เรื่อง: แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยจากวิกฤติ covid-19, (วปอ.9216)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, หม่อมหลวง จีรเดช จักรพันธุ์, (วปอ.9216)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2563
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยจากวิกฤต COVID-19
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย หม่อมหลวง จีรเดช จักรพันธุ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่63
ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาส าคัญของไทยที่จ าเป็นต้องเร่งแก้ไข การวิจัยเรื่อง
“แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยจากวิกฤต COVID-19” จึงถูกจัดท าขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
ในการวิจัย ดังนี้1) เพื่อศึกษาสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยก่อนที่จะเกิดวิกฤต COVID-19
2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบของวิกฤต COVID-19 ต่อปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย และ 3) เพื่อเสนอ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว โดยเป็นการศึกษาปัจจัยหลัก
ที่ส่งผลต่อปัญหาหนี้ครัวเรือน 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านรายได้ และปัจจัยด้านภาระหนี้ครัวเรือน
และเป็นการรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ทั้งข้อมูลปฐมภูมิ
ได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจากธนาคารแห่งประเทศไทย และข้อมูลทุติยภูมิ
ได้แก่ ข้อมูลการส ารวจฐานะทางการเงินของครัวเรือนไทยของส านักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูลเงินให้
กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนของธนาคารแห่งประเทศไทย และต าราและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการ
วิเคราะห์เปรียบเทียบและสังเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎีหลักการ และประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งในและ
ต่างประเทศ ทั้งนี้ผลจากการศึกษาพบว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 โดยวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบให้ปัญหาหนี้ครัวเรือน
ของไทยยิ่งทวีความรุนแรงและน่าเป็นกังวลมากขึ้น จากทั้งรายได้ครัวเรือนที่ลดลงและหนี้ครัวเรือนที่
ยังอยู่ในระดับสูง โดยมาตรการเพื่อเยียวยาปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยในระยะสั้น ได้แก่ การให้ความ
ช่วยเหลือด้านรายได้ของครัวเรือน และการบรรเทาภาระหนี้เช่น มาตรการพักช าระหนี้ การปรับลด
อัตราดอกเบี้ย และการปรับโครงสร้างหนี้เป็นต้น ขณะที่แนวนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย
ในระยะยาว ได้แก่ 1) การให้ความส าคัญกับการยกระดับรายได้ของครัวเรือนควบคู่ไปกับการสร้าง
โอกาสและความเสมอภาคทางสังคมผ่านทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ2) การสร้างความรู้และวินัยทางการเงินแก่ภาคครัวเรือน 3) การปรับโครงสร้างหนี้
ครัวเรือนระยะยาว 4) การส่งเสริมการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบของสถาบันการเงิน
5) การก ากับสถาบันการเงินเพื่อดูแลระบบเศรษฐกิจ (Macroprudential) และ 6) การเพิ่ม
ประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาด้วยการยกระดับคุณภาพของข้อมูลสินเชื่อและรายได้
abstract:
Abstract
Title Policy Recommendations for Thailand’s Household Debt Problem
during the COVID-19 Crisis
Field Economics
Name ML.Chiradej Chakrabandhu Couse NDC Class 63
Household Debt is one of the alarming issues in Thailand that need
urgent solutions. In this research, we explored the Thai household debt issue based
on three objectives which are 1) To examine an overall household debt situation in
Thailand before the COVID-19 pandemic, 2) To assess the burden of COVID-19 crisis
and its impacts on Thailand’s household debt condition, and 3) To policy recommendations
for household debt crisis in both short and long term. The research examined two
primary factors leading to household indebtedness—income and debt burden
factors. Data were collected from primary and secondary sources between December
2020 to May 2021. Primary data were based on in-depth interviews with an expert
from the Bank of Thailand (BOT), while secondary data included the National
Statistical Office’s (NSO) Household Socio-Economic Survey, BOT’s loans to
household data, and evidences from relevant documents and literatures. In this
study, we conducted the data analysis through comparative and synthetic reviews
based upon diverse theories, principles, and real occurrences in Thailand and across
the globe. Our study found that Thailand’s household debt to GDP ratio has been rising
consistently even before the COVID-19 pandemic. Also, the COVID-19 outbreaks
have exacerbated household indebtedness, as evident in a falling household income while
the debt level continued to hover high. The measures to alleviate household debt
burden in the short term included financial aids to households and debt burden
reliefs, for example, debt moratorium, interest rate cuts, and debt restructuring.
As for the long-term strategy to solve Thailand’s household debt problem, we
suggested the relevant authority to 1) Place emphasis on strengthening household income
along with fair opportunity and social equality according to the 2 0 -Year National
Strategy and the National Economic and Social Development Plan, 2) Build up financial
literacy and discipline among households, 3) Promote the long-term household debt
restructuring,4)Foster responsible lending among financial institutions, 5)Establish a comprehensive
framework for macroprudential policy to monitor financial institutions, and 6) Improve the
quality of loan and income datato enhance problem-solving strategies.