เรื่อง: การสร้างความเชื่อมั่นและผูกผันในองค์กร, (วปอ.9761)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี กฤตพันธุ์ รักใคร่, (วปอ.9761)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การสร้างความเชื่อมั่นและความผูกพันต่อกองทัพไทยของกำลังพลที่เข้ารับ
ราชการใหม่ของสำนักสวัสดิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
กรณีศึกษา : สำนักสวัสดิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย พลตรี กฤตพันธุ์ รักใคร่ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
การศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างความเชื่อมั่นและความผูกพันต่อกองทัพไทยของกำลังพล
ที่เข้ารับราชการใหม่ของสำนักสวัสดิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลกระทบ ความสำคัญ ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นและความผูกพันต่อกองทัพไทย
ของกำลังพลที่เข้ารับราชการใหม่ของสำนักสวัสดิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และเพื่อเสนอ
แนวทางการสร้างความเชื่อมั่นและความผูกพันต่อกองทัพไทยของกำลังพลของกองบัญชาการ
กองทัพไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ
ในการเก็บข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาในกองทัพไทย
ระดับรองผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง รองผู้อำนวยการกอง และกำลังพลที่เข้ารับราชการ
ใหม่ของสำนักสวัสดิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
ผลการวิจัยแนวทางการสร้างความเชื่อมั่นและความผูกพันต่อกองทัพไทยของกำลังพล
ที่เข้ารับราชการใหม่ของสำนักสวัสดิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย สรุปได้ดังนี้
๑. การมีส่วนร่วมของกำลังพล เป็นกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทั้งผู้บังคับบัญชา
และกำลังพลที่ปฏิบัติงานมุ่งเน้นให้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่ายเป็นการทำงาน
๒. การกระจายอำนาจในหน่วยงาน สายการบังคับบัญชาที่สั้นลงเพิ่มความคล่องตัว
และความรวดเร็วในการทำงาน
๓. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเสริมการทำงาน ทำให้งานสามารถจัดรูปแบบ
อย่างกระทัดรัด มีผู้รับผิดชอบ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทน
๔. ผู้บังคับบัญชาต้องมีจริยธรรม
๕. บริหารงานแบบมีคุณธรรม
๖. การควบคุมและแผนกำลังพล เพื่อให้หน่วยงานมีการควบคุมกำลังพลตั้งแต่บรรจุ
จนกระทั่งพ้นจากราชการได้อย่างถูกต้องตามความรู้ความสามารถ ความถนัด ประสบการณ์ มีความ
สอดคล้องกับการบรรจุลงตำแหน่งข
ทั้งนี้ผลจากการวิจัยนำไปสู่การเสนอแนะโมเดลการสร้างความเชื่อมั่นและความผูกพัน
ต่อกองทัพไทยของกำลังพลที่เข้ารับราชการใหม่ของสำนักสวัสดิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
เพื่อขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาการสร้างแรงจูงใจและความเชื่อมั่นรวมทั้ง
ความจงรักภักดีต่อองค์กรของกำลังพลที่เข้าใหม่ ได้แก่ DEMPI HR Model
D : Decentralization (การกระจายอำนาจในหน่วยงาน)
E : Ethics (ผู้บังคับบัญชาต้องมีจริยธรรม)
M : Moral (บริหารงานแบบมีคุณธรรม)
P : Participation (การมีส่วนร่วมของกำลังพล)
I : Information (การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเสริมการทำงาน)
HR : Human Resources (การควบคุมและแผนกำลังพล) ค
abstract:
Title Building the Recruits’ Confidence and Bonding in Royal Thai
Armed Forces : Case Study : Office of Welfare, Royal Thai
Armed Forces Headquarters
Field Social Psychology
Name Major General Krittaphun Luckklai Course NDC Class 65
The research “Building Confidence and Bonding in Royal Thai Armed
Forces of the Recruits at the Office of Welfare, Royal Thai Armed Forces
Headquarters” is aimed to study the effects, significance, and factors affecting the
confidence and bonding in the Royal Thai Armed Forces of the recruits who newly
enlisted in the Office of Welfare, Royal Thai Armed Forces Headquarters (RTARF HQ),
and to suggest the guidelines for building the confidence and bonding of the
personnel towards the Royal Thai Armed Forces, and to provide with the guidelines
on the confidence and bonding building. This research is a qualitative research which
was generated by interviewing to collect data. The population in this study was
divided into two groups: the commanders of the RTARF HQ at the level of deputy
director, division director deputy director of divisions and the recruits of the Office of
Welfare, RTARF HQ.
The conclusions of the research’s result are:
1. The personnel’s participation is the process which is related to both
the commanders and the personnel which focuses on gaining the acceptance from
every party in aspect of work.
2. Decentralization in the organizations increases agility and speed of work.
3. Technologies brought to support working allow compact format of work
with responsible persons. Replacing technologies help and increase efficiency of
working.
4. Commanders must have ethics.
5. Manage works with moral.
6. Personnel control and plan is required to manage personnel from enlist
to retirement with suitability as to knowledge, skills, and experiences consistent with
the positions.ง
In order that, the result has brought to a model to build the
confidence and bonding in RTARF HQ of the Office of Welfare’s recruits which can
magnify outcomes to other units having difficulty building motivations confidence
and loyalty among their recruits. The model is “DEMPI HR Model” DEMPI HR
stands for
D : Decentralization (decentralisation in organizations)
E : Ethics (Commanders must have ethics.)
M : Moral (work management with moral)
P : Participation (participation of personnel)
I : Information (utilize Information Technology to support working)
HR : Human Resources (personnel control and plan)จ