เรื่อง: การพัฒนาความร่วมมือขององค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของประเทศในประชาคมอาเซียนเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน, (วปอ.9076)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายวทัญญู ทิพยมณฑา, (วปอ.9076)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาความร่วมมือขององค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน และองค์กรตรวจสอบ
การใช้อ านาจรัฐของประเทศในประชาคมอาเซียน เพื่อคุ้มครองสิทธิของ
ประชาชน
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายวทัญญู ทิพยมณฑา หลักสูตร วปอ รุ่นที่ ๖๒
เอกสารวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพปัญหาความไม่เป็นธรรมที่เกิดแก่ประชาชน
อันเกิดจากการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้รวมทั้งก าหนดแนวทาง
ด าเนินการในเบื้องต้นในการพัฒนาความร่วมมือระดับพหุภาคีระหว่างองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินไทย
กับองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดินและองค์กรตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐของประเทศในประชาคมอาเซียน
ภายใต้บริบทของกรอบความร่วมมือของประชาคมอาเซียนเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนร่วมกัน
ผลการวิจัยพบว่า องค์กรตรวจสอบทั้ง ๑๐ องค์กร มีความแตกต่างทางด้านบทบาท
หน้าที่และอ านาจ โครงสร้างองค์กร ระบบการด าเนินงาน และภาษา ซึ่งส่งผลส าคัญในการก าหนดกรอบ
และวัตถุประสงค์ในการพัฒนาความร่วมมือแบบพหุภาคีรวมทั้งปัจจัยภายในขององค์กรผู้ตรวจการ
แผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทยที่ยังขาดความพร้อมทางด้านบุคลากร โครงสร้างส านักงาน กฎระเบียบ
และการประชาสัมพันธ์ เพื่อรองรับการพัฒนาความร่วมมือดังกล่าว
ทั้งนี้ในส่วนของแนวทางการพัฒนาความร่วมมือมีดังนี้
๑. ปัจจัยภายนอก องค์กรตรวจสอบทั้ง ๑๐ องค์กร ต้องก าหนดจุดเชื่อมโยงของ
บทบาท หน้าที่และอ านาจ เพื่อก าหนดวัตถุประสงค์ และกรอบความร่วมมือในการด าเนินงานร่วมกัน
พร้อมทั้งพัฒนาระบบขององค์กรตรวจสอบให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน และมีภาษาของ
ประเทศในประชาคมอาเซียนรองรับครบทุกภาษา
๒. ปัจจัยภายใน ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย ต้องพัฒนาบุคลากร
ให้มีความรู้ทางภาษา กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม พิธีการด้านการทูต ปรับปรุง
โครงสร้าง โดยจัดตั้งส านักสอบสวนเรื่องร้องเรียนของชาวต่างชาติปรับปรุงกฎระเบียบ ด้วยการจัดท า
ระเบียบ คู่มือ และแนวทางเกี่ยวกับการตรวจสอบและแสวงหาข้อเท็จจริงเรื่องร้องเรียนกรณี
ผู้ร้องเรียนเป็นชาวต่างชาติ รวมทั้งส่งเสริมการประชาสัมพันธ์โดยมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์บทบาท
หน้าที่และอ านาจของผู้ตรวจการแผ่นดินให้ประชาชน และหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ในประชาคมอาเซียน โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชาวต่างชาติจ านวนมาก
abstract:
Abstract
Title The Enhancement of the Co-operation between the Ombudsman of
Thailand and the Organizational Ombudsmen of Other Countries in
the ASEAN Economic Community to Protect Citizens' Rights.
Field Politics
Name Mr.Watanyoo Thipayamonta Course NDC Class 62
This research aims to study the problems of injustice to citizens, which
result from the establishment of the ASEAN Economic Community (AEC), and to
analyse the possibility as well as offering some basic guidelines for the enhancement
of multilateral co-operation between the Ombudsman of Thailand and those of
other countries in the AEC Community under the AEC cooperation framework in
order to mutually protect citizens' rights.
The research shows that the tenorganizationalombudsmenhave different
roles, duties, power, organizational structures and operational systems, and use
different language. These differences have a significant influence on the
determination of the scope and the objective of the enhancement of the
multilateral co-operation. Also, the Ombudsman of Thailand itself is not ready in
terms of its human resources, organizational structure, internal regulations and public
relations for facilitating the enhancement as such.
The research proposes the following recommendations for encouraging
the co-operation:
1. With respect to the external factors, the ten organizational
ombudsmen must form the shared expectations about the roles, the duties and the
power of the organizations for the purpose of determining the objective of and the
framework for the co-operation as well as developing the inspection system to
enable the exchange of information and to have all the languages of the AEC
nations.
2. In respect of the internal factors, the Ombudsman of Thailand needs
to develop its human resources by increasing its staff's language proficiency and
knowledge of law, traditions, cultures and protocols. Besides, it needs to improve its
organizational structure by setting up an office to investigate claims from foreigners.
Moreover, it needs to improve the internal regulations by creating internal regulation
manuals and inspection and investigation guidelines in case of the claimant being a
foreigner. Furthermore, it needs to promote public relations by disseminating the
information about the roles, the duties and the power of the ombudsman among
the citizens, the government agencies or the state officials in the AEC Community,
particularly in popular tourist attractions.