Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การขจัดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทย ในบริบทการแก้ปัญหารายได้ของชาวนาไทย, (วปอ.9507)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย, (วปอ.9507)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2564
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การขจัดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจของไทยในบริบทการแก้ปัญหารายได้ ของชาวนาไทย ลักษณะวิชา เศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางสาวชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 64 ปัญหาความยากจนของชาวนาไทยที่สะสมมานานทําให้เกิดความเหลื่อมล้ําทางรายได้ ของชาวนากว่า 17 ล้านคน (ร้อยละ 56 ของเกษตกรไทย) ยิ่งมากขึ้น แม้รัฐบาลได้กําหนดให้การ พัฒนาเศรษฐกิจข้าวเป็นเรื่องหลักในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีทั้งยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้าง ความสามารถในการแข่งขันโดยยกระดับสู่การเกษตรสมัยใหม่ และยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้าง โอกาส ลดความเหลื่อมล้ําทุกมิติและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก แต่ชาวนาไทยก็ยังคงประสบ ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ํานี้ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา 1) สภาพ ปัญหาเกี่ยวกับรายได้ของชาวนาไทยในปัจจุบัน 2) ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของรายได้ของ ชาวนาไทย และ 3) ข้อเสนอแนวทางการขจัดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจของไทยในบริบทการ แก้ปัญหารายได้ของชาวนาไทย การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่ม ชาวนา กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกับชาวนา และภาครัฐผู้กําหนดนโยบาย อย่างละ 4 คน ร่วมกับการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือ SWOT และ PESTEL และสรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัย ที่ได้กําหนดไว้ผลศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับรายได้ของชาวนาไทยในปัจจุบัน คือ ครอบครองที่ทํานาเฉลี่ย 16.7 ไร่ต่อราย และร้อยละ 30 ของกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ํากว่าเส้นความ ยากจนเป็นเกษตกร ซึ่งมีสาเหตุหลัก 8 ประเด็น ได้แก่สภาพปัญหาของการตลาดข้าวทั้งอุปสงค์และ อุปทาน ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ขาดการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาระบบชลประทานและสภาพ ดินเสื่อม งานวิจัยพันธุ์ข้าวและการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมทักษะและ ศักยภาพของชาวนาอย่างจริงจัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทํางานไม่มีประสิทธิภาพ 2) ปัจจัยหลัก ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของรายได้ของชาวนาไทย ได้แก่ สภาพการเมือง เศรษฐศาสตร์สังคม เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานในการผลิตข้าว และกฎหมายข้อบังคับ และ 3) ข้อเสนอแนวทางการขจัดความ เหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจของไทยในบริบทการแก้ปัญหารายได้ของชาวนาไทย พบว่ามี 5 แนวทาง ได้แก่ 1) การปฏิรูปกระบวนการทํานาให้ใช้เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อทําให้ผลผลิตเพิ่มและต้นทุน ลดลง รวมถึงการมุ่งส่งเสริมให้ทํานาแบบผสมผสานและทํานาแปลงใหญ่อย่างจริงจัง และพัฒนา ทักษะของชาวนา 2) การจัดทําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแพลตฟอร์มข้าวแห่งชาติที่จะบูรณาการ ข้อมูลเกี่ยวกับข้าวจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งระบบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรื่องข้าวและการข แก้ปัญหาความยากจนของชาวนาแบบพุ่งเป้า 3) ยุทธศาสตร์การตลาดเชิงรุก ทั้ง 4Ps ประกอบด้วย (3.1) กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์คือการส่งเสริมการวิจัยพันธุ์ข้าวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (3.2) กลยุทธ์ การตั้งราคาที่สะท้อนต้นทุน (Cost-Plus Pricing Strategy) จัดโครงสร้างกําไรภายในระบบห่วงโซ่ อุปทานใหม่เพื่อให้สมดุลและเกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ยกเลิกนโยบายชดเชยรายได้ของชาวนา (ประมาณ 150,000 ล้านบาทต่อปี) และการส่งเสริม“การประกันความเสี่ยงราคาแปรปรวน” (3.3) การปฏิรูป ช่องทางจําหน่ายโดยลดขั้นตอนที่ซับซ้อนด้วย “ตลาดเกษตรกรออนไลน์” (3.4) การส่งเสริมการตลาด ส่งออกโดยการเพิ่มยอดขายในตลาดเดิมที่มีศักยภาพและเปิดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ 4) การปรับปรุง กฎหมาย พระราชบัญญัติข้าวและกองทุนชาวนา และ 5) ปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ การปรับโครงสร้างกรมการข้าว ให้มีอํานาจการบริหารแบบเสร็จสรรพ เช่นเดียวกับกรมปศุสัตว์ส่วน กระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบการควบคุมราคาสินค้าภายในประเทศและการตลาดส่งออก นอกจากนี้ ยังเน้นการส่งเสริมให้เกษตรกรรุ่นใหม่ (Start-up) มาบริหารจัดการทํานาอย่างมืออาชีพ และจัดให้มี Sandbox การทํานาแปลงใหญ่เพื่อแสดงให้ชาวนาเห็นผลดําเนินจากแบบแปลงใหญ่ว่ามีรายได้ มากกว่าแบบดั่งเดิม และต้องการเข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่อย่างเต็มใจ และหากบรรลุเป้าหมาย ตามการศึกษานี้ผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปัจจุบัน ลดต้นทุนการผลิตร้อยละ 20 และกําไร เพ่ิมขึ้น 3 บาทต่อกก. ก็จะทําให้รายได้ของชาวนาเพิ่มขึ้น 132,000 บาทต่อราย นั่นหมายถึงว่า ชาวนาจะมีรายได้พ้นเส้นความยากจน (2,686 บาทต่อเดือน) จะมีรายได้มั่นคงสามารถดูแลตนเอง￾ครอบครัว และดํารงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีนั่นหมายความว่ารัฐบาลจะสามารถขจัดความเหลื่อมล้ําทาง เศรษฐกิจของคนไทยได้ร้อยละ 30

abstract:

Abstract Title The Elimination of Thailand Economic Disparity in the Context of Concretely Tackling Poverty of Rice Farmers Field Economics Name Miss Chayanant Tiyatrakarnchai Course NDC Class 64 The long-time collective problem of poverty has led to the income inequality of more than 17 million rice farmers (56 percent of Thai planters) even greater. Even though the government has determined rice farming development a priority in the 20-year national strategy i.e., the second strategy promoting competitiveness through smart farming concept and the fourth strategy creating opportunities and eliminating inequality, Thai farmers are still facing poverty. This economic inequality has obstructed the development of Thailand. The researcher is therefore interested in studying 1) the current condition of income problems of Thai farmers; 2) factors affecting of Thai farmers' income; and 3) recommendations for eliminating Thailand economic disparity in the context of concretely tackling poverty of rice farmers. This study used a qualitative research method with in-depth interviews; sample groups are farmers, stakeholders, and policy-makers, 4 for each; data analyzing tools are SWOT and PESTEL; and the study results are concluded with accordance to the prior-defined research objectives. The findings are as follow: 1) That is, an average farmland of 16.7 rai per person, and 30% of the ‘poverty’ are farmers. There are 8 main reasons for rice supply and demand problems; higher production cost; ineffective irrigation management and soil deterioration; insufficient research and development; lack of serious promotion of farmer skills and competencies. 2) The factors affecting income of Thai farmers are political, economic, social, infrastructure, Agri-tech and laws & regulatory. 3) There are 5 recommendations for the elimination of Thailand economic disparity in the context of concretely tackling poverty of rice farmers including 1) reforming the farming process to use agricultural technology to increase productivity and lower cost; seriously promoting mixed farming and large-scale farming; and develop the skills of ง farmers; 2) adopting information technology system for a national rice platform by integrating all rice-relating information from various departments with the benefits of rice farming management; targeted poverty alleviation of farmers, etc.; 3) proactive marketing strategies would include (3.1) promoting research on rice-grains and developing processed rice products with the bio-technology; (3.2) adopting cost-plus pricing strategy, re-structuring fair profit allocation among farmer, mills and middlemen, removing farmers' income compensation policy (approximately 150 billion baht per year), and promoting ‘crop insurance’; (3.3) eliminating complex marketing channel by focusing on “eCommerce”; (3.4) aggressive promoting export market by increasing market share of existing key markets and penetrating new potential markets with potential; 4) laws such as the Rice Act and Farmer's Fund would be issued; and 5) reforming the structure of government agencies, the Rice Department in particular should have its comprehensive management authority, like the Department of Livestock. While, the Ministry of Commerce is responsible for only price control in domestic market and export marketing. It also emphasizes on encouraging young farmers (Start-ups) to manage their farming professionally, and provide a large-scale farming sandbox in order to demonstrate farmers the positive results of significantly more income generated by the large-scale farming concept and willing to join the large-scale farming project then. According to the pre￾determined objectives i.e., the yield per rai will increase 2 times from the present, the production cost will reduce by 20%, and the profit increases by 3 baht per kg., the income would increase by 132,000 baht per farm. That means the farmers will have income beyond the poverty line (2,686 baht per month) will have wealthy income, which can take care of their families. and live with dignity. Ultimately, the government will thus be able to eliminate at least 30 percent of the economic inequality of Thai people.