Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนากิจการอวกาศของกองทัพอากาศเพื่อความมั่นคงทางอวกาศ, (วปอ.9500)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศโท จักร สุวรรณทัต, (วปอ.9500)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2564
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนากิจการอวกาศของกองทัพอากาศเพื่อความมั่นคงทางอวกาศ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลอากาศโท จักร สุวรรณทัต หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๔ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ เพื่อศึกษาพัฒนาการกิจการอวกาศ ของกองทัพอากาศ ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาของการบริหารงานด้านกิจการอวกาศของกองทัพอากาศใน ปัจจุบัน และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากิจการอวกาศของกองทัพอากาศให้รองรับอนาคตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกิจการอวกาศของกองทัพอากาศ เพื่อสรุป ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้ผลการวิจัยพบว่า ๑. การพัฒนาด้านกิจการอวกาศ ของกองทัพอากาศนั้น กองทัพอากาศได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศ ขึ้นเมื่อ ตุลาคม ๒๕๖๒ และได้น าส่ง ดาวเทียม นภา-๑ ขึ้นสู่วงโคจร เมื่อ กันยายน ๒๕๖๓ โดยดาวเทียม นภา-๑ มีขอบเขตในการใช้งานด้านการเฝ้าระวังทางอวกาศ (ค้นหา,ติดตาม และพิสูจน์ทราบ) ทั้งนี้ กองทัพอากาศ สามารถน าข้อมูลภาพถ่ายทางอวกาศมาใช้บูรณาการกับระบบตรวจจับอื่นๆ และ น าไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนช่วยเหลือและป้องกันภัยต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ดาวเทียมนภา-๒ ได้รับการน าส่งขึ้นวงโคจร โดยติดตั้งกล้องถ่ายภาพที่เป็นกล้อง แบบมัลติสเปกตรัม (Multi Spectrum) เพื่อใช้แยก และดึงสีส าหรับการวิเคราะห์ข้อมูลให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ๒. ปัญหาของการบริหารงานด้านกิจการอวกาศของกองทัพอากาศในปัจจุบัน สามารถสรุปได้ ๔ ประเด็น คือ การไม่เข้าใจกิจการอวกาศที่แท้จริงท าให้เกิดการพัฒนาอย่างล่าช้า ข้อจ ากัดด้านงบประมาณ บุคลากรยังขาดองค์ความรู้ ประสบการณ์และสมรรถนะที่เหมาะสม และ ประเด็นสุดท้ายคือ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานภายนอก ยังมีปัญหาในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ที่ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ๓. แนวทางการพัฒนา กิจการอวกาศของกองทัพอากาศให้รองรับอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางโดย สรุปเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ได้ ๔ ประเด็นคือ การพัฒนาโครงสร้างองค์กรกิจการอวกาศที่เข้มแข็ง ของ กองทัพอากาศการพัฒนาระบบปฏิบัติการและแผนปฏิบัติการขององค์กรกิจการอวกาศของ กองทัพอากาศที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาสมรรถนะและทักษะก าลังพลด้านกิจการอวกาศของ กองทัพอากาศให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ การพัฒนาระบบค่านิยมหลัก (Core Values) องค์กรกิจการอวกาศ ของ ทอ.ที่สร้างสรรค์ ภายใต้กรอบแนวคิด ๓ แนวคิด คือ กองทัพอากาศ ควรร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ด้านกิจการ ข กองทัพอากาศ ควรก าหนดยุทธศาสตร์ โดยมีเป้าหมาย แผนงาน กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ และ งบประมาณที่ชัดเจน กองทัพอากาศควรพัฒนาก าลังพลของกองทัพอากาศ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องท างาน ในศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศ งานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มี ๒ ประเด็นได้แก่ กองทัพอากาศควรจัดท า นโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนากิจการอวกาศ เพื่อความมั่นคงทุกระดับขีดความสามารถ คือ ทั้งใน ระดับยุทธศาสตร์ ระดับยุทธการ และระดับยุทธวิธี กองทัพอากาศต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านกิจการอวกาศการพัฒนาหลักสูตรพื้นฐานด้านกิจการอวกาศส าหรับ สถาบันการศึกษาของกองทัพอากาศทุกระดับ

abstract:

Abstract Title Guidelines for Advancement of Air Force Space Operation for Air Space Security Field Military Name Air Marshal Juck Suvannathat Couse NDC Class 64 Space Security is a significant undertaking for Thailand. Currently, space security is deemed to be the one of the main objectives that the Royal Thai Air Force (RTAF) pursues for the enhancement of air power in the RTAF. This thesis shall focus on three key objectives, which are to research the advancement of the Air Force’s Space Operation, to research and analyze current problems in the Air Force’s management of the Space Operation, and lastly, to propose methods that further the advancement of the Space Operation to guarantee future efficiency in the future. This thesis uses the qualitative research studying, analyzing, and synthesizing information from relevant research papers. Moreover, research has been gathered from interviews with experts in the field of space operation to conclude results according to the stated objectives. The results can be concluded that (1) for the advancement of the Air Force’s space operation, the Air Force established a control center for space operation and in October 2019 and launched NAPHA-1 satellite into orbit in September 2020. The NAPHA-1 satellite operates under the scope of space surveillance (to search, track, and verify). The Air Force can integrate the space photographic data with other surveillance systems to effectively plan help and prevent harmful or dangerous situations. Furthermore, in July 2021, the NAPHA-2 satellite was sent into orbit with a multi spectrum camera to distinguish colors for analyzing data more efficiently. (2) The currents problems of the Air Force space operation can be summarized into 4 issues. There is a lack of understanding of Space Operation leading to a lad in advancement. Further, there is budget limitations and shortage of knowledgeable and experienced personnel. The last and most vital problem is the cooperation between the Ministry of Defense and other external ง authorities lack harmony on a policy and practical level. (3) Methods that can further the advancement of the space operation guarantee efficiency in the future. The methods that the author proposes can be summarized in 4 issues. To develop the internal structure of the Air Force space operation and to develop an organized space operation system and action plan. To develop competent and skilled space operation personnel to enable the production of quality work. To develop core values in the space operation organization of the Air Force which is creative and under the scope of 3 conceptual framework. The Air Force should endeavor cooperation between state and private organizations that are experts and knowledgeable on the Air Force’s Operation. The Air Force should also formulate strategies with explicit goals, activities, undertakes, and budget. Additionally, the Air Force should focus on training personnel especially those working in the control center of the Air Force Space Operation. Furthermore, this thesis proposes two policies that the Air force is recommended undertake. The air force should undertake an explicit policy to advance its space operation for stability in every aspect, on both strategic and tactical levels. The Air Force should create academic courses and promote learning of space affairs. Furthermore, the air force should incorporate basic courses of space operations in every level of the Air Force Academic Institutions.