เรื่อง: การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโดยพัฒนาประสิทธิภาพ การจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, (วปอ.9130)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสันติธร ยิ้มละมัย, (วปอ.9130)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโดยพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายสันติธร ยิ้มละมัย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
ภาษีทรัพย์สินเป็นแหล่งรายได้ส าคัญซึ่งสะท้อนความสามารถในการพึ่งพาตนเอง
และอิสระทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เดิมประเทศไทยจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน
จากภาษีบ ารุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และภาษีที่โรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้
มาเป็นเวลานาน และมีข้อจ ากัดในทางปฏิบัติจึงส่งผลกระทบต่อรายได้จัดเก็บเองขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ท าให้รายได้จัดเก็บเองที่ผ่านมาไม่เพียงพอและต้องพึ่งพาการจัดเก็บภาษีและเงินอุดหนุนของ
รัฐบาลดังนั้น จึงมีการตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
งานวิจัยเล่มนี้แบ่งการศึกษารายได้จัดเก็บเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น
4 ส่วน ได้แก่ (1) ระบบจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) เปรียบเทียบโครงสร้างระบบ
ภาษีทรัพย์สินของไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์สถานการณ์การจัดเก็บรายได้ว่ามีประเด็น
ท้าทายใดบ้าง โดยมองจากมุมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดต่าง ๆ รวมไปถึงมุมมอง
ของเจ้าหน้าที่และผู้มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งท าการส ารวจผ่านแบบสอบถาม แล้วจึงน ามาประมวลผล และ
(4) ข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านรัฐศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านพฤติกรรมศาสตร์
จากการศึกษาพบว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในระยะสั้นจะส่งผลกระทบต่อ
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย รวมถึง
ปริมาณงานของเจ้าหน้าที่ที่เพิ่มสูงขึ้น จากการส ารวจเพื่อจัดท าบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
กอปรกับมาตรการลดภาษี ยกเว้นภาษี และบรรเทาภาระภาษี ตาม กฎหมายในช่วง 3 ปีแรก
(พ.ศ. 2563 - 2565) จะท าให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ลดน้อยลง แต่ในระยะยาว
เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานข้อมูลทรัพย์สินที่ครบถ้วนจะท าให้การด าเนินงานในปีต่อ ๆ ไป
มีความสะดวก และจะมีรายได้จัดเก็บเองที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาประเมิน
ทุนทรัพย์โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อต่อยอดงานวิจัยในระยะสั้น คือ การบูรณาการข้อมูล วิเคราะห์
ความคุ้มค่าระหว่างต้นทุนในการจัดเก็บภาษีกับรายได้ และในระยะยาว คือ การน าผลสะท้อน
ของการบังคับใช้กฎหมาย มาวิเคราะห์เพื่อทบทวนแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย และเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่
abstract:
Abstract
Title Establishing economic prosperity through development of efficiency
for collection of revenue of local administrative organizations
: a case study of land and building tax collection
Field Economics
Name Mr. Suntithorn Yimlamai Course NDC Class 62
Own-source revenues represent self-reliance and fiscal decentralization
of local administrative organizations. Land and building tax is an important source
of the revenues. The tax was collected according to the Local Maintenance Tax Act,
B.E. 2508 and Building and Land Tax Act, B.E. 2475. This was a hindrance to effective
collection of the tax and resulted in low amounts of taxes collected, insufficiency of
revenues for local administrative organizations and the need of local administrative
organizations for governmental subsidies. Thus, the Land and Building Tax Act, B.E.
2562 was enacted to overcome the problems. This study aimed to investigate effects
of the enactment through (1) the system of collection revenues of the local
administration with respect to the land and building tax (2) comparison of structures of
tax systems of Thailand with foreign countries (3) identification of challenging issues in
collection of taxes performed by local administrative organizations through the lens
of local administrative organizations, the officials and taxpayers via using questionnaires
and (4) suggestions encompassing the political, legal, economic and behavioral aspects
for enhancing effectiveness in tax collection of local administrative organizations.
This study found that, in the short run, the enactment of Land and
Building Tax Act, B.E. 2562 affected the operation of the officials in local administrative
organizations with respect to understanding of the new act. It also resulted in the
increased amount of work of the officials due to the need to conduct surveys
in order that the account of land and building list could be generated and
a reduction in the amount of collected taxes owing to tax exemptions effective from
B. E. 2562 to 2565. Nevertheless, in the long term, once local administrative
organizations had a complete database, collection of land and building taxes would
afterward be performed with high effectiveness. This would also give rise to the
increased amount of collected taxes stemmed from the appreciation of price of lands
adjusted to be in accordance with appraisal values. This study provided suggestions
regarding the betterment of tax collection. It suggested that, in a short term, there be
the integration of information among organizations and analyses costs and revenues
from tax collection. Its suggestion in the long run was that feedbacks received after
the enactment of Land and Building Tax Act, B.E. 2562 should be taken into account
so that future adjustments would be made to enhance effectiveness of tax collection
and novel approaches to generating revenues for local administrative organizations
could be found.