เรื่อง: แนวทางการเตรียมความพร้อมด้านอาหารเพื่อเผชิญสภาวะวิกฤติโรคระบาดร้ายแรงในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3, (วปอ.9189)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ, (วปอ.9189)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2563
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการเตรียมความพร้อมด้านอาหารเพื่อเผชิญสภาวะวิกฤติ
โรคระบาดร้ายแรงในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ (Strategy)
ผู้วิจัย พลตรี กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่63
การศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านอาหารเพื่อเผชิญสภาวะวิกฤติโรคระบาด
ร้ายแรงในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๓ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคตลอดจนผลกระทบที่เกิด
จากโรคระบาดร้ายแรงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ตลอดจนเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านอาหารเพื่อ
เผชิญสภาวะวิกฤติโรคระบาดร้ายแรง โดยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับ
การใช้การวิจัยเชิงพรรณนา (Deseriptive Research) ประกอบด้วย 1) การรวบรวมข้อมูล ทั้งส่วนของ
ข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รวมถึงข้อมูลทุติยภูมิ ที่
ดำเนินการโดยการศึกษาจากตำรา เอกสารต่างๆ และรายงานผลการปฏิบัติของหน่วยที่เกี่ยวข้อง,
2) การวิเคราะห์เนื้อหา (Context Analysis) การวิเคราะห์เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลตาม
ทฤษฎี และหลักการต่าง ๆ และ 3) การนำเสนอข้อมูลแบบรายงานวิจัยเชิงพรรณนาความผลการ
วิเคราะห์ และนำเสนอแนวทางการปฏิบัติใหม่ๆ จากการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนผลกระทบที่เกิดจากโรคระบาด
ร้ายแรงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พบว่า มีการระบาดใหญ่ (Pandemic) นับถึงปัจจุบันอย่างน้อย 15 ครั้ง
มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 673 ล้านคน โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันยิ่งมีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ
เนื่องจากมีความเชื่อมโยงทางด้านเศรษฐกิจ, การเมือง และสังคมจิตวิทยาระหว่างประเทศมากกว่าในอดีต
ในส่วนของแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านอาหารเพื่อเผชิญสภาวะวิกฤติโรคระบาด
ร้ายแรงในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 มีองค์ประกอบที่สำคัญ 9 ประการ แต่เนื่องจากหน่วยทหารมีลักษณะ
พิเศษที่สำคัญ คือ การปกครองบังคับบัญชาที่เน้นเรื่องเอกภาพ และสายการบังคับบัญชา ทำให้ตัว
ผู้บังคับบัญชา/ผู้บังคับหน่วย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อม
ด้านอาหารให้ประสบความสำเร็จ โดยมีตัวแบบจากกรณีศึกษาค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ : ความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Non-Traditional Security), การเตรียมความพร้อม, สภาวะวิกฤติ,
โรคระบาด (Pandamic), ไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19), ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)
Abstract
Title Food preparation guidelines to face the severe epidemic crisis
in the area of the 3rd Army Regionข
Field Strategy
Name Major General Kittipong Jamsuwan Course NDC Class 63
Study of food preparation guidelines to face the severe epidemic crisis in
the area of the 3rd Army Region. Objective: To study problems, obstacles and the
impact of the devastating epidemic from past to present. To offer food preparation
guidelines to face the severe epidemic crisis. Conduct qualitative research in
conjunction with descriptive research together with 1) Primary Data Collection by
conducting an in-depth interview 12 key informants and secondary data By studying
from textbooks, documents, reports on the performance of the relevant units.
2) Content analysis, comparative analysis, theoretical data synthesis and various
principles. 3) Presentation of data in a descriptive research report form of analysis
results and introduce new practices.
The results of the study revealed that the obstacles and impacts of severe
epidemics from past to present it found that 15 pandemics have killed at least 673
million people. The current impacts are becoming more and more severe accordingly.
Because there are more economic, political and socio-psychological links between
countries than in the past.
Food preparation guidelines to face the severe epidemic crisis in the area
of the 3rd Army Region have 9 key elements but because the military unit has an
important special feature, which is the commanding regime that emphasizes unity.
Make the commander the most important element in driving successful food
preparation.There is a case study from SomdetPhraEkaThotsarot Camp, Muang District,
Phitsanulok Province
Keyword : Non-Traditional Security, Pandamic, COVID-19, Food Security
abstract:
ติดต่อหน่วยเจ้าของ (N/A)