝึกและการรบ ต่อมาเหล่าทัพมีความต้องการดินส่งกระสุนในคุณสมบัติที่แตกต่าง
ออกไป และหันไปสั่งซื้อดินส่งกระสุนจากต่างประเทศเป็นการทดแทน ดังนั้น ในปี พ.ศ.2566
กระทรวงกลาโหม จึงอนุมัติให้โรงงานวัตถุระเบิดทหารฯ สร้างโรงงานผลิตดินส่งกระสุนแบบเม็ดกลม ที่มี
คุณสมบัติตรงกับความต้องการของเหล่าทัพ แต่ยังคงติดปัญหาทางด้านราคาที่ยังคงสูงกว่าการสั่งซื้อ
จากต่างประเทศ สาเหตุจากปริมาณการผลิตที่จำกัด ทำให้ค่าโสหุ้ยทางการผลิตต่อหน่วยสูง และ
วัตถุดิบที่ใช้จำต้องจัดหาได้จากต่างประเทศเท่านั้น
การวิเคราะห์ปัญหาของโรงงานวัตถุระเบิดทหารฯ อีกส่วนหนึ่งประกอบไปด้วย
การขาดการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร การขาดแคลนบุคลากร
ด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในส่วนผู้ควบคุมงาน และการขาดแคลนผู้ปฏิบัติงานผู้เชี่ยวชาญ
ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการวิจัยและพัฒนา
ผู้วิจัยจึงสังเคราะห์แนวทางทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดินส่งกระสุนเพื่อการ
พึ่งพาตนเอง จัดทำเป็นกรอบยุทธศาสตร์ระยะยาว กำหนดวิสัยทัศน์ “มุ่งสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อน
ด้วยปัญญาและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของประเทศ” เป็นยุทธศาสตร์10 ปี ประกอบด้วย 1. การปฏิรูป
อุตสาหกรรมการผลิตดินส่งกระสุนสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา 2. การปฏิรูปนิเวศ
อุตสาหกรรมรองรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา และ 3. การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการผลิต
ดินส่งกระสุนเข้ากับระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ดำเนินการตาม ยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 2 เป็นการดำเนินงานใน 5 ปีแรก ส่วน 5 ปีหลัง
ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ที่การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการผลิตดินส่งกระสุนเข้ากับระบบเศรษฐกิจ
ของประเทศ ควบคู่ไปกับการดำเนินงานใน 5 ปี แรกกำหนดแผนที่นำทาง(Roadmap) เพื่อดำเนินงานตาม
ยุทธศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ข
abstract:
Title The Strategy of Propellant Powder Production for Self-reliance
Field Economics
Name Major General Kantnat Nikornyanont Course NDC Class 65
The Ministry of Defense established a propellant powder production plant
for the army to produce weapons used in training and combat. Subsequently, the army
had various requirements and order ammunition powder from abroad as a replacement.
Therefore, in 2023, the Ministry of Defense has approved the MilitaryExplosives Factory (MEF)
to set up a new powder production plant using ball-shaped technology, for specific
requirements.But the products will be more expensive than ordering from abroad. Due
to the limited production volume, the production overheads per unit is high and the
raw materials that must be ordered from abroad only.
The part of problem consists of the frequent changes in management
causing the discontinuous management. The shortage supervisors in engineering and
science field and a shortage of skilled operators have affected to the production and
research and development.
Therefore, the researcher synthesized “The Strategy of Propellant Powder
Production for Self-reliance” and formulated a 10-year long-term strategic framework.
The vision is “Industry driven by intelligence and connected to the country economy”.
The strategy consistsof (1) reforming a propellant powder industry into an intelligencedriven industries, (2) industrial ecosystem reform supports intelligence-driven industries,
and (3) connect the propellant powder industry with the country 's economic system
Implementation of the first and second strategy are operation in the first
five years. Five years later, implementing the third strategy that connects the propellant
powder industry with the country's economic system along with operations in the first
five years. Determine roadmaps to implement strategies to achieve objectives.ค