เรื่อง: แนวทางของกองทัพไทยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ธรรมนูญ เชี่ยวการปราบ
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2557
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางของกองทัพไทย ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนว
พระราชด าริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย พลตรี ธรรมนูญ เชี่ยวการปราบ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่57
เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกองทัพ
ไทยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระราชด าริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมไปถึงปัญหาและแนว
ทางการแก้ไขปัญหา เพื่อเป็นข้อมูลส าคัญในการน าไปสู่การพัฒนาการด าเนินงานให้ตอบสนองต่อแผน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ.2557 -2560) ให้ประสบความส าเร็จซึ่งเป็น
การศึกษาในลักษณะของการวิจัยเชิงปริมาณโดยศึกษาจากระดับความรู้ ความเข้าใจตลอดจนความพึงพอใจ
ในหลักแนวพระราชด าริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับการเผยแพร่จาก ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ
พอเพียงที่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาจัดตั้งขึ้น โดยการเก็บข้อมูลจากประชาชนเฉพาะผู้ที่เคยใช้บริการ
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจ านวน 400
คน ด้วยแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยทั้งค าถามปลายปิดและปลายเปิดในห้วงเวลาตั้งแต่ 1 ม.ค. 2558 -
31 มี.ค. 2558 และรับเก็บคืนเพื่อน ามาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลและน าผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูล
ส าคัญในการสนทนากลุ่มผู้บริหาร โดยน าผลการประชุมกลุ่มที่ได้มาสรุปผล โดยผู้วิจัยจะวิเคราะห์ข้อมูลจาก
แบบสอบถามโดยการใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบค าถามเกี่ยวกับความรู้ด้านปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และการน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ถูกต้อง
ในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 88.4 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ความรู้ระดับสูงมาก และ ความพึงพอใจในการน าหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับการอบรม ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในภาพรวมอยู่ใน
ระดับสูง อีกทั้งแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลข้อคิดเห็นในการพัฒนา ที่ควร
มีการปรับปรุงในเรื่อง เพิ่มทักษะความรู้ความสามารถของวิทยากรตลอดจนควรก าหนดมาตรฐานของศูนย์
การเรียนรู้ดังกล่าวเพื่อให้ศูนย์การเรียนรู้ มีการปรับปรุงให้ทันสมัยและมีความน่าสนใจเพื่อให้ผู้เข้าชมเกิด
แนวความคิดหลากหลายมากขึ้นในการที่จะน ากิจกรรมที่ได้เรียนรู้ไปใช้ เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใน
ชีวิตประจ าวัน
ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจคือ ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรที่จะศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของศูนย์การ
เรียนรู้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ของกองทัพไทย จัดตั้งขึ้น เพื่อน าผลที่ได้มาสู่การบูรณาการ เป็นแนวทางที่
สมบูรณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวพระราชด าริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
abstract:
Abstract
Title: Royal Thai Armed Forces practices regarding quality - of - life
improvement based on the Royal Initiative of the Sufficiency
Economy Philosophy
Field: Social - Psychology
Author: Major General Tamanoon Chievkarnparb Course NDC Class 57
The objective of this research is to study the efficiency of practices that the
Royal Thai Armed Forces follow to develop the people’s quality of life based on Royal
Sufficiency Economy Philosophy. The results of this research will be taken as key
information to ensure that the military project to improve the people’s quality of life is
in line with the Strategic Development Plan according to the Sufficiency Economy
Philosophy (BE 2557 - 2560). The study was conducted by means of quantitative
research to discover the knowledge, understanding, and satisfaction levels that people
have with regard to the Royal Sufficiency Economy Philosophy, which was promoted
by the Sufficiency Economy Learning Center, established by the Armed Forces
Development Command. The data was collected through questionnaires containing
both open -ended and close-ended questions, which were answered by 400 users of
His Majesty's 84 th Birthday Anniversary Chalermphrakiat Learning Center.
The results of this study show that the overall subjects could answer 88.4 %
of all the questions about the knowledge and the use of sufficiency economy
philosophy that they had received from the Sufficiency Economy Learning Center,
showing that they had very high level of such knowledge. This is to make the learning
center more updated and more interesting to the users who might be able to apply
the knowledge in their daily life so as to reduce the expenses and increase the income.
There are some recommendations for the further research. Firstly, there
should be more study of other learning centers established by the Royal Thai Armed
Forces. Then, the results thereof should be integrated to create more complete
guidelines which can be employed to enhance the quality of life among people
according to the Royal Sufficiency Economy Philosophy.