เรื่อง: แนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำภัยแล้งและอุทกภัยอย่างยั่งยืน, (วปอ.9201)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ขจิตภูมิ สุดศก, (วปอ.9201)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2563
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำภัยแล้งและอุทกภัยอย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายขจิตภูมิ สุดศก หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๓
ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งของประเทศไทย เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มที่จะ
ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอย่างยาวนานในเชิงปริมาณและคุณภาพ ได้กลายเป็นปัญหาสำคัญ
ระดับชาติที่ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนรวมถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม
และประเทศตามมา จาการศึกษาพบว่ารัฐบาลภายใต้การบริหารงานพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี มีนโยบายในการปฏิรูปการแก้ปัญหาน้ำอย่างจริงจัง โดยกำหนดเป้าหมายในการ
บริหารจัดการน้ำ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการ
ทรัพยากรน้ำแห่งชาติและองค์กรกลางขึ้นมาคือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ทำหน้าที่ควบคุมดูแล
และจัดการการใช้น้ำของประเทศ (Regulator) รวมทั้งเพื่อเป็นการรวบรวมหน่วยงานรัฐทั้งหมด
ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำให้มีความเป็นเอกภาพ และจัดการให้มีผู้ดูแลน้ำ (คณะกรรมการ
ลุ่มน้ำ) และผู้ใช้น้ำ (คณะกรรมการผู้ใช้น้ำ) ทุกประเภทในแต่ละภูมิภาคลุ่มน้ำได้มีส่วนร่วมในการ
บริหารจัดการน้ำในการแก้ไขปัญหาด้านอุทกภัย และภัยแล้งนั้นปัญหาคณะกรรมการลุ่มน้ำนั้นใน
ปัจจุบันยังไม่พบปัญหาหรืออุปสรรค เนื่องจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อยู่ระหว่างการ
คัดเลือกกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำใน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายเดือน ก.ย.2564
ซึ่งคณะกรรมการลุ่มน้ำ ประกอบด้วย กรรมการลุ่มน้ำโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขต
ลุ่มน้ำนั้น และผู้แทนจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งจะต้องเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตลุ่มน้ำนั้น จังหวัดละ 1 คน กรรมการลุ่มน้ำ
ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำในด้านปัญหาของหน่วยงานกับประชาชนและองค์กรของรัฐอื่นๆ และภาคเอกชน
เกิดขึ้นในแต่ละลุ่มน้ำนั้นในส่วนงานที่รับผิดชอบตามภารกิจของกรมทรัพยากรน้ำ และกล่าวได้ว่าไม่มี
ปัญหากับภาคประชาชน องค์กรของรัฐอื่นๆ และภาคเอกชน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการ
โครงการตามความต้องการและตามคำร้องขอของประชาชนในพื้นที่เป็นหลักในการแก้วิกฤติน้ำแล้ง
การจัดหาแหล่งน้ำสำรองดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ในปี 2563-64 มีแนวทางในการพัฒนาภาวะ
แหล่งน้ำแล้งและอุทกภัยที่เกิดขึ้นในทุกปีทางกรมทรัพยากรน้ำมีแผนงานโครงการเพื่อการอนุรักษ์
และฟื้นฟูแหล่งน้ำเป็นหลัก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำดิบในพื้นที่เสี่ยงขาด
แคลนน้ำไปด้วย โดยเฉลี่ยแล้ว กรมทรัพยากรน้ำ สามารถดำเนินการเพิ่มปริมาณน้ำสำรองได้
ประมาณ 150-200 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาในการขาดแคลนน้ำไปได้ระดับหนึ่งใน
ส่วนของอุปกรณ์ฟังก์ชันเครื่องมือในการเก็บกักน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำแล้งหรือการเกิดอุทกภัยนั้น
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินโครงการเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำเป็นหลัก จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ
เรื่องการสร้างเขื่อน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือการไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนิน
โครงการที่เพียงพอตามที่ประชาชนในพื้นที่ร้องขอเข้ามา ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก รวมทั้งให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการจัดสรรน้ำ โดยใช้ แอปพลิเคชั่น Thai Water Plan หรือ“ระบบบูรณาการข
แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ” ในการเข้ามาใช้ร่วมกันไม่เพียงแต่หน่วยงานรัฐเท่านั้นที่จะเข้าถึง
เป็นเป็นการให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายรวมทั้งภาคเอกชน ประชาชน เข้ามาปรับปรุงแก้ไขหรือให้
ข้อคิดเห็นและใช้ประโยชน์จาก Thai Water Plan เนื่องจากเป็นการทำงานร่วมกันกับทุกฝ่ายหน่อย
งานต่าง ๆ จะเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา
ในอนาคตแม้จะเกิดปัญหามากมายในการจัดการหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
เชื่อว่าในความสำคัญของพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561 จะส่งผลให้การจัดการน้ำ
ในแต่ละลุ่มน้ำจะมีทิศทางสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงไปของ บ้านเมืองเศรษฐกิจ และสังคมที่มี
ความสมดุลและยั่งยืน มีการบูรณาการและประสานข้อมูลของรัฐที่คล่องตัวมากขึ้นทั้งในภาวะปกติ
และวิกฤต ทำให้ทุกคนมีสิทธิ์ใช้น้ำหรือเก็บกักน้ำได้ตามความจำเป็นแก่ประโยชน์ในกิจกรรมหรือใน
ที่ดินของตน และประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐ องค์กรต่าง ๆ ในนามคณะกรรมการลุ่มน้ำ
ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และเกิดองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อประโยชน์ร่วมกันเกี่ยวกับการใช้การ
พัฒนาการบริหารจัดการการบำรุงรักษาการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำบรรเทาหรือ
ลดผลกระทบจากน้ำแล้งน้ำท่วม และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และมีความเป็นเอกภาพ มีการ
การบูรณาการด้านการพัฒนา บริหารจัดการ บำรุงรักษา ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
abstract:
Abstract
Title Approach for Sustainably Solving of Floods Crisis
Field Science and Technology
Name MR. Kajhitphome Sudsok Course NDC Class 63
Droughts and floods have recently been the major problems in Thailand
for decades. The severity and the longevity are affecting people’s living conditions,
social well-being, economic and national security. The government under Gen.Prayut
Chan-o-cha, Prime Minister, earnestly passed the National Water Resources Act
(NWRA) in 2018 and established The National Water Resource Committee (NWRC)
and The National Water Resource Office (NWRO) as a regulator agency to reform the
water problems. By establishing the River Basin Committee (RBC) in 22 areas and
Water User Organizations (WUO) around the country, NWRA is encouraging the
participation between the water authority (RBC) and end users (WUO), such as farm,
household and industrial consumptions, in order to manage the water usage plan in
the particular basin.
Nonetheless, the mentioned structure is underway to fully complete,
NWRA just launched in 2018, the collaboration of government agencies creating the
integrated system along with the participation of end users will maximize the
balance of effectiveness and sustainability of water usage. The flood and drought
problems will be relieved and solved in the future. Water preservation and
conservation will be the mutual benefits for all parties in the basin and the country
as a whole.