Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: บทบาทของภาคการเงินต่อการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, (วปอ.9078)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางวรัชญา ศรีมาจันทร์, (วปอ.9078)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง บทบาทของภาคการเงินต่อการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศของภาคการเงินในระดับสากลและของไทย ๒) วิเคราะห์ข้อจ ากัดของการด าเนินการ ปัจจุบันที่ยังท าให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจอย่างเพียงพอ ๓) เสนอแนะนโยบายในการ ขับเคลื่อนของหน่วยงานก ากับดูแลในภาคการเงินในระดับยุทธศาสตร์เพื่อให้ภาคธุรกิจลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก และช่วยให้ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายต่อไป ซึ่งผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในภาคการเงินไทย และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความจ าเป็นในการร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลง สภาพอากาศ จึงได้จัดท าแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ดี พบว่าแผน แม่บทดังกล่าวยังมิได้ก าหนดแผนให้ภาคการเงินแต่อย่างใด ซึ่งภาคการเงินถือเป็นส่วนส าคัญของ ระบบเศรษฐกิจที่สามารถมีส่วนผลักดันให้ภาคธุรกิจมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่น าไปสู่การแก้ไข ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ จากการศึกษาพบปัญหาและข้อจ ากัดที่ยังเป็นช่องว่างใน การพัฒนาสู่การร่วมมือกันแก้ปัญหาดังกล่าว คือ ภาคธุรกิจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เป็นต้นทุน ยังขาด ความเข้าใจและความสนใจที่จะน าไปปฏิบัติให้เกิดผล รวมถึงฝั่งของผู้ลงทุนที่ยังไม่สนใจปัจจัยระยะ ยาวมากนัก มองแต่เพียงผลตอบแทนระยะสั้น ปัญหาอีกประการคือ มาตรการต่าง ๆ ที่หน่วยงาน ก ากับดูแลใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น การออก CG Code เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีให้ภาคธุรกิจปฏิบัติ และ การออกแนวทางปฏิบัติเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ส่วนใหญ่นั้นเป็นการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนในภาพรวม ยังไม่ได้เจาะจงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนว ทางแก้ไขโดยการก าหนดให้การลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระที่ชัดเจนในการพัฒนา ตลาดทุน และสถาบันการเงิน และเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และที่ส าคัญคือการกระตุ้นให้สถาบันการเงิน ภาคเอกชน ผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนตระหนักถึง ความส าคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และลงมือท าจริงด้วยตนเอง รวมทั้งพัฒนา ผู้ลงทุนให้ค านึงถึงผลตอบแทนระยะยาว เป็นต้น

abstract:

Abstract Title The role of the financial sector in managing climate change Field Economics Name Ms. Waratchya Srimachand Course NDC Class 62 The purposes of this research were1) to study the solutions of the financial sector to address climate change on international and Thailand’s mitigation 2) to study problems and obstacles in the current status ofThai business sector development that is still not sufficient 3) to identify a set of recommendations in the scope of strategic level to enable the Thai regulators in the financial sector to support the business sector reducing greenhouse gas (GHG) emissions and to support the goal of GHG emission reduction of Thailand. The researcher applied the qualitative research method in conducting this research; collecting the data from various sources and In-depth interviewing with the management in the financial sectors and used the content analysis to analyze the qualitative data. The results found that Thailand is working to raise awareness on climate change. At the national level, there was a plan made specifically to address climate change which is called “Master plan to Address Climate Change”. However, the Master plan has not specifically mentioned the action plan for the financial sector. The financial sector is the important part of the economic that can drive business sectors changing their behaviors for climate change mitigation. Furthermore, the study finds that Thai financial sector still has several limitations. In term of business sectors, the climate change issues are not considered to have a significant impact on the business. Key barriers include high managing climate change cost; limited knowledge around climate change issues; and a lack of the interest to implement. In addition, investors still do not include climate-related risks to be considered in long-term investment decisions because those investors focus on short￾term results. Additionally, the current guidelines provided by regulators such as issuing the Corporate Governance Code (CG Code) developed as practice principles for the board of directors, and providing guidelines on sustainable disclosures mostly mentioned to broadly driving sustainability initiatives, not specific to climate change issues. To develop financial sector to help support the climate change mitigation, key suggestions are having identified the climate change issues explicitly in capital and money markets development plan as the part of Master plan to Address Climate Change; raising awareness of the impacts of climate change among financial institutions, private sectors, and Thai listed companies aimed at taking action in order to address the challenges of climate change by themselves; and developing investors to build long-term value in decision making, etc.