Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: โรงพยาบาลเสมือนจริงแห่งประเทศไทย เพื่อการแก้ปัญหาสาธารณสุขไทยเชิงระบบ, (วปอ.9148)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายแพทย์สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์, (วปอ.9148)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง โรงพยาบาลเสมือนจริงแห่งประเทศไทยเพื่อการแก้ปัญหาสาธารณสุขไทย เชิงระบบ ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย ผศ.(พิเศษ) นพ. สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะน ามาประยุกต์ใช้ในการ แก้ไขปัญหาสาธารณสุขไทยเชิงระบบด้วยแนวคิดโรงพยาบาลเสมือนจริงของประเทศไทย (Thailand’s Virtual Hospital) พร้อมกับน าเสนอแนวทางประยุกต์ใช้โรงพยาบาลเสมือนจริง จากการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยพบว่าปัญหาของระบบสาธารณสุขไทยเชิงระบบนั้นส่วนใหญ่ อยู่ที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากร จึงไม่สามารถบริหารทรัพยากร ในภาพรวมของประเทศได้ ซึ่งสามารถน าเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้น าเสนอโมเดลต้นแบบโรงพยาบาลเสมือนจริง ซึ่งมี 3 องค์ประกอบส าคัญดังนี้ (1) การให้บริการบนเวอร์ชวลแพลตฟอร์ม (Virtual Platform) (2) การจัดเก็บข้อมูล การแลกเปลี่ยน ข้อมูล และการจัดโครงสร้างข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในทิศทางเดียวกัน (Online Synchronized Database) และ (3) บริการเสริมเพื่อการจัดเก็บข้อมูล การให้บริการ การ ประมวลผลและการคาดการณ์จากข้อมูล (Big-Data Driven Management & Add-on services) ซึ่งแนวทางพัฒนาโรงพยาบาลเสมือนจริงนี้ ควรแบ่งท าเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 จัดให้มีนโยบาย และมาตรฐานข้อมูล ระยะที่ 2 จัดให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้บริการระดับจุลภาคหรือ ในระดับโรงพยาบาลให้รองรับการให้บริการต่าง ๆ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Services) และ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จ าเป็น และระยะที่ 3 การใช้เครื่องมือ รวมถึงพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ที่ท าให้การให้บริการโรงพยาบาลเสมือนจริงนั้นครอบคลุมและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ อุปกรณ์เสริม IoT Wearable Device ที่สามารถเก็บข้อมูลที่ส าคัญต่าง ๆ (Vital Sign) ของผู้ป่วย และส่งข้อมูลนั้นให้แพทย์สามารถประเมินได้โดยไม่ต้องอาศัยการซักประวัติเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดี หากจะน าโรงพยาบาลเสมือนจริงมาประยุกต์ใช้ จ าเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน และพัฒ น าทั้ง 3 ระดับได้แก่ (1) Infrastructure (Networking Cloud) คือการป รับเปลี่ยน โครงสร้างพื้นฐานด้านการเชื่อมต่อที่จ าเป็น รวมถึงการปรับกฎหมายเพื่อให้รองรับโรงพยาบาลเสมือนจริง (2) System Redesign คือการปรับเปลี่ยนกระบวนการท างานที่สอดรับการกระบวนการท างานที่มี เทคโนโลยีเข้าช่วย และท้ายสุด (3) People Readiness คือความพร้อมของบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ผู้รับบริการที่ต้องมีความรู้ด้านดิจิตัล (Digital Literacy) และความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ที่มากขึ้น หรือผู้ให้บริการ ที่ต้องมีทัศนคติที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและมีระบบรองรับการท างาน ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ปัจจัยที่จะท าให้โรงพยาบาลเสมือนจริงใช้งานได้ส าเร็จคือ การก่อให้เกิดความ ไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Trust) ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ค าส าคัญ : โรงพยาบาลเสมือนจริง

abstract:

Abstract Title Thailand’s Virtual Hospital: A Solution to Structural Healthcare Challenges Field Science and Technology Name Adj.Asst.Prof. Surin Assawawitoontip, MD Course NDC Class 62 This study aims to study various available technologies to be used to solve Thailand’s structural healthcare challenges by means of the application of Thailand’s Virtual Hospital. Within this study, the researcher also proposes the application of Thailand’s Virtual Hospital Model. From the literature review and in-depth interviews, it is found that Thailand’s structural healthcare challenges lie in the lack of efficiency and effectiveness of resources allocation, which can be reduced by the usage of applicable technologies. This study proposes that Thailand’s Virtual Hospital must be comprised of 3 main elements: namely, services provided on virtual platform; online synchronized database; and big-data driven management & add-on services. The model also suggests that the adoption of Thailand’s Virtual Hospital should be divided into 3 principal stages. The first stage deals with policy and data standards. The second stage should focus on e-services and relevant technologies. Lastly, the third stage brings in other partners and devices such as IoT wearable devices. The success of the implementation of Thailand’s Virtual Hospital will require the changes in infrastructure such as networking cloud and relevant laws, the redesign of working systems, and the readiness of people including patients and healthcare workers. Keywords: Virtual Hospital