Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์, (วปอ.9492)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์, (วปอ.9492)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2564
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทําฐานข้อมูลทะเบียน ประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายกิติพงษ์มหารัตนวงศ ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 64 ฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบสารสนเทศด้านทะเบียน ประวัติข้าราชการพลเรือนสามัญที่สํานักงาน ก.พ. พัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ของส่วนราชการและการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐของประเทศ จากการดําเนินงานที่ผ่านมา พบว่า การบริหารจัดการฐานข้อมูลดังกล่าวยังขาดประสิทธิภาพ มีความ ล่าช้าของกระบวนการในการทําให้ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษา แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทําฐานข้อมูลดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาปัญหาของการจัดทําระบบทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ (2) เพื่อศึกษา วิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่จะทําให้ฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดทําฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้วิจัยได้นําแนวคิดเกี่ยวกับ การวิเคราะห์แบบจําลองตัวกระตุ้นและการตอบสนอง (The Stimulus-Response Model) หลักการ สร้างปัจจัยการดําเนินธุรกิจ 8M และหลักการจัดการนโยบายตามแนวทาง ERIC – SAP มาเป็นกรอบ ในการวิเคราะห์ประเด็นศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุที่ทําให้การจัดทําฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการ อิเล็กทรอนิกส์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทําฐานข้อมูล ทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์และแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทํา ฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ในการดําเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูล ทุติยภูมิจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงาน ก.พ. และข้อมูลปฐมภูมิจาก ผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ใช้ระบบทะเบียนประวัติของข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ ของส่วนราชการจํานวน 143 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ (2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ ของสํานักงาน ก.พ. ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทําฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการ อิเล็กทรอนิกส์จํานวน 12 คน โดยการจัดประชุม Focus Group ผลการวิเคราะห์ปัญหาตามหลักการสร้างปัจจัยในการดําเนินธุรกิจ 8M พบปัญหา ในการจัดทําฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์จํานวน 6 ด้าน ได้แก่ (1) การบริหาร จัดการฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ (2) การบริหารคน (3) การบริหารข งบประมาณ (4) การบริหารเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ (5) การสื่อสาร และ (6) ข้อมูลข่าวสารและ กฎหมาย และผลการวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาแต่ละด้านตามหลักการจัดการนโยบาย ตามแนวทาง ERIC – SAP พบว่า การจะเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทําฐานข้อมูลทะเบียนประวัติ ข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์สํานักงาน ก.พ. จําเป็นต้องปรับปรุงการทํางานของศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มงานทะเบียนประวัติปรับปรุงระบบโปรแกรมทะเบียนประวัติ ข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ระบบการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ของสํานักงาน ก.พ. และเจ้าหน้าที่ของ ส่วนราชการทั้งหมด รวมทั้งระเบียบและแนวปฏิบัติในการจัดทําทะเบียนประวัติข้าราชการ อิเล็กทรอนิกส์และกําหนดให้ข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการอบรม ข้าราชการใหม่ มีการชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้บริหารของส่วนราชการ เพื่อให้เห็นความสําคัญของข้อมูล ในฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์พร้อมทั้งส่งเสริมให้ส่วนราชการต่าง ๆ ใช้ข้อมูลและระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารบุคคลอย่างต่อเนื่อง โดยผู้วิจัยได้เสนอแนวทาง การพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทําฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการพัฒนา/แก้ปัญหา และข้อเสนอแนะในการพัฒนา ฐานข้อมูลทะเบียนประวัติข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในอนาคต ซึ่งควรมีการเชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างองค์กรกลางบริหารงานบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดฐานข้อมูลกําลังคนภาครัฐอย่างแท้จริงต่อไป

abstract:

Abstract Title Developmental guidelines for increasing the efficiency of database creation on the civil servants’ register history electronic records Field Politics Name Kitipong Maharatanawongs Course NDC Class 64 The civil servants’ register history electronic database record is the information system of the ordinary civil servants developed by the Office of the Civil Service Commission. This system was developed for benefiting personnel management under the governmental administration and policy decision making on national human resources management. From the project implementation report, it was found that the administration of this database system lacks its efficiency, together with the delaying process of making data completed, accurate, and updated. This study, therefore, aims to investigate the developmental guidelines for increasing the efficiency of such database creation by (1 ) examining the problems of creating the civil servants’ register history electronic record; (2) analyzing the guidelines for solving the problems obstructing the creation of the civil servants’ register history electronic records to be completed, accurate and updated; and (3) proposing the developmental guidelines for increasing the efficiency of the civil servants’ register history electronic record creation. The researcher has applied the Stimulus-Response Model, the principle of factor creation on business management (8M) and the principle of policy management in regards of ERIC-SAP as the frameworks for analyzing the issues about the causes impeding the efficiency of civil servants’ register history electronic database record creation and its developmental guidelines. The researcher gathered secondary data from the Information Technology and Communication Center, the Office of the Civil Service Commission and primary data from the two related informant groups: (1) 143 officers who have used the civil servants’ register history electronic record system by responding to the constructed questionnaires; and (2) 12 officers of the Office of the Civil Service Commission who are responsible for ง making the civil servants’ register history electronic records through focus group technique. The results from analyzing the problems according to the principles of factor construction for business management (8M) revealed 6 drawbacks in making the civil servants’ register history electronic records. These include: (1) the administration and management of the civil servants’ register history electronic records; (2) human resources management; (3) budgeting management; (4) tools and instruments management; (5) communication; and (6) information and law. The results from analyzing the guidelines for solving the problems of each aspects according to the policy management based on ERIC-SAP illustrated that the increase of the efficiency of making the civil servants’ register history electronic records, the Office of the Civil Service Commission needs to improve working system of the Information Technology and Communication Center, the Register History Group, the register history electronic program of the civil servants, the communication system between the officers of the Office of the Civil Commission Service and all the involved civil servants, including rules and regulations for making the register history electronic record and enforcing the related information to be partial of the new civil servant training program. Together with these, the involved officers and the public section administrators would be informed to perceive on the importance of the information provided in the civil servant electronic database. Moreover, the public sectors would be encouraged to continually use these data sets and the information technology system for human resources development. The researcher has recommended the suggestions for driving up the developmental guidelines/ problem solving and the development of the civil servants’ and governmental officers’ register history electronic records in the future that are needed to show the connections of data sets among the personnel administration organizations in order to further create the real governmental manpower database.