Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มรายได้เกษตรกร โดยการใช้น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังเพื่อปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง ๑, (วปอ.9120)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสมยศ ชาญจึงถาวร, (วปอ.9120)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการเพิ่มรายได้เกษตรกร โดยการใช้น้้าเสียจากโรงงานแป้งมัน ส้าปะหลังเพื่อปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายสมยศ ชาญจึงถาวร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ แนวทางการเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกร โดยการปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ในพื้นที่รับน้้าเสียจากโรงงานแป้งมันส้าปะหลัง และแนวทางการเพิ่มศักยภาพการผลิตหญ้าเนเปียร์โดยใช้น้้าเสียจากโรงงานแป้งมันส้าปะหลัง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารทุติยภูมิ เครือข่ายข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และสร้างเครื่องมือแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าจ้านวน 20 คนในพื้นที่ ต้าบลค้าป่าหลาย อ้าเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ผลการวิจัยพบว่า หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 เป็นพืชที่มีความเหมาะสมในการส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ เนื่องจากสามารถใช้เป็นได้ทั้งพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์ ที่ให้ผล ผลิตสูง มีโปรตีนสูงและสามารถผลิตก๊าซมีเทนเมื่อผ่านการหมักหมัก อายุการเก็บเกี่ยวนานถึง 7 ปี โดยในแปลงปลูกหญ้าของเกษตรกรในพื้นที่รับน้้าเสียของโรงงานแป้งมันส้าปะหลัง จะมีผลผลิตเฉลี่ย 41.72 ตัน/ไร่/ปี มีจ้านวนรอบการผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 5.45 รอบ/ปี ต้นทุนรวมการผลิตอยู่ที่ 0.11 บาท/กิโลกรัม ราคาขาย 0.92 บาท/กิโลกรัม และมีรายได้ตอบแทน เท่ากับ 0.81 บาท/กิโลกรัม มีรายได้สุทธิ 33,761.20 บาท/ไร่/ปี ทั้งนี้การส่งเสริมการให้เกษตรกรปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ควรเน้นพื้นที่ โดยรอบโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ที่สามารถจ่ายน้้าเสียที่ผ่านการบัดให้แก่แปลงปลูกหญ้า ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเกษตรกรจะสามารถลดต้นทุนด้านการจัดหาแหล่งน้้าลดต้นทุนค่าปุ๋ยเนื่องจากในน้้าเสีย ยังคงมีปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่พืชสามารถน้าไปใช้ประโยชน์ได้ ควรเน้นการสร้างเครือข่าย ที่เข้มแข็งในรูปแบบกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้เกิดการแผนและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน สร้างอ้านาจ ต่อรองการขาย ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางที่สามารถสร้างรายได้ ขจัดปัญหาความยากจนของเกษตรกรได้ อย่างยั่งยืน

abstract:

Abstract Title The guidelines to increase farmer’s income by using wastewater from tapioca starch factories for planting Napier grass, Pak Chong 1 Field Economics Name Mr. Somyot Chanchungthaworn Course NDC Class 62 The objective of this research is to analyze the guidelines to increasing farmer’s income by planting Napier grass, Pak Chong 1, in the waste water receiving area from tapioca starch factories and ways to increase the production potential of Napier grass. To use qualitative research methods by studying information from secondary documents such as internet data network and create a tool for interviewing sample of 20 farmers in Kham Pa Lai Sub-district, Mueang Mukdahan, Mukdahan The results showed that Napier grass Pak Chong 1 was suitable for promoting farmers to grow their income. Since it can be used as both energy crops and forage crops. It has high productivity, high protein and can produce methane gas after fermentation. The harvest is up to 7 years. In the grass plot that use wastewater from the tapioca starch factory will have an average yield of 41.72 tons/rai/year with an average production cycle of 5.45 cycles/year. The total cost of production is 0.11 baht/kilogram. The Selling price is 0.92 baht/kilogram and with a return of 0.81 baht/kilogram with a net income of 33,761.20 baht/rai/year. However, the promotion of farmers to grow Napier grass Pak Chong 1 should focus on the area around the agricultural processing industry. That can supply wastewater to the grass planting plots throughout the year. Which farmers can reduce the cost of water supply, reduce fertilizer cost as wastewater still contains nitrogen and phosphorus that plant can be utilized. Emphasize building a strong network in the form of group farmers. In order to create a plan and exchange information together, create sales bargaining power. Which will be another way to generate income and eliminate poverty sustainably.