เรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด, (วปอ.9073)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางรัชนี พึ่งพาณิชย์กุล, (วปอ.9073)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางรัชนี พึ่งพาณิชย์กุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วน
จังหวัด ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และเสนอแนวทาง
การเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ
ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และ
ผู้ปกครอง ในสถานศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาใน 4 ด้าน
ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ผลการวิจัย
พบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นการจัดการศึกษาระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานมีจ านวนทั้งสิ้น 57 แห่ง และมีสถานศึกษาในสังกัด จ านวน 352 แห่ง มีทั้งสถานศึกษาที่รับ
ถ่ายโอนมาจากกระทรวงศึกษาธิการและจัดตั้งขึ้นเอง โดยเปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึง
มัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา 2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัด
การศึกษา ได้แก่ ด้านวิชาการ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและครูขาดความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการด าเนินภารกิจด้านการศึกษา ศึกษานิเทศก์มีไม่เพียงพอ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียนยังไม่สามารถพัฒนาให้ถึงเป้าหมายที่ส่วนกลางก าหนด ด้านงบประมาณ ระเบียบการเบิกจ่าย
งบประมาณมีความยุ่งยาก มีขั้นตอนซับซ้อน ด้านการบริหารงานบุคคล การบรรจุครูและบุคลากร
ใช้เวลานาน ล่าช้า ด้านการบริหารทั่วไป ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา
ค่อนข้างน้อย ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาไม่ครอบคลุม และไม่เป็นปัจจุบัน 3) ข้อเสนอแนวทาง
การเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ กรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ ่น ควรจัดสรรอัตราครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอ ปรับปรุงระเบียบเกี ่ยวกับ
การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคคลให้เหมาะสม พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทาง
การศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ควรพัฒนาครูและ
บุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาควรจัด
การศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมุ่งเน้นการพัฒนางานวิชาการให้มีคุณภาพ ตลอดจนส่งเสริม
ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
abstract:
Abstract
Title Guidelines for Enhancing Capacity for Educational Provision of
Provincial Administrative Organizations
Field Social - Psychology
Name Mrs.Ratchanee Pungpanichkul Course NDC Class 62
The research has objectives to study educational provision of Provincial
Administrative Organizations as well as its problems and obstacles and to offer
guidelines for enhancing capacity for education provision of the Provincial Administrative
Organizations. This research is categorized as qualitative research comprising documentary
research and in-depth interviews with administrators, teachers, educational personnel,
and parents of educational institutions under the supervision of Provincial Administrative
Organizations. The issues of the interviews concerned four aspects of educational management,
namely academic matters, budget, personal management, and general management.
The research’s results were as explained next. 1) The education is provided
for basic education by 57 Provincial Administrative Organizations of which 352 educational
institutions are under the supervision. Some educational institutions were transferred
from the Ministry of Education and some were established by the Provincial
Administrative Organizations. They provide education from pre-primary to upper
secondary levels, both in general and vocational streams. 2) Problems and obstacles
of educational provision was revealed in detail. As for the academic matters, there are
lack of knowledge and understanding for educational mission of personnel and
teachers and insufficient number of educational supervisors. In addition, achievements
of students cannot be developed towards goals of central agencies. Regarding budget,
it is found that budget disbursement regulation is difficult and complicated. Concerning
personal management, it takes a long time for teacher and personnel recruitment. As
for general management, the participation of all sectors in education management is
quite rare. Data/information are limited and out of date. 3) The guidelines for enhancing
capacity for educational provision of the Provincial Administrative Organizations are
offered as explained next. The Department of Local Administration should provide
enough teachers and educational personnel. Budget and personnel management
should be appropriately improved. Educational data/information should be inclusive,
accurate, and up-to-date. The Provincial Administrative Organizations should develop
teachers and educational personnel for educational management. The educational
institutions should provide education with quality and standards, focusing on academic
development towards quality and distribution as well as encourage all sectors to
participate in effective local educational provision.