เรื่อง: แนวคิดการใช้กำลังทางอากาศเพื่อตอบสนองภารกิจด้านการบรรเทาสาธารณภัยในปัจจุบันและอนาคต, (วปอ.9503)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาอากาศเอก จุมพล คล้อยภยันต์, (วปอ.9503)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวคิดการใช้กําลังทางอากาศ เพื่อตอบสนองภารกิจด้านการบรรเทาสาธารณภัย
ในปัจจุบันและอนาคต
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย นาวาอากาศเอก จุมพล คล้อยภยันต์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๔
สาธารณภัยเป็นปัญหาความมั่นคงที่สําคัญ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและ
สิ่งแวดล้อมของประเทศ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ส่งให้ภัยธรรมชาติทวี
ความรุนแรงและมีความถี่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้กองทัพอากาศวางแผนการพัฒนาขีดความสามารถกําลังทางอากาศ
เพื่อปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศสนับสนุนภารกิจการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยช่วยเหลือประชาชน
ในยามปกติ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาการประยุกต์ใช้กําลังทาง
อากาศในภารกิจด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยศึกษาและวิเคราะห์การพัฒนากําลังทางอากาศตาม
ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปีโดยขอบเขตของการวิจัยจะศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการบรรเทา
สาธารณภัยและการพัฒนากําลังทางอากาศเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวบรวมข้อมูล
จากตําราและเอกสารต่างๆและจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงสังเคราะห์
เสนอแนะแนวคิดการประยุกต์ใช้กําลังทางอากาศ ในภารกิจด้านสาธารณภัยในปัจจุบันและอนาคต
ผลการศึกษาพบว่าความต้องการกําลังทางอากาศสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติและการช่วยเหลือประชาชนในยามปกติ
ต้องไม่กระทบกับการปฏิบัติภารกิจทางยุทธการ ทั้งนี้การประยุกต์ใช้กําลังทางอากาศให้เกิดประโยชน์/
ประสิทธิภาพสูงสุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสมควรเข้าใจหลักพื้นฐานในการใช้กําลังทางอากาศ “รวมการควบคุม
และแยกการปฏิบัติ”ทราบคุณลักษณะและขีดความสามารถกําลังทางอากาศโดยโครงการจัดหาที่สําคัญใน
อนาคตจะทําให้กองทัพอากาศมีความพร้อมในการสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไปอีก ๑๐ ปี
ข้างหน้า
ปัจจัยความสําเร็จกองทัพอากาศควรปรับปรุงแผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ปี๖๓
ให้สอดรับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติพ.ศ.๒๕๕๘ นอกจากนี้กองทัพอากาศและ
กระทรวงมหาดไทยควรร่วมกันวิเคราะห์และพิจารณาแนวทางจัดทํางบประมาณเชิงบูรณาการของรัฐบาล
เพื่อจัดหาอุปกรณ์พิเศษมาติดตั้งกับอากาศยานกองทัพอากาศให้เกิดความคุ้มค่า รวมทั้งร่วมกันพิจารณา
กําหนดมาตรฐาน กลไกการปฏิบัติเพื่อประยุกต์ใช้อุปกรณ์/นวัตกรรมใหม่ หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่
ให้มีมาตรฐานการใช้งานและความปลอดภัย ประเด็นสุดท้ายที่สําคัญที่สุดคือการฝึกการป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าใจบทบาท หน้าที่ และการปฏิบัติได้อย่างไร้รอยต่อ สามารถนํา
ข้อขัดข้องที่ได้จากการประเมินผลการฝึกมาปรับแผนการปฏิบัติในครั้งต่อๆไป
abstract:
Abstract
Title Concept of Implementation of Air Power in Response to Present and
Future Disaster Relief Missions
Field Military
Name Group Captian Joompol Kloypayan Course NDC Class 64
Natural disasters are major security problems affecting national economic, social,
and environmental systems. The current climate change and global warming have become
worsened and more frequent. In this regard, the Royal Thai Air Force has planned to enhance
the capabilities of air power for national defense missions, supports of disaster prevention and
mitigation, and assistance for people during normal time.
This research is aimed at studying and analyzing implementation of air power in
disaster prevention and mitigation, air power enhancement in compliance with the Royal Thai
Air Force 20-year strategy. The scope of this qualitative research covers the study of the
associated information including natural disasters and air power enhancement. Information has
been gathered from various books, documents, and interviews with experts and subsequently
analyzed and synthesized to provide the concept in applying air power in the present and
future disaster relief missions. Outcome of the studies reveals that the necessity for the air
power in support of the disaster prevention and mitigation is likely to increase. Nonetheless, the
disaster prevention and mitigation and assistance for people during normal time must not
affect operational missions. To assure the optimal and most efficient air power, related agencies
are obliged to understand the basic principle of the implementation of air power, which is
"centralized control, decentralized execution" and characteristics and capabilities of the air
power. The key future procurements will provide the Royal Thai Air Force with capacity in
supporting disaster prevention and mitigation for the next ten years.
As for the key success factors, the Royal Thai Air Force should update the Disaster
Relief Plan for 2020 to suit the National Disaster Prevention and Mitigation B.E.2558 (A.D.2015).
Additionally, the Royal Thai Air Force and the Ministry of Interior should cooperatively analyze
and consider the guideline to allocate government integrated budgets to procure specific
equipment to be installed on board the Royal Thai Air Force aircraft in a cost-effective way. These two agencies should also work together in standardizing procedures to apply innovative
equipment or modern technology for the standard use and safety. The last and most
important process is the training of disaster prevention and mitigation to guarantee the
acknowledgement of roles and duties among operators and staff for the sake of seamless
operations and evaluation of the drawbacks for further adjustment of the upcoming
operational plans.