Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: สมรรถนะของนักเรียนทหารเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสงครามลูกผสมThe Military Student Competencies in Preparation for Hybrid Warfare

หมวดหมู่:
งานวิชาการ
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
ศูนย์นวัตกรรมและความเชี่ยวชาญทางทหาร โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
หน่วยงานเจ้าของ:
โรงเรียนเตรียมทหาร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
47
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

1. ที่มาและความส าคัญ ความเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้กองทัพเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ ซึ่งแสดงถึง ความจ าเป็นที่กองทัพต้องมีก าลังพลที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงในปฏิบัติการต่าง ๆ ได้ อย่างรวดเร็วเพื่อการสู้รบไปจนถึงการรักษาความมั่นคง (Budd & Harvey, 2006) ดังนั้นเพื่อเป็นการจัดการ กับความท้าทายเหล่านี้หน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านการฝึก และ การศึกษาของกองทัพจึงนิยมน าแนวทางการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Center) และเน้นสมรรถนะ (Competency) มาใช้ในการจัดการ เรียนการสอน (Shavelson, 2010; Van, 1997) สมรรถนะทางทหารส าหรับสงครามลูกผสม เป็นหัวข้อที่ส าคัญในการปรับปรุงสมรรถนะของนักเรียนทหาร ซึ่งกรอบของสมรรถนะที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอาจใช้เป็นรากฐานของกระบวนการพัฒนาในกองทัพ (Loukou, 2022; Ledet, 2022; Malimon, 2022) เอกสารหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่าสมรรถนะเฉพาะทางทหารที่ได้รับจาก การฝึกและศึกษาอย่างดีจะช่วยพัฒนาให้ทหารมีความว่องไว, ปรับตัวได้, และมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่งผล โดยตรงต่อประสิทธิภาพในสถานการณ์การปฏิบัติงานในสงครามร่วมสมัย(Army, U. S. FM 6-22, 2015; McElhatton, 2014; Office of the Chief Information Officer, U. S., 2020; Office of the Chief Information Officer, U. S., 2017) นอกจากนี้จากการศึกษาโดย Rones และคณะ (2015) พบว่าหลักสูตรการพัฒนา ลักษณะนิสัยทางทหารในกองทัพมีผลกระทบเชิงบวกต่อความเป็นผู้น า, ความยืดหยุ่น, และการใช้เหตุผล ทางศีลธรรม สอดคล้องกับการศึกษาของ Sapol (2013) ที่ได้เน้นย ้าถึงความส าคัญของลักษณะนิสัย เช่น ความกล้าหาญ, ความมีวินัยในตนเอง, และความจงรักภักดีของทหาร ซึ่งท าให้กองทัพมีก าลังพลที่พร้อมสู้ รบตลอดจนพร้อมที่จะปฏิบัติการรักษาความมั่นคงในสถานการณ์ที่มีความผันผวนสูง ดังนั้นการศึกษาและออกแบบสมรรถนะของนักเรียนทหารเพื่อเตรียมความพร้อมส าหรับสงครามลูกผสม จึง มีความส าคัญอย่างยิ่งในการระบุข้อก าหนดด้านความสามารถของทหาร ผลลัพธ์จากการศึกษานี้จะเป็น แนวทางของการจัดการศึกษาในโรงเรียนทหาร หรือ หลักสูตรการฝึกอบรมต่าง ๆ ของกองทัพ เพื่อสร้าง ความพร้อมในการเผชิญความท้าทายของสงครามลูกผสม อันเป็นบทบาทที่ส าคัญของกองทัพในการรับรอง ความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศด้วยการเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพ

abstract:

-