เรื่อง: แนวทางการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ, (วปอ.9094)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาเอก วิสิทธิ์ กุลสมบูรณ์สินธ์, (วปอ.9094)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือ
เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นาวาเอก วิสิทธิ์ กุลสมบูรณ์สินธ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางการจัดตั้งและรูปแบบใน
การบริหารจัดการศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ท าการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงของกองทัพเรือ สถาบัน
เทคโนโลยีป้องกันประเทศ และสมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย จ านวน ๙ ท่าน ผู้วิจัยได้ท าการศึกษา
ถึงความเป็นไปได้และข้อก าหนดด้านความเสี่ยงในการจัดตั้งองค์กร ข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดตั้งองค์กร ศึกษาและวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค จากนั้นได้น าผลการวิเคราะห์
มาประมวลและพิจารณาความเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล แนวคิด นโยบาย ทฤษฎีตามหลักวิชาการ
ตลอดจนได้ท าการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และน าข้อมูลที่ได้
ศึกษาวิจัยมาบูรณาการเป็นแนวทางในการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือ
เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี
แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ และนโยบายของกระทรวงกลาโหม
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัญหาในการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือ
มี ๔ ข้อคือ ๑) การขาดการสนับสนุนและผลักดันเชิงนโยบายและกฎหมายจากภาครัฐ ๒) การขาดอุปสงค์
ในปริมาณที่มากพอและต่อเนื่อง ๓) การขาดผู้ผลิตและผู้จัดหาวัตถุดิบที่มีศักยภาพภายในประเทศไทย
๔) การลงทุนและพัฒนาที่ไม่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกในระยะยาว ส าหรับแนวทางในการจัดตั้ง
ศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ มีองค์ประกอบ
ที่ส าคัญ ดังนี้ (๑) การจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือ ในรูปแบบบริษัทจ ากัด โดยมี
บริษัท อู่กรุงเทพ จ ากัด เป็นผู้ถือหุ้นในศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือ และให้กองทัพเรือ
เป็นหน่วยงานที่ก ากับดูแลศูนย์ซ่อมสร้างเรือฯ (๒) รูปแบบในการด าเนินงานของศูนย์ซ่อมสร้างเรือ ฯ
มุ่งเน้นการบริหารจัดการอย่างครบวงจร ครอบคลุมการวิจัย และพัฒนา รวมถึงการบริหารจัดการโครงการและ
ให้ค าปรึกษาโดยเฉพาะการผลักดันนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติ (๓) ก าหนดใช้พื้นที่กองทัพเรือบริเวณหาดน้ าหนาว
ต าบลแสมสาร อ าเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือ
เพื่อสอดคล้องต่อการใช้งานและการลงทุน และน าไปสู่การต่อยอดการพัฒนาการจัดตั้งองค์กรอย่างมี
ประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเรือและเทคโนโลยีกองทัพเรือเป็นโครงการ
ขนาดใหญ่ใช้งบประมาณจ านวนมากและเป็นการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ต้องมีมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจ
ให้แก่ผู้ประกอบการ หากรัฐบาลไม่ด าเนินการอย่างต่อเนื่อง จะประสบความส าเร็จได้ยาก ส าหรับ
โครงสร้างของบริษัท อู่กรุงเทพ จ ากัด จ าเป็นจะต้องมีการปรับโครงสร้างใหม่ เพื่อให้รองรับกับโครงการ
ในอนาคต โดยการบรรจุช่างเทคนิคที่เป็นพนักงานประจ าในสายการผลิตเพิ่มเติม
abstract:
Abstract
Title The establishment of the Naval Shipyard and Technology Center
to support the national defense industry.
Field Economics
Name Captain Wisit Kulsomboonsin.,RTN. Course NDC Class 62
The purpose of this research is to study the establishment and
management model of the Naval Shipyard and Technology Center to support the
national defense industry. This research is based on qualitative research and in-depth
interviews with 9 experts, including senior executives of the Royal Thai Navy, the
Defense Technology Institute and the Thai Shipbuilding and Repair Association. The
researcher examined the feasibility, risk requirements and various legislation relevant
to the organization's establishment. In addition, we have studied and analyzed the
strengths, weaknesses, opportunities and obstacles. The analysis results are used to
compile and consider the relationship, rationality, concepts, policies, and theoretical
principles, as well as to perform comparative studies with countries in Southeast
Asia. The findings of this study can be integrated into the recommendations for the
establishment of the Naval Shipyard and Technology Center to support the national
defense industry in accordance with the 20-year national strategy, The 12th National
Economic and Social Development Plan and the Ministry of Defense Policy.
The results of this study have indicated that there are 4 barriers to the
establishment of the Naval Shipyard and Technology Center which are 1 ) Lack of
policy and legal support and advocacy by the authorities. 2) Lack of sufficient and
continuous demand. 3) Lack of potential manufacturers and suppliers in the country.
4) Investment and development which can not have a positive long-term impact.
Recommendations for establishing the Naval Shipyard and Technology
Center to support the national defense industry have the following important
components: 1) Establishment of the Naval Shipyard and Technology Center in the
form of a limited company, with The Bangkok Dock Company (1957) Limited as
shareholder, and the Navy as operator of the Ship Maintenance center. 2) The
operational concept of the Naval Shipyard and Technology Center focuses on the
complete range of operation. It covers research and development, project
management and consultancy, especially driving innovation into action. 3) The target
area is Nam Nao Beach, Samae San Subdistrict, Sattahip District, Chon Buri Province. It
is a appropriate area for establishing the Naval Shipyard and Technology Center in
accordance with the usability and investment and leads to the development of
an organization with efficiency and continuity.
Suggestions for this research : Recommendations on policy
1. The Naval Shipyard and Technology Center establishment project is
a large-scale project that requires a lot of operational budgets and continuing
investment. Other measures need to be taken to motivate entrepreneurs. It would
be impossible to achieve if the government will not continue.
2. The Bangkok Dock Company (1957) Limited needs to be restructured
to support future projects by adding technicians to permanent employees in the
production line.