Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ปัจจัยเชิงบวกและปัจจัยเชิงลบที่มีผลต่อความสำเร็จ ของสตาร์ทอัพในประเทศไทย, (วปอ.9171)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย เอนก พนาอภิชน, (วปอ.9171)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ปัจจัยเชิงบวกและปัจจัยเชิงลบที่มีผลต่อความส าเร็จของสตาร์ทอัพ ในประเทศไทย ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายเอนก พนาอภิชน หลักสูตร วปอ. รุ่น 62 ปัจจุบันสตาร์ทอัพไทยที่ได้รับเงินลงทุนยังมีจ านวนน้อยเมื่อเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยยังไม่มีสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ากิจการไม่น้อยกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือที่เรียกกันว่า Unicorn) แม้แต่บริษัทเดียว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ น าเสนอปัจจัยซึ่งส่งผลต่อการยกระดับความสามารถ (ปัจจัยบวก) และการลดทอนความสามารถ (ปัจจัยลบ) ในการด าเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพไทย โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษา ทบทวนทฤษฎีต่าง ๆ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อระบบนิเวศ ของสตาร์ทอัพไทย น ามาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพของประเทศไทย จากการศึกษา พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจนั้นคนไทยมีการเปิดรับปรับใช้ เทคโนโลยีเป็นอย่างดีแต่องค์กรใหญ่ยังไม่เอื้ออ านวยต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพอย่างเต็มที่และ มีข้อจ ากัดในอุตสาหกรรมที่กฎเกณฑ์หรือกฎหมายยังเป็นอุปสรรคต่อสตาร์ทอัพ ด้านนโยบายภาครัฐนั้น หน่วยงานรัฐก าลังปรับตัวสู่รัฐบาลดิจิทัลและมีการสนับสนุนตรงไปยังสตาร์ทอัพ แต่ยังมีข้อจ ากัดของ กฎหมายและการให้เงินทุนสนับสนุนที่ยังตอบสนองต่อความต้องการของสตาร์ทอัพไม่เพียงพอ ด้านพื้นฐานของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพนั้นยังขาดทักษะอีกหลาย ๆ ด้าน ด้านแหล่งเงินทุนนั้นแม้ว่า ประเทศไทยจะมี Corporate Venture Capital จ านวนมากแต่ยังลงทุนในสตาร์ทอัพไทยค่อนข้างน้อย ด้านพันธมิตรและการสนับสนุนจากภาคเอกชนนั้นมีหน่วยงานหลายภาคส่วนที่ช่วยส่งเสริมระบบ นิเวศสตาร์ทอัพให้แข็งแกร่ง แต่ยังขาดพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาช่วยให้ความรู้แบ่งปัน ประสบการณ์ให้กับสตาร์ทอัพไทย ส าหรับข้อเสนอแนะ ควรเน้นส่งเสริมการเพิ่มจ านวนและคุณภาพของสตาร์ทอัพ ในประเทศไทยเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศได้อย่างยั่งยืน ปรับปรุงกฎเกณฑ์และการสนับสนุน จากหน่วยงานภาครัฐให้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของสตาร์ทอัพไทย การให้ความส าคัญต่อการเพิ่ม Tech Talent ในประเทศไทย การสนับสนุนให้สตาร์ทอัพเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการระดมทุนจากกลุ่มธุรกิจขนาด ใหญ่และนักลงทุน รวมทั้งการมองหานักปั้นสตาร์อัพมืออาชีพที่มีชื่อเสียงเข้ามาช่วยปลุกปั้นสตาร์ท อัพไทยให้เติบโต

abstract:

Abstract Title Factors Affecting Success of Thai Startups Field Science and Technology Name Anek Pana-Apichon Course NDC Class 62 Despite long establishment of Thai startup ecosystem, Thailand is still a few countries in ASEAN who has not yet had a unicorn. There were several challenges in Thai startup ecosystem as mentioned in many publications and various sources. Therefore, the purpose of this research was to analyze and identify key factors that encourage and discourage Thai startups success. The study was a qualitative research which conducted in-depth interviews from key stakeholders in Thai startup ecosystem to discover insight and recommendation to promote startups in Thailand. In the research finding, there were five perspectives affecting Thai startup ecosystem namely, economic environment, regulation and government support, startup competency, enabler partners, and lastly funding. It was found that Thai were digital savvy to adopt new digital services, however adoption from large corporates were still not widespread. Government was fully support to the startup ecosystem, however there were some gaps between the offerings and the needs from the entrepreneurs. For the startup competency, it showed that number of tech talents in the market was quite limited and many other skills were needed to scale the businesses to higher level. Although there were several enabler partners, it was found that the needs were still unmet. For funding, there were many investors but only a few were attractive for funding from investors. The recommendations were provided in the study to uplift Thai startup ecosystems, in several aspects such as government policy, startup area of improvement, etc.