Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การตรวจประเมินประเทศสมาชิกภาคบังคับมาตรฐานทางทะเลขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ต่อประเทศไทย, (วปอ.9472)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายกริชเพชร ชัยช่วย, (วปอ.9472)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2564
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การตรวจประเมินประเทศสมาชิกภาคบังคับมาตรฐานทางทะเลขององค์การ ทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ต่อประเทศไทย ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายกริชเพชร ชัยช่วย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 64 การศึกษาการตรวจประเมินประเทศสมาชิกภาคบังคับขององค์การทางทะเลระหว่าง ประเทศ (IMO Audit) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาการประเมินประเทศสมาชิก วิเคราะห์ ปัญหา ประเมินผล และเสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินประเทศสมาชิก องค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ (IMSAS) ของ IMO ที่ระบุไว้เพื่อยกระดับความปลอดภัย ทางทะเลและปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งมีก าหนดการตรวจประเมินภาคบังคับในเดือน กุมภาพันธ์2566 โดยท าการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ บทความ เอกสารอื่น ๆ รวมทั้งสัมภาษณ์ เชิงลึกผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาก าหนดให้จัดท าบันทึกความร่วมมือ (MoC) จัดท าแบบสอบถามก่อนการตรวจประเมิน (PAQ) และกรณีตรวจประเมินแบบทางไกล (Remote audit) ต้องจัดท าแบบสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม (Additional Information) รวบรวมข้อมูลโดยผู้ประสานงานหลัก (SPC) และจัดส่งให้กับหัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมิน (Audit Team Leader, ATL) ก่อนการตรวจ ประเมินล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือน การตรวจ IMSAS ของ IMO นั้น ไม่มีการประกาศว่าผ่านหรือไม่ ผ่าน ไม่มีการให้ธงแดงเหมือน ICAO ไม่มีการให้ใบเหลืองหรือใบแดงเหมือน EU แต่สิ่งที่ตรวจพบจาก การตรวจ IMSAS เป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกต้องรับไปด าเนินการเพื่อปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงาน และยกระดับการด าเนินการเพื่อให้การใช้บังคับของอนุสัญญา ตราสาร หรือข้อก าหนดเกิดผลสัมฤทธิ์ โดยสมบูรณ์ ส่งผลทางอ้อมให้ประเทศไทยมีมาตรฐานทางทะเลสู่มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับ จากนานาประเทศ โดยมีข้อเสนอแนะให้ครอบคลุมการด าเนินการทั้งในฐานะรัฐเจ้าของธง (Flag State) รัฐชายฝั่ง (Coastal State) และรัฐเจ้าของท่าเรือ (Port State) ติดตามการแก้ไข CAP ภายหลังการตรวจประเมินเสมือนจริง (Mock up audit) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการด าเนินการตาม พันธกรณีอนุสัญญาระหว่างประเทศ ส าหรับกรมเจ้าท่าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องให้ความส าคัญ และควรจัดท าเป็นนโยบาย เพื่อประสิทธิภาพในการด าเนินการตามพันธกรณีอนุสัญญาระหว่าง ประเทศอย่างต่อเนื่อง ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม น าไปสู่การยอมรับจาก นานาประเทศ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนที่สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจพาณิชยนาวีอย่างมั่นคงสืบไป

abstract:

Abstract Title International Maritime Organization (IMO) Compulsory Marine Standards Assessment to Thailand Field Politics Name Mr. Kritphet Chaichuay Couse NDC Class 64 The compulsory assessment of International Maritime Organization (IMO Audit) aims to study the background of the assessment of member countries, problems analysis, result evaluation, and suggest guidelines for assessing the maritime organization member countries under Member State Audit Scheme (IMSAS) to enhance maritime safety and protect the marine environment. The compulsory audit is scheduled for February 2023 by studying academic papers, articles, documents, and in-depth interviews with executives from relevant agencies. The study results require the preparation of a Memorandum of Cooperation (MoC), a pre￾assessment questionnaire (PAQ), and additional information questionnaires in the case of remote audits. Core (SPC) and delivered to the Audit Team Leader (ATL) at least 3 months before the audit. The IMO's IMSAS assessment is not declared pass or failed, no red flags like ICAO, no yellow or red cards like the EU, but what IMSAS has found is something that the Member States must take the assessment to improve operational standards and actions to ensure compliance, enforcement of a convention, instrument or requirement has been fully realized. This indirectly affects Thailand's maritime and international standards and is accepted by many countries that were suggested to cover the implementation of flag states, coastal states, and port states to monitor CAP amendments after a virtual mock-up audit. This is part of the implementation of international convention obligations. Besides, the Marine Department and related agencies must be given importance and formulate the policy for the continuous implementation of international convention obligations. In addition, raising environmental safety standards led to acceptance from many countries to drive force that creates stable economic prosperity in the Maritime.