เรื่อง: แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสินค้าเกษตรเพื่อสอดคล้องกับตลาดสินค้าในปัจจุบัน, (วปอ.9063)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายมนชัย พงศ์สถาบดี, (วปอ.9063)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสินค้าเกษตร เพื่อสอดคล้องกับตลาดสินค้า
ในปัจจุบัน
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายมนชัย พงศ์สถาบดี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
การเกษตรเป็นหนึ่งในอาชีพหลักที่ส าคัญของประเทศไทยที่มีรากฐานมาอย่างยาวนาน และสร้าง
มูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นวัตถุดิบและอุตสาหกรรมต้นน้ า ที่สามารถน า
ผลผลิตทางการเกษตรไปแปรรูป ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่อย่างหลากหลายเมื่อพิจารณา
ในภาพรวมการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในขั้นต้นของห่วงโซ่อุปทาน โดยท าหน้าที่เป็นภาคการผลิตเริ่มแรก
เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถน าไปจ าหน่ายในรูปแบบของสินค้าเกษตร หรือน าเข้าสู่
กระบวนการแปรรูปของอุตสาหกรรมอาหาร เป็นสินค้าอาหารหรือเครื่องดื่ม รวมไปถึงการน าเข้าสู่กระบวนการ
แปรรูปของอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ เป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคชีวภาพ เช่น เครื่องส าอาง เคมีชีวภาพ
พลาสติกชีวภาพ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมการเกษตรมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม
อาหารและ อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพโดยตรง ดังนั้น การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรม
เกษตร สามารถเชื่อมโยงและส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้ง 2 อุตสาหกรรมได้ด้วยเช่นกัน
จากสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบันที่ภาคอุตสาหกรรม
การเกษตรมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่สินค้าการเกษตรที่ประเทศไทยส่งออกกลับเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม
ไม่มากนักอีกทั้ง เกษตรกรส่วนมากเป็นผู้สูงอายุซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มจ านวนมากขึ้น รวมไปถึงผู้ประกอบการ
เกษตรที่เข้าสู่ระบบธุรกิจ หรือก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการ SME ที่มีรูปแบบการบริหารจัดการอย่างครบ
วงจรยังมีจ านวนไม่มากเท่าที่ควร เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยที่เริ่ม
ถดถอยลง และจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องน าเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาประสิทธิภาพการด าเนินงานอย่างเร่งด่วน ด้วย
เหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการแนวทางการส่งเสริมและพัฒนศักยภาพสินค้าเกษตร เพื่อ
สร้างความมั่นคงและเพิ่มมูลค่าสินค้าทางเกษตรภายในประเทศการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดโซ่อุปทาน
จึงให้ความส าคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ ากลางน้ าและปลายน้ าเพื่อ
ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานของเกษตรกรและเพิ่มมูลค่าเกษตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร
จัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) รวมทั้งการพัฒนาด้านเครือข่ายการบริหารจัดการด้าน
สินค้าเกษตร (Cluster Management) โดยเน้นให้สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน)
เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเกษตรตามแผนบูรณการนี้เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่
ภาครัฐได้วางเป้าหมาย เพื่อให้ประเทศชาติพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
abstract:
Abstract
Title Guidelines for Promoting and Developing Agricultural Product Potential
to be Consistent with the Current Product Market
Field Economics
Name Mr. Monchai Pongstabadee Course NDC Class 62
Agriculture is one of the main essential professions in Thailand which
consists of a long history. It continuously establishes economic value for the country,
and also a raw material and upstream industry bringing agricultural products to be
processed into advanced products in other various industries. When considering in
overall, agriculture is the primary industry in the supply chain by taking a role as the
initial production sector to obtain agricultural products that can be sold in the form
of agricultural products or introduced into the processing of the food industry as
food or beverage product including leading into the processing of the biological
economy industry such as a bio-consumer product such as cosmetics, bio-chemicals,
and bio-plastics.
It can be mentioned that the agricultural industry is related to the food
industry and the biological economy industry directly. Therefore, to promote and to
develop the potential of the agricultural industry are able to connect and have a
positive effect on the two related industries as well.
According to the current situation of the agricultural industry in Thailand,
the agricultural industry has continuously expanded. Nevertheless, the agricultural
products which are exported by Thailand are the products which do not have added
value much. Moreover, most of the farmers are elderly and tend to increase their
numbers, and there are not much agricultural entrepreneurs who enter the business
system or SME entrepreneurs with entire management model.
This can be a reflection of the trend of the Thai agricultural industry that
begins to decline. It is significant for the country to urgently bring technology to
improve operational efficiency. For this reason, the researcher appreciates the
enhancement of the guidelines for promoting and developing agricultural product
potential in order to build stability and add value to agricultural products in the
country. As a result, agricultural product management throughout the supply chain
focuses on importance on improving the management of agricultural products from
upstream, midstream, and downstream. To reduce losses which incurs in farmers'
supply chains and increase agricultural value, there should be the efficiency
improvement of supply chain management as well as develop agricultural
commodity management network (Cluster Management) by focusing on farmers'
institutions (cooperatives, farmers groups, community enterprises) as the main
mechanisms to drive the agricultural economy under this complete plan to be in line
with the national strategy that the government has set targets for the nation to
develop steadily and sustainably.