Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล, (วปอ.9209)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี จรูญ คล่องยุทธ์, (วปอ.9209)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2563
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ แห่งชาติทางทะเล ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พลเรือตรี จรูญ คล่องยุทธ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๓ เอกสารวิจัยเรื่อง แนวทางการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ ของชาติทางทะเล หรือ ศรชล.นี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการดำเนินงานของ ศรชล.ในห้วงที่ผ่านมา ซึ่งประสบ ปัญหาด้านการรับรู้ เข้าใจและยอมรับ การสื่อสารเพื่อการบูรณาการความร่วมมือ การมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วน ส่งผลให้ ศรชล.ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน นอกจากนี้ปัญหาการขาดการตระหนักรู้ในการใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ในการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของ ศรชล.เพื่อสร้างการรับรู้ต่อ ทุกภาคส่วนนั้น ยังมีอุปสรรคข้อขัดข้องด้วยปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น ปัญหาโครงสร้างองค์กร ปัญหา การขาดแคลนกำลังพล และปัญหาด้านรูปแบบวิธีการในการสื่อสารที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ การดำเนินการสร้างการรับรู้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมาย ในการพิจารณาหาหนทางแก้ไขปัญหานั้น ผู้วิจัยพบว่า หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบันมีการใช้การสื่อสารทางยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการ ดำเนินนโยบายและภารกิจของหน่วยหรือองค์กร และสามารถสร้างการรับรู้ เข้าใจ รวมถึงทัศนคติที่ดี ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จากการศึกษา ทฤษฎีหลักการและแนวคิดที่เกี่ยวข้องในด้าน การสื่อสาร ได้แก่ ทฤษฎีการสื่อสาร หลักการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ ทฤษฎีการรับรู้และทัศนคตินั้น พบว่า การสื่อสารทางยุทธศาสตร์โดยการบูรณาการขีดความสามารถของ ศรชล. ด้านการสื่อสารในทุกมิติ มาปฏิบัติ ตามกระบวนการสื่อสารทางยุทธศาสตร์นั้น สามารถนำมาเป็นแนวทางการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ของศรชล. ที่เหมาะสมต่อสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยผลการวิจัยสามารถกำหนดปัจจัยที่สำคัญต่อการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ ได้ ๕ ปัจจัย ได้แก่ ๑) การพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ ความรู้ ทักษะ ด้านการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ ๒) การใช้ขีดความสามารถและทรัพยากรให้เกิดประโชน์สูงสุด ๓) การสื่อสารองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ๔) การสื่อสารที่ชัดเจน ต่อเนื่อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ๕) การสื่อสารโดยมีประชากร กลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง และเมื่อนำมาจัดทำแนวทางการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ของ ศรชล.แล้ว พบว่ามีองค์ประกอบหลักใน การดำเนินงานทั้งหมด ๔ ยุทธศาสตร์คือ ๑)การบูรณาการ การสื่อสารทาง ยุทธศาสตร์๒) การวิจัยและพัฒนาช่องทางการสื่อสารและวางแผนการใช้งานช่องทางอย่างมี ประสิทธิภาพ ๓) การบริหารจัดการและเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ให้แก่บุคลากร ๔) การประเมินผลการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ข อย่างไรก็ตามเพื่อให้การสื่อสารทางยุทธศาสตร์ของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้ ๑) สนับสนุนให้มีการศึกษาการพัฒ นารูปแบบการสื่อสารทางยุทธศาสตร์ ให้ทันโลก ในยุคปัจจุบัน ๒) การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการรักษา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ๓) สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน เพื่อช่วยเหลือ ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อสร้างแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน และสร้าง จิตสำนึกให้ประชาชนมีความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล อันจะส่งผลให้การรักษาผลประโยชน์ ของชาติทางทะเล ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประเทศมุ่งไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง ในวิถี ที่ยั่งยืนต่อไป

abstract:

Abstract Title Strategic Communication Approach of Thai Maritime Enforcement Command Center Field Strategy Name RDMA. Charoon KLongyut Course NDC Class 63 The research of Strategic Communication Guidelines of Thai Maritime Enforcement Command Center or Thai MECC was conducted to study the operation of Thai MECC that have been facing with understanding, acceptance, communication, corporation from related parties. Resulting in Thai MECC was not appropriately supported by the government and public sector. In addition, another problem is that many sectors still lack awareness of the proper use of the sea, which causes conflict environmental problems. The research revealed that Thai MECC’s operation objective is to overcome awareness from all sectors. However, there are limitations in various aspects including, organizational structure, lack of human resources, and ineffective communication. Therefore, overcoming understanding and awareness is still not successful as planned. According to the problem-solving direction, the researcher acknowledged that most agencies and organizations have been using communication tools to create an appropriate regulation of organizations. Moreover, effectively overcoming acknowledgment, understanding, and proper perspective towards the target. The study of principles related to communication such as Communication Method, Strategic Communication Principle, Theory of Perception and Attitude. The study revealed that the Strategic Communication Principle adapted by integrating Thai MECC's ability in various aspects could be a guideline for communication methods appropriate for current environmental conditions. The research outcome can determine 5 essential factors for strategic communication, including; 1) Development of personnel to have potential, knowledge, and strategic communication skills. 2) Utilization of capacity and resources for maximum benefit. 3) Effective communication within the organization. 4) Concise and continuous communication in the proper direction. 5) Communication to the actual target. Besides, the researcher has conducted strategic communication guidelines of Thai MECC and found that there are 4 essential strategies, including; 1) Integration of Strategic Communication 2) Research and Development of Communication Channels, ง and Plan for Effective Channel Management. 3) Management and Development of Strategic Communication Skills for Personnel. 4) Strategic Communication Assessment. In order to make the strategic communication of the Thai Maritime Enforcement Command Center (Thai MECC) more successful and concrete, the researcher's recommendations are as follows: 1) Supporting the research and study of strategic communication for proper use. 2) Establishing a database of target groups related to the marine enforcement command. 3) Supporting the establishment of public organizations to maintain the benefits of marine enforcement command. For this reason, guidelines areestablished for public participation and overcome awareness among people towards marine natural resources, which will result in sea preservation. As a result, the country is sustainably moving towards stability and prosperity.