เรื่อง: แนวทางการบริหารการประกอบธุรกิจตลาดสดด้านสาธารณสุขตาม แนวทางวิถีใหม่ (New Normal), (วปอ.9496)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางคชาภรณ์ รุ่งหิรัญรักษ์, (วปอ.9496)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการบริหารการประกอบธุรกิจตลาดสดด้านสาธารณสุขตาม
แนวทางวิถีใหม่ (New Normal)
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางคชาภรณ์ รุ่งหิรัญรักษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่64
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสถานภาพปัญหาและอุปสรรค
ของการประกอบธุรกิจตลาดสดด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของการ
บริหารจัดการตลาดสดตามแนวทางวิถีใหม่ทั้งตลาดสดในประเทศและต่างประเทศ 3. เพื่อนำเสนอ
แนวทางการบริหารการประกอบธุรกิจตลาดสดด้านสาธารณสุขตามแนวทางวิถีใหม่ การวิจัยเชิง
คุณภาพนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์อย่างเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และทำการ
วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบดังนี้
1. สถานภาพของการประกอบธุรกิจตลาดสดพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการปรับปรุงตลาดสดให้ได้เกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมอนามัยกำหนด
ซึ่งเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้กรมอนามัยได้กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเป็น “ตลาดสดน่าซื้อ
วิถีใหม่” 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 2. ด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล 3. ด้านความ
ปลอดภัยอาหาร และ 4. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
มีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาตลาดสดให้มีความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผลการวิจัย
พบปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจตลาดสดดังนี้ การประกอบการตลาดสดบางแห่งไม่ได้
มาตรฐานตามเกณฑ์ของกรมอนามัย การที่ผู้ค้าขายสินค้าและอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานและความ
ปลอดภัย เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด - 19 พบว่าผู้ประกอบการตลาดสด ผู้ค้าและผู้บริโภคไม่ได้ให้
ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 อย่างเคร่งครัด
2. การเปรียบเทียบตลาดสดตามแนววิถีใหม่ของประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ามี
การจัดการตลาดสดตามแนววิถีใหม่ 2 ด้าน คือ 1. การจัดการด้านสาธารณสุข ภาครัฐมีหน้าที่กำหนด
มาตรฐานและกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการตลาดสดบริหารจัดการตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ผู้ค้าผู้บริโภค
และผู้ใช้แรงงานต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention)
ในยุคโควิด-19 2.การจัดการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัลมีความจำเป็นในการพัฒนาตลาดเข้า
สู่สังคมที่ไร้เงินสดและตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าระบบออนไลน์มากขึ้น
3. แนวทางการบริหารจัดการตลาดสดตามแนวทางวิถีใหม่ต้องอาศัยความร่วมมือของ
ทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และภาคประชาชน ภาครัฐต้องพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดตามแนวทาง
วิถีใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินตลาดสดให้ได้มาตรฐาน
ตามที่กำหนด การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการตลาดสดตามแนววิถีใหม่
ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงด้านโครงสร้างและระบบสาธารณูปโภคตามแนววิถีใหม่ การพัฒนา
เทคโนโลยีด้านบริการการขายทั้งระบบออฟไลน์และออนไลน์ให้สอดคล้องกับยุคเทคโนโลยีดิจิทัล
ผู้ค้า ผู้บริโภค และแรงงานต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ที่ตลาดสดกำหนดอย่างเคร่งครัด
abstract:
Abstract
Title Guidelines for Managing of the New Normal Fresh Market Business in
Public Health
Field Social - Psychology
Name Mrs. Kachaporn Runghirunruk Course NDC Class 64
This qualitative research is aim to 1. study the status, problems and
obstacles in the public health of fresh market business in the current. 2. compare
the model of new normal fresh market management between domestic and
international fresh market. 3. present guidelines for the management of the new
normal fresh market business in public health. By a qualitative research, collecting
information by an insight interviewing with an important informant and analyzing by a
content analysis. The results were found that:
1 . The status of the fresh market business was found that the local
government organizations is responsible for overseeing and improving the fresh
market to meet the standards set by the Department of Health. The situation of
COVID-19 caused the Department of Health to set standard criteria as “New Normal
Healthy Fresh Market” in 4 areas: 1. Environmental Health 2. Personal Hygiene 3.
Food Safety 4. Consumer Protection. These standard criteria was used for the
participation of the government, private and public sectors to improve and develop
fresh markets into the new normal healthy fresh markets. The results of the research
revealed problems and obstacles in the fresh market business as follows: 1. Some
fresh market operations did not meet the standards of the Department of Health.
2. The merchants sold products and food that were not meet the standard and
safety. In the COVID-19 situation, it was found that fresh market operators, merchants
and consumers did not cooperate in complying with the COVID-19 epidemic
prevention measures.
2. Comparison of new normal fresh markets between Thailand and
abroad, it was found that there were two important aspects of management:
1.Public health management the government is responsible for setting standards and
supervise the fresh market operators to manage the fresh market to be hygienic and
merchants, consumers and laborers must comply with universal prevention in the
era of COVID-19. 2. Digital technology management Digital technology is necessary
for fresh market development into a cashless society and meet the needs of
consumer behavior that prefers to shop online.
3. The guidelines approach to fresh market management requires the
cooperation of the government, entrepreneurs and the public sector. The
government must develop fresh market benchmarks in accordance with the new
normal in order to be used as a tool for evaluating the fresh market to meet the
required standards. Developing a database system for fresh market operations to be
up-to-date. Developing the potential of personnel involved in the fresh marketing
operation according to the new normal. Entrepreneurs must improve their structures
and utilities according to the new normal. Developing technology for sales services
both offline and online in accordance with the digital technology era. Merchants and
laborers must comply with the regulations set by the fresh market operators,
including annual health checks in order to renew the trader's license. Merchants,
buyers and laborers must self-practice to prevent the spread of COVID-19 at the
fresh market strictly.