Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวมในพื้นที่ชายแดนด้านตะวันตกภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, (วปอ.9224)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก ชัยรัตน์ ถืออยู่, (วปอ.9224)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2563
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม ในพื้นที่ชายแดนด้านตะวันตกภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พันเอก ชัยรัตน์ ถืออยู่ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๓ การศึกษาเรื่อง “แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวมใน พื้นที่ชายแดนด้านตะวันตกภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกที่หน่วยงานด้าน ความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนฝั่งตะวันตกใช้อยู่ในปัจจุบัน รูปแบบของปัญหาภัยคุกคาม ปัญหาอุปสรรคและ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภัยคุกคามความมั่นคงแบบ องค์รวมในพื้นที่ชายแดนฝั่งตะวันตก ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้แก่หน่วยงานความมั่นคงและ ส่วนราชการอื่น ๆ ในพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่า กลไกที่ใช้ในการบริหารจัดการภัยคุกคามความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน ฝั่งตะวันตก ประกอบด้วย กลไกระดับยุทธศาสตร์/นโยบาย/แผนงาน กลไกระดับหน่วยงานขับเคลื่อน และ กลไกระดับคณะทำงาน/ผู้ปฏิบัติ ส่วนปัญหาภัยคุกคามความมั่นคงในพื้นที่ ได้แก่ การปักปันเขตแดน ระหว่างประเทศไทยและเมียนมาที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ปัญหายาเสพติดซึ่งมีวิธีการลักลอบลำเลียง หลายรูปแบบผ่านช่องทางธรรมชาติหลายช่องทาง สถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิดและการสู่รบ ระหว่างรัฐบาลเมียนมาและชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ ส่งผลทำให้มีผู้หลี้ภัยลักลอบเดินทางเข้ามายังฝั่งไทย ปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายเพื่อขายแรงงานที่ยังคงไม่สามารถทราบถึงจำนวนที่แน่นอน การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ชายแดนที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น การลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายหรือ สินค้าหนีภาษีเข้ามาในฝั่งไทย และการบุกรุกพื้นที่ป่าอุทยานและพื้นที่ราชพัสดุเพื่อทำการเกษตรและ นำไปทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยังคงมีอยู่ในถึงปัจจุบัน ส่วนปัญหาอุปสรรคใน ด้านกำลังคน การที่ไม่มี ระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการขาดขวัญกำลังใจและสิ่งที่จูงใจในการปฏิบัติภารกิจ ด้าน งบประมาณ การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจ การเบิกจ่ายมีระเบียบและขั้นตอนที่ ซับซ้อนหลายขั้นตอน ด้านวัสดุอุปกรณ์การจัดหา/จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ไม่สอดคล้อง ไม่เพียงพอ และ ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย และ ด้านการบริหารจัดการ การกำหนดแผนการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับ สถานการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และไม่มีระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่ชัดเจน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย กล่าวคือ ๑) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบ ต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนฝั่งตะวันตก ควรนำแนวคิดการแก้ไขปัญหา ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำมาใช้อย่างเป็นระบบ และแนวทางการรู้รับ ปรับตัว ฟื้นตัวเร็ว อย่างยั่งยืน ภายใต้หลักการจัดการ โดยมุ่งเน้นการวางกลยุทธ์/ยุทธวิธีในการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งบูรณาการการดำเนินงาน และข บูรณาการฐานข้อมูลกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พัฒนาและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด อีกทั้งควร มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการอำนวยการ กำกับการ ประสานงาน ติดตาม ประเมินผล และสั่งการในการ แก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ภายใต้แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง ๒) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการปัญหาภัยคุกคามความมั่นคง แบบองค์รวมในพื้นที่ชายแดนฝั่งตะวันตก ควรมีการบูรณาการฐานข้อมูลและกลไกการบริหารจัดการ ความมั่นคงในพื้นที่ โดยกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่เป็นรูปธรรม ๓) แนวทางการเสริมสร้าง ประสิทธิภาพขององค์กร/หน่วยงานความมั่นคงควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการติดต่อประสานงาน ระหว่างหน่วยงานความมั่นคงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง การจัดสรรอัตรากำลังและอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ให้เพียงพอและเหมาะสมกับภารกิจ และปรับปรุงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ของปัญหาใน และ ๔) ประสิทธิภาพการทำงาน ควรให้ความสำคัญในเรื่องประสิทธิภาพ ของบุคคล ต้นทุนการผลิต และกระบวนการบริหารจัดการภารกิจ

abstract:

Abstract Title Approaches for developing a holistic security management system in the western border areas under the 20-year national strategy Field Strategic Name Col.Chairat Theuyoo Course NDC Class 63 Position Deputy Director, Office of the Minister of Defence The study subject “A Guidelines for the Development of a Holistic Security Management System in the Western Frontier Areas under the Twenty-Year National Strategy” aims to study the mechanisms currently used by security agencies in the western border areas. Forms of Threat Issues Obstacles and consequences as well as guidelines for developing a holistic security threat management system in the western border areas. under the 20-year national strategy for security agencies and other government agencies in the area The results of the study revealed that the mechanisms used in the management of security threats in the western border areas consisted of strategic policy programme￾level mechanisms. Mechanism at the driving unit level and mechanism at the working group operator level. As for the problem of security threats in the area, such as the demarcation of the border between Thailand and Myanmar that has not yet been agreed upon. The problem of drug trafficking in which there are many types of smuggling methods through many natural channels. Conflicts of opinion and conflicts between the Myanmar government and various ethnic minority groups have resulted in the smuggling of refugees into the Thai side. The problem of illegal immigration to sell workers who still cannot know the exact amount. The rate of illegal deforestation in border areas is increasing. Smuggling of illegal goods or escaping goods into Thailand and the encroachment of forest areas, parks, and state property for agriculture and making them a tourist attraction still exists to the present. As for the problems and obstacles in manpower, the lack of human resource development system and lack of morale and incentives for the performance of the mission. Budget allocation of the budget is insufficient to carry out the mission. Disbursement has many complex procedures and ง procedures. material and equipment The procurement/procurement of materials and equipment is inconsistent, insufficient, and lacks modern technology and management. The formulation of the action plan is inconsistent with the situation of the problem in the area. and there is no clear performance evaluation system. Recommendations obtained from the research are: 1) preventing and solving problems affecting security in the western border areas; The idea of solving problems should be adopted. from upstream, midstream and downstream to be used systematically and guidelines for recognition, adaptation, rapid recovery, and sustainability under management principles By focusing on strategy / tactics to prevent and solve problems. including the integration of operations; and Integrate the database with relevant government agencies. Develop and enforce laws strictly It should also aim to increase the capacity in directing, directing, coordinating, monitoring, evaluating and directing the resolution of internal security problems in accordance with the stated goals. under the master plan under the national strategy Security issues 2) Development of mechanisms for holistic management of security threats in the western border areas There should be an integrated database and security management mechanism in the area. by setting clear concrete goals and indicators; 3 ) guidelines for enhancing the efficiency of organizations/security agencies; Should focus on the importance of coordination between security agencies and relevant government agencies. The allocation of manpower and equipment is sufficient and appropriate for the mission. and update rules, regulations and regulations in accordance with the situation of the problem; and 4 ) performance. Should focus on the efficiency of the person. production cost and the mission management process