เรื่อง: การบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานของประเทศไทยในเชิงเศรษฐกิจ, (วปอ.9121)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวสมศรี รัฐฎาภรณ์กุล, (วปอ.9121)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานของประเทศไทย
ในเชิงเศรษฐกิจ
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสาวสมศรี รัชฎาภรณ์กุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
การศึกษาเรื่อง การบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานของประเทศไทยในเชิง
เศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับโบราณสถานเพื่อการท่องเที่ยวของ
ประเทศไทย 2) วิเคราะห์ปัญหาการบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานของประเทศไทยใน
เชิงเศรษฐกิจ และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถาน
ของประเทศไทยในเชิงเศรษฐกิจ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ประกอบการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการท่องเที่ยว จ านวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การ
วิเคราะห์เนื้อหา (Context Analysis) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎีที่
เกี่ยวข้อง สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความโดดเด่นในฐานะนครประวัติศาสตร์ จึง
วางเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เป็นนครแห่งการท่องเที่ยวระดับนานาชาติที่สามารถเชื่อมโยงการ
ท่องเที่ยวไปสู่ภูมิภ าคอื่นๆ ของป ระเทศ รวมถึงให้ป ระช าชนมีจิตส านึกใ นการอนุ รักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และโบราณสถาน ปัญหาการบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยว
โบราณสถาน ประกอบด้วย 7 ประเด็นได้แก่ 1) ปัญหาการประชาสัมพันธ์ 2) ปัญหาการบริการ 3)
ปัญหาด้านบุคลากร 4) ปัญหาแหล่งท่องเที่ยว 5) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ 6) ปัญหาด้านสังคมและ
วัฒนธรรม และ 7) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ส าหรับแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสถานที่
ท่องเที่ยวโบราณสถานของประเทศไทย โดยค านึงถึงการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ความ
สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สามารถ ก าหนดยุทธศาสตร์ได้ 5 ยุทธศาสตร์
1) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการภาครัฐ 2) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารภาคเอกชน 3) ยุทธศาสตร์ด้านการ
บริหารภาคประชาชน และองค์กรท้องถิ่น 4) ยุทธศาสตร์ด้านการร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาค
ประชาชน และองค์กรท้องถิ่น และ 5) ยุทธศาสตร์สร้างแหล่งรายได้ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะ ควรอาศัยความร่วมมือและการเข้ามามีส่วนร่วมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาค
ทุกส่วนเข้ามาระดมสมองเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการน ามาวางแผนและปฏิบัติการจึงจะ
เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและ หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องควรมีการน าผลที่ได้ไปปรับใช้จริง กับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชนและ
องค์กร ท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด
abstract:
Abstract
Title Economic Management of Archaeological Site Tourism in
Thailand
Field Economics
Name Miss Somsri Ruchdaponkul Couse NDC Class 62
The study of economic management of archaeological sites tourism in
Thailand aimed to 1) study current conditions relating to archaeological sites for
tourism of Thailand, 2) analyze the problems in economics of the management of
archaeological sites tourism in Thailand and 3) propose guidelines for developing
economic management of ancient sites tourism in Thailand. Researcher had
collected information from in-depth interviews of 15 tour operators, tourists and
tourism stakeholders then analyzed by using context analysis and comparative
analysis and synthesized relevant theoretical information. The research findings could
be summarized as follows;
The results showed that Phra Nakhon Si Ayutthaya Province was
outstanding as a historical city. Therefore, the goal was to develop into an
international tourism city that could be linked to other regions of the country,
including raised public awareness about natural resources conservation, the
environment, and archaeological sites. The problems of the ancient sites tourism
management were comprised of 7 points, namely 1) public relations issues, 2) service
problems, 3) personnel issues, 4) tourist spot issues, 5) economic issues, 6) social and
cultural issues and 7) environmental issues. Guidelines for the development of ancient
sites in Thailand regarding to sustainable economic tourism management, a balance
between economy, society, culture and environment, there were 5 strategies that could
be determined as follows; 1) strategy for government management, 2) strategy for
private sector management, 3) strategy for public administration and local organizations,
4) strategies for public, private, community and local organizations and 5) strategies for
creating sustainable sources of income for all sectors.
For suggestions, there should involve cooperation and participation of all
parties from all sectors to brainstorm to find the most suitable options for planning
and executing, in order to be most effective in strategies planning for sustainable
tourism development while relevant agencies should apply practical results with the
government, private sectors, including the public sector and local organizations to
create participation in tourism development of the province.