Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการยกเว้นโทษและความรับผิดในคดีทุจริต, (วปอ.9131)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ, (วปอ.9131)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการยกเว้นโทษและความรับผิดในคดีทุจริต ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายสาโรจน์ พึงร าพรรณ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการลงโทษทางอาญา ความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา การยกเว้นโทษทางอาญา และการกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้ เป็นพยาน ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบการยกเว้นโทษให้แก่เจ้าพนักงานของรัฐผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการกระท าความผิด และการยกเว้นความรับผิดให้แก่บุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระท า ความผิดกับเจ้าพนักงานของรัฐ และ ๓) เพื่อหาแนวทางในการบังคับใช้มาตรการการยกเว้นโทษ และความรับผิดในคดีทุจริตให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาวิเคราะห์การยกเว้นโทษให้แก่เจ้าพนักงานของรัฐ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระท าความผิด และการยกเว้นความรับผิดให้แก่บุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้อง ในการกระท าความผิดกับเจ้าพนักงานของรัฐ โดยด าเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ใช้การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลในกระบวนการยุติธรรม ผลการวิจัยพบว่า บทบัญญัติมาตรา ๑๓๔ เป็นกฎหมายยกเว้นโทษให้แก่เจ้าพนักงาน ของรัฐในกรณีที่ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ท าทุจริต ซึ่งจะมีผลให้สิทธิน าคดีอาญามาฟ้องระงับไปนั้น ไม่ได้บัญญัติให้ชัดเจนว่า โทษที่จะยกเว้นนั้นครอบคลุมถึงโทษทางอาญาและทางวินัยหรือไม่ รวมทั้ง ผู้ใดมีอ านาจในการพิจารณาวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ และมีค าสั่งยุติคดี เพื่อลดปัญหาการตีความกฎหมาย ผู้วิจัยจึงขอเสนอปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๓๔ โดยเพิ่มเติม วรรคสองว่า “ในการพิจารณาวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานของรัฐผู้ใดไม่ต้องรับโทษตามวรรคหนึ่ง ให้อยู่ใน หน้าที่และอ านาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานของรัฐผู้ใดไม่ต้องรับโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีค าสั่งยุติการด าเนินคดีอาญา และการด าเนินการทางวินัยแก่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก าหนด” ส่วนบทบัญญัติมาตรา ๑๓๒ เป็นกฎหมายยกเว้นความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ให้แก่ผู้แจ้งถ้อยค าหรือแจ้งเบาะแส แต่ไม่ได้บัญญัติชัดเจนว่าผู้แจ้งถ้อยค าหรือแจ้งเบาะแสนั้น หมายถึงบุคคลใดบ้าง ผู้วิจัยจึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา ๑๓๒ โดยบัญญัติเพิ่มเติมวรรคสอง ว่า “ในกรณีที่ผู้แจ้งถ้อยค าหรือเบาะแสตามวรรคหนึ่ง ถูกฟ้องร้องด าเนินคดีให้ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง และทางอาญา และคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า มูลเหตุแห่งการฟ้องร้องด าเนินคดี ดังกล่าวมาจากการที่ผู้นั้นได้แจ้งถ้อยค าหรือเบาะแสแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยสุจริต ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ด าเนินการเพื่อให้ผู้นั้นได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิด ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก าหนด”

abstract:

Abstract Title Guidelines on Exclusion and Justification in Corruption Case Field Politics Name Mr. Sarote Phuengrampan Course NDC Class 62 The purposes of this research are 1) to study the concepts and theories of criminal punishment, civil and criminal liability, exclusion from criminal liability, and taking a person or an alleged person as witness; 2) to study and comparatively analyze the exclusion for a public official involved in committing an offense, and the justification for a person involved in committing an offense with a public official; and 3) to develop the guidelines for implementing the exclusion and justification measures for the highest efficiency and in compliance with the spirit of the law. This research aims at analytical study of the exclusion for a public official involved in committing an offense, and the justification for a person involved in committing an offense with a public official. The study is a qualitative research conducted by the methods of document analysis and in-depth interviews of the persons in the justice system. This research finds that Section 134 is the statute excluding a public official from liabilities in the case where his superior orders him to perform a corrupt act, which would result in the extinguishment of the right to institute criminal prosecution. The Section is not clearly prescribed whether or not the liabilities excluded cover criminal or disciplinary liabilities, as well as who has the power to deliberate whether such official is excluded from liabilities and to issue an order to terminate the case. In order to decrease the interpretation problems, the researcher proposes the amendment to Section 134 of Organic Act on Anti-Corruption B.E. 2561 (2018) by adding its second paragraph stating “the deliberation whether any public official is not liable under paragraph one shall be under the duties and powers of the NACC, and upon the resolution deliberating whether any public official is not liable under paragraph one, the order terminating the criminal and disciplinary proceedings against such public official shall be issued. In this regard, it shall be in accordance with the criteria, procedures and conditions as prescribed by the NACC.” Section 132 states the justification protecting from both civil and criminal liabilities for a person giving testimony or a whistleblower. However, it does not clearly state whether who is the person giving testimony or the whistleblower. In this regard, the researcher accordingly proposes the amendment to Section 132 by adding its second paragraph stating “in the case where a person giving testimony or a whistleblower under paragraph one is prosecuted for both civil and criminal liabilities, and the NACC is of the opinion that the ground for such prosecution is that the person has provided a statement or clues to the NACC or a competent official in good faith, the NACC shall act to protect the person from liabilities under paragraph one. In this regard, it shall be in accordance with the criteria, procedures and conditions as prescribed by the NACC.”